เตือนเฝ้าระวัง!! ไข้หวัดบี อันตรายสายพันธุ์ใหม่สำหรับ “แม่ท้อง”
เตือนเฝ้าระวัง!! ไข้หวัดบี อันตรายสายพันธุ์ใหม่สำหรับ “แม่ท้อง”
คุณแม่สมาชิกเฟสบุ๊ค และเพจคนท้องคุยกันนามว่า Kodeeyoh Chumboriboon เล่าประสบการณ์ของตัวเอง หลังป่วยเป็นไข้หวัดบี ในขณะที่ตนกำลังท้อง เพื่อเตือนให้คุณแม่ท้องทุก ๆ คนควรเฝ้าระวัง
หลังจากที่สามีของคุณแม่ป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา คุณแม่ก็เริ่มรู้สึกว่าตัวเองตัวร้อน เลยทานยาพาราไปสองเม็ด อาการก็เริ่มดีขึ้น แต่กลับทรุดลงหลังจากที่ยาหมดฤทธิ์ ถึงขนาดกับไม่สามารถที่จะนอนได้ สามีจึงนำตัวคุณแม่ส่งโรงพยาบาลทันที
เมื่อถึงห้องฉุกเฉินผลกรากฏว่า คุณแม่มีไข้ขึ้งสูงถึง 41 องศา ความดันตกเหลือแค่ 40 กว่า ๆ แน่นอนว่าอาการเช่นนี้ ย่อมไม่ส่งผลดีต่อลูกในครรภ์แน่ ๆ หมอจึงให้คุณแม่แอทมิท เพื่อเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด
เมื่อถึงห้องฉุกเฉิน ผลพบว่า คุณแม่มีไข้ขึ้งสูงถึง 41 องศา ความดันตกเหลือแค่ 40 กว่า ๆ
อาการคืนแรกนั้นหนักมาก ๆ ถึงขั้นไม่สามารถนอนได้เลย ปวดเมื่อยตามตัว อาเจียร พยาบาลต้องคอยเช็ดตัว และวัดความดันรวมถึงฟังเสียงหัวใจของลูก ผลคือลูกหัวใจเร็วมากถึง 170 ตัวแม่เองก็มีไข้สูง จนสุดท้าย ต้องขอตรวจไข้หวัดใหญ่ และบทสรุปก็คือ คุณแม่เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บีจริง ๆ
ต่อมาอาการเริ่มหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนต้องเข้าห้อง ICU เนื่องจากความดันของคุณแม่นั้นตกมาก วัดเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้น พยาบาลต้องคอยวัดเสียงหัวใจลูกทุก ๆ สี่ชั่วโมง หมอกลัวว่า ลูกจะขาดอากาศหายใจ จึงต้องเจาะคอเพื่อใส่เครื่องช่วยหายใจ พร้อมให้ยาผ่านท่อนั้น และให้อาหารผ่านทางจมูก ผลสรุปของหมอก็คือ ปอดของคุณแม่นั้น “ติดเชื้อ” อาการของคุณแม่หนักมาก จนหมอต้องคอยเช็คอาการแบบวันต่อวัน ถึงขนาดให้ญาติเลือกแล้วว่า จะเอาแม่หรือเด็กไว้
คุณแม่ทานยาพาราไปสองเม็ด อาการเริ่มดีขึ้น แต่กลับทรุดลงหลังจากที่ยาหมดฤทธิ์
ในตอนนั้นคุณแม่ทรมานมาก ไม่สามารถที่จะขยับไปไหนได้เลย แล้วท้องก็ใหญ่มากด้วย ไม่กล้าแม้แต่จะขยับคอไปไหน เพราะท่อที่ใส่ไว้มันค้ำคออยู่ หลายวันผ่านไป อาการของคุณแม่เริ่มดีขึ้น ความดันเริ่มปกติ ปอดดีขึ้น หมอจึงอนุญาตให้ออกจากห้อง ICU มาอยู่ห้องพักฟื้นได้ หมอบอกว่า เชื้อไข้หวัดบีที่คุณแม่ได้รับนั้น ลูกก็จะได้รับไปด้วย หากคุณแม่หาย ลูกก็หายด้วยเช่นกัน ไม่กี่วันหลังจากนั้น คุณหมออนุญาตให้คุณแม่สามารถกลับบ้านได้ และนัดให้กลับมาตรวจอีกครั้ง ผลสรุปคือทั้งคุณแม่หายสนิท และน้องก็ปลอดภัยดี
“อยากเตือนคุณแม่ ๆ ทุกบ้านว่าจะหนักจะเบา เราควรพบหมอดีกว่า เพื่อตัวเราและลูกน้อย ๆ ในท้องของเราค่ะ” คุณแม่กล่าว
หากมีอาการไข้ ปวดหัว หนาวสั่น ปวดตามร่างกาย เหนื่อยอ่อนล่ะก็ คุณควรดื่มน้ำมาก ๆ
วิธีรักษาอาการไข้หวัดใหญ่อย่างปลอดภัย
หากคุณแม่มีอาการไข้ ปวดหัว หนาวสั่น ปวดตามร่างกาย เหนื่อยอ่อน ไม่อยากอาหารล่ะก็ คุณควรดื่มน้ำมาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณมีไข้ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการขาดน้ำ น้ำผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก ๆ เช่น น้ำส้ม ก็ช่วยให้คุณต่อสู้กับการติดเชื้อได้เช่นกัน เครื่องดื่มที่ทำจากน้ำร้อน น้ำมะนาว และน้ำผึ้ง ก็ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ แม้ว่าคุณไม่อยากอาหาร แต่พยายามกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (เช่น ผลไม้ หรือ อาหารที่ขัดสีน้อย) เมื่อคุณทำได้ คุณต้องพักผ่อนมาก ๆ ด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้น หากคุณแม่ไอ มีอาการไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่อย่างต่อเนื่อง ที่ดูเหมือนว่า จะไม่หายหรือไม่ทุเลาเลย คุณควรติดต่อหมอเพราะคุณอาจติดเชื้อทุติยภูมิ หรือการติดเชื้อชนิดอื่นซ้ำ ซ้อนอีกก็ได้ หากคุณมีความกังวลใด ๆ เกี่ยวกับสุขภาพของคุณแล้วล่ะก็ ติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะดีที่สุด
ผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก ๆ เช่น น้ำส้ม ก็ช่วยให้คุณต่อสู้กับการติดเชื้อได้เช่นกัน
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
ขอบคุณที่มา : คุณแม่ Kodeeyoh Chumboriboon และ เพจคนท้องคุยกัน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
ทำไมผู้หญิงตั้งท้อง จึงมีแนวโน้มเป็นหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ มากกว่าคนปกติ?
“ควันบุหรี่” หนึ่งสาเหตุของการเป็นปอดบวม
เคล็ดลับดูแลแม่ท้องอ่อน การดูแล คุณแม่ท้องอ่อน ดูแลตัวเองยังไง?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!