X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

4 วิธีฝึกลูกเดินทางได้ ไม่ง้อแท็บเล็ต

บทความ 3 นาที
4 วิธีฝึกลูกเดินทางได้ ไม่ง้อแท็บเล็ต

ในบทความนี้คุณแม่มือใหม่โดยเฉพาะลูกเล็กๆ ทารกไม่อยากให้พลาด 4 วิธีเริ่มต้น No Screen Time งดเล่นแท็บเล็ต ดูทีวีในรถ เนื่องจากได้ถอดบทเรียนจาก 3 ปีครึ่งที่ผ่านมา เป็นบทเรียนรู้ที่จะแชร์ครั้งนี้จริงๆ เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นที่มีผลระยะยาวไปจนโต

no screen time

Screen Time คืออะไร คือช่วงเวลาที่เราใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าจอสกรีน เช่น มือถือ แท็บเล็ต โทรทัศน์ ไอแพด เกมกด…เป็นต้น

จากประสบการณ์กระเตงลูกนั่งรถไปกลับกทม.- สระบุรีเกือบทุกๆ สัปดาห์ ด้วยคาร์ซีทตั้งแต่อายุ 2เดือนจนตอนนี้ลูกใกล้จะ 4 ขวบ บ้านณดาไม่เคยใช่แท็บเล็ต หรือดูการ์ตูนระหว่างการเดินทาง เพราะเรารู้ได้ข้อมูลว่าวิธีการเหล่านี้มีผลเสียมากกว่าผลดี

สำหรับผลเสียของการใช้ screen time มากเกินไปในเด็กเรื่องนี้มีผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวถึงผลเสียต่างๆ คุณพ่อคุณแม่ลองศึกษาตรงนี้เพิ่มเติมนะคะ ดังนั้น สิ่งที่เราอยากแบ่งปันแนวทางก็คือ แล้วเราจะเริ่มต้นไม่ใช้วิธีการที่บอกได้อย่างไรบ้างในกรณีการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวค่ะ

  1. ไม่สร้างเงื่อนไข งดการสร้างเงื่อนไขกับลูก เช่น ..เงียบนะ ถ้าเงียบแม่จะให้เล่นเกม หรือแม่จะเปิด เปิดการ์ตูนให้ดู” เมื่อ screen time คือเงื่อนไขของพ่แม่ได้สำเร็จฉันใด ก็จงอย่าลืมว่าเขาจะเรียนรู้เช่นกันว่า เมื่อไรก็ตามที่ฉันอยากดูฉันจะร้องโวยวายเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการฉันนั้น ดังนั้นเราจึงไม่ใช้ข้อแลกเปลี่ยนนี้สักครั้งกับณดาเลย
  2. ต้องไม่มีครั้งที่ 1 … เพราะเมื่อมีครั้งแรกก็ต้องมีครั้งที่ 2 เพราะเด็กเรียนรู้ว่านี่คือสูตรสำเร็จ ดิ้นรนแล้วได้ผลลัพธ์ที่เขาต้องการเช่นในข้อ 1 แต่ถ้าใครดันเผลอมีครั้ง 1 ครั้ง 2 ไปแล้วอยากเลิก เราคงต้องใจแข็งและลองใช้วิธีการข้อ 3-4 ดูนะคะ
  3. ฟังเพลง อ่านหนังสือ หากิจกรรมอื่น เปิดเพลงนิทาน audio ภาษาอังกฤษในรถแทน หนังสือนิทานเล่มโปรด ตุ๊กตา ของเล่นมีเสียง สัมผัสได้ ยิ่งทารกการได้หยิบจับสัมผัสใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดน้อยมีความสำคัญต่อพัฒนาการด้วยเช่นกันค่ะ หรือโตแล้วอาจจะใช้แป้งโดว์ หรือของเล่นที่สามารถเล่นในรถได้
  4. เป็นเพื่อนเล่นให้ลูก ในกรณีที่พ่อขับรถ แม่นั่งข้างๆ หรือใครสักคนที่นั่งข้างๆ คือของเล่นชิ้นที่ดีมากๆ ยกตัวอย่างกิจกรรมที่แป้งจะใช้ตลอดการเดินทางเวลาเป็นเพื่อนเล่นให้ลูก เช่น เล่นแมงมุม/นิ้วโป้งอยู่ไหน /จีจ่อเจี๊ยบ / จักจี้กันให้ลูกได้สนุก พอสองขวบพวกเราเล่นผลัดกันพูดชื่อศัพท์หมวดหมู่ต่างๆ ห้ามซ้ำกันและห้ามคิดนาน เช่น จงพูดชื่อสัตว์ ประเทศ สิ่งที่เห็นนอกหน้าต่าง เขาจะได้ใช้การคิดและความสนุก และก็จะชวนเล่นเสมอๆ

และจุดเรียนรู้สำคัญของข้อนี้ที่เราพบคือ ร่างกายของเขา ตัวเขาก็เป็นเพื่อนเล่นสำหรับเขาเองได้เช่นกัน เขาอยู่กับตัวเองได้โดยปราศจากของเล่นใดๆ เพราะบางครั้งณดาร้องเพลงคนเดียวและชูนิ้วมาเล่นเอง บางครั้งก็มองข้างนอกหน้าต่างแล้วพูดชื่อสิ่งที่เห็นออกมา นี่คือพื้นฐานของ Self Esteem การเห็นคุณค่าในตัวนั่นเอง (แม้ว่าไม่มีใครฉันก็ยังมีฉัน)

Advertisement

อย่างไรก็ตามบางบ้านอาจจะมีความจำเป็นที่ต้องเดินทางกับลูกแค่สองหรือสามสี่คนเท่านั้น ซึ่งเราคิดว่ามีท่านที่ทำได้สำเร็จโดยไม่อาศัย Screen time อย่างแน่นอน หากท่านใดมีวิธีสามารถแบ่งปันได้นะคะ

ถามว่าจากที่ได้ใช้วิธีการต่างๆเหล่านี้ เห็นผลดีอะไรตลอดสามปีเจ็ดเดือนที่ผ่านมา

1. ลูกเป็นเด็กที่มีความอดทนรอคอยเพื่อเป้าหมาย และควบคุมตัวเองได้ เด็กเบื่อเป็นเรื่องปกติ เธอจะถามตลอดว่าเมือไหร่ถึง เราจะบอกความจริงไม่โกหกลูก อีกนานก็คืออีกนาน เพื่อให้เธอรู้จักรอคอยเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้..ไม่ใช่แค่เรื่องนั่งรถ แต่การสอนให้เขาต้องต่อคิวเพื่อรอก็จะง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน..

2. เรียนรู้ที่จะเข้าใจความรู้สึกตัวเองได้ดี เรามักสอนเค้าเสมอว่ารู้สึกอะไรก็บอกออกมา “หนูเบื่อแล้วค่ะแม่..” แม่ก็จะบอกว่า “อื่อแม่ก็เบื่อเนอะอยากให้ถึงไวไวจัง แต่ยังไงเราก็ต้องรอคอยนะคะ” .. ลูกถอดหายในเฮ้อออ..แล้วก็หันไปร้องเพลงกับตัวเองต่อไป …สงบเร็วได้ด้วยตัวเอง

3. ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเหนียวแน่น เพราะเขารู้ว่าแม่เล่นกับเขาได้ พ่อขับรถก็เล่นได้ ร้องเพลงด้วยกันได้ สายสัมพันธ์นี้แหละคือโอกาสที่พ่อควรสร้างและรีบคว้าไว้ เพราะในไม่ช้าไม่นาน สื่อ screen time ต่างๆ จะเข้ามาในชีวิตลูกไม่ช้าก็เร็วสำหรับโลกดิจิตอลในยุคนี้

เทคโนโลยีใดๆ ก็เชื่อมโยงได้ไม่ก้าวล้ำและสำคัญได้เท่ากับการเชื่อมโยงในสายสัมพันธ์ทางจิตใจอย่างเหนียวแน่นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์โดยเฉพาะระหว่างพ่อแม่และลูกนั่นเอง

มานำไปประยุกต์ใช้วิธีนี้ให้เข้ากับบริบทของแต่ละบ้านแต่ละคนดูนะคะ
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

เลี้ยงลูกให้ดี ควรลงโทษลูกไหม?

รับมืออย่างไร เมื่อคนอื่นวิจารณ์การเลี้ยงลูกของเรา

TAP-ios-for-article-footer-with button (1)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

แม่แป้ง กุลลดา พันธ์สังข์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 4 วิธีฝึกลูกเดินทางได้ ไม่ง้อแท็บเล็ต
แชร์ :
  • จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

    จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

  • 5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

    5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

  • 6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

    6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

  • จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

    จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

  • 5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

    5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

  • 6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

    6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว