“ภูมิคุ้มกัน” เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับลูกน้อย เพราะการที่ลูกมีภูมิคุ้มกันที่ดี ก็จะส่งผลให้สุขภาพแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บป่วยง่าย ทำให้ร่างกายสามารถรับมือกับเชื้อโรคไม่ให้เข้ามาทำร้ายร่างกาย หรือลดความรุนแรงของอาการได้ โดยเฉพาะในยุคที่ Covid-19 ระบาด และเด็กต่ำกว่าอายุ 18 ปี ยังไม่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสชนิดนี้ได้ ดังนั้น เด็กจึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้ออย่างมาก แม้เด็กจะอยู่แต่บ้าน แต่พ่อแม่หรือคนอื่นในบ้านอาจเป็นพาหะนำไวรัสจากข้างนอกมาสู่ลูกได้ ดังนั้นภูมิคุ้มกันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ยิ่งตอนนี้การไม่ป่วยสำคัญที่สุด เพราะไม่ว่าจะป่วยเป็นอะไร ถ้าต้องไปโรงพยาบาลหลายคนคงแอบกังวลมาก
เสริมภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรงด้วยโพรไบโอติก
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อได้รับในปริมาณที่เหมาะสมจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย1 โพรไบโอติกบางสายพันธุ์สามารถช่วยทำให้เด็กมีภูมิคุ้มกันที่ดี ปัจจุบันมักมีการเสริมเข้าไปในอาหารสำหรับเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ไม่ได้ระบุว่าเป็นโพรไบโอติกชนิดใด แต่สำหรับทางการแพทย์แล้ว โพรไบโอติกไม่ได้มีแค่สายพันธุ์เดียว อีกทั้งแต่ละสายพันธุ์ก็ไม่ได้ออกฤทธิ์หรือให้ผลเหมือนกัน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องศึกษาให้ความสนใจ จะได้เลือกชนิดที่เหมาะกับลูก จะได้ไม่ต้องเสียเงินโดยไร้ประโยชน์
เลือกโพรไบโอติกสายพันธุ์ไหน จึงช่วยเสริมภูมิคุ้มกันลูกได้
อย่างที่เราได้บอกไปแล้วว่า โพรไบโอติกแต่ละสายพันธุ์ไม่ได้ออกฤทธิ์ หรือให้ประโยชน์เหมือนกัน ถ้าอยากรู้ว่าสายพันธุ์ไหนออกฤทธิ์ได้ในการเสริมภูมิคุ้มกัน และป้องกันการติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องดูจากการศึกษาทางการแพทย์เท่านั้น
แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี เป็นโพรไบโอติกหรือจุลินทรีย์ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ ออกฤทธิ์ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันป้องกันโรคติดเชื้อได้ ถูกค้นพบโดย เจอร์ฮาร์ด รูเทอร์ นักจุลชีววิทยาชาวเยอรมัน โดย แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM17938 เป็นสายพันธุ์ที่มีการศึกษาจำนวนมากยืนยันถึงประสิทธิภาพที่ดี ซึ่งปกติพบได้ในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ โดยสายพันธุ์ดังกล่าวมีต้นกำเนิดมาจากสายพันธุ์ ATCC55730 ซึ่งได้มาจากน้ำนมแม่ของหญิงชาวเปรู2,3
การทำงานของโพรไบโอติก สายพันธุ์แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี
โพรไบโอติก สายพันธุ์แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี มีขั้นตอนการทำงาน หรือกลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพในการเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อ โดยจะสร้างสารชื่อ รูเทอริน (Reuterin) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อก่อโรคหลายชนิด4 ช่วยกระตุ้นการสร้าง CD4-T helper cell เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ที่จะช่วยประสานกับระบบภูมิคุ้มกันอื่นในการต่อสู้เชื้อก่อโรค เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง และป้องกันโรคติดเชื้อได้3
การศึกษาทางการแพทย์เกี่ยวกับผลของโพรไบโอติก สายพันธุ์ แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี
- จากการศึกษาเด็กอายุ 4 – 10 เดือน จำนวน 201 คน พบว่า กลุ่มที่รับประทานโพรไบโอติก แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี (65 คน) ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ มีจำนวนวันที่มีไข้ ท้องเสีย น้อยกว่ากลุ่มอื่นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ช่วยลดจำนวนวันที่ต้องไปเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาพยาบาล และช่วยลดการที่ต้องได้รับยาปฏิชีวนะอีกด้วย5
- จากการศึกษาเด็กอายุ 6 – 36 เดือน จำนวน 336 คน พบว่า กลุ่มรับประทานโพรไบโอติก แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี (168 คน) ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ช่วยลดการเกิดท้องเสียได้ถึง 50% และช่วยลดวันที่เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ถึง 67% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก (168 คน)6
- จากการศึกษาเด็กอายุ 1 – 6 ปี จำนวน 494 คน พบว่า การรับประทานแล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี เป็นเวลา 6 เดือน ช่วยลดการเกิดท้องเสียในเด็กได้7
ซึ่งเมื่อเด็ก ๆ ไม่ค่อยติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือท้องเสีย ก็ไม่ต้องขาดเรียนบ่อย ๆ คุณพ่อ คุณแม่ก็คลายความกังวลใจ อีกทั้งยังช่วยลดค่ารักษาพยาบาลได้อีกทางหนึ่งด้วย
อย่างที่เราเน้นย้ำไปตั้งแต่แรกแล้วว่า การเสริมโพรไบโอติกให้ลูกนั้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของลูกแข็งแรง ตลอดจนการทำงานของระบบขับถ่ายก็ดีด้วย เพียงแต่ว่าต้องเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะสม และเป็นสายพันธุ์ที่มีการศึกษาทางการแพทย์รองรับ โพรไบโอติกสายพันธุ์แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM17938 เป็นสายพันธุ์ที่แนะนำโดยสมาคมแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารนานาชาติ (WGO) ซึ่งได้แนะนำให้รับประทานเป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับเด็ก โดยเฉพาะที่ต้องเข้าโรงเรียนหรือต้องไปสถานรับเลี้ยงกลางวัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ1
เอกสารอ้างอิง
- World Gastroenterology Organisation. World gastroenterology organisation global guidelines: probiotics and prebiotics. February 2017: 1-35.
- Srinivasan R, Kesavelu D, Veligandla KC, Muni SK, Mehta SC. Lactobacillus reuteri DSM 17938: Review of Evidence in Functional Gastrointestinal Disorders. Pediatr Ther. 2018; 8(3): 1-8.
- Valeur N, Engel P, Carbajal N, Connolly E, Ladefoged K. Colonization and immunomodulation by Lactobacillus reuteri ATCC 55730 in the human gastrointestinal tract. Appl Environ Microbiol. 2004;70(2):1176-1181.
- Cleusix V, Lacroix C, Vollenweider S, Duboux M, Le Blay G. Inhibitory activity spectrum of reuterin produced by Lactobacillus reuteri against intestinal bacteria. BMC Microbiol. 2007;7:101. Published 2007 Nov 12.
- Weizman Z, Asli G, Alsheikh A. Effect of a probiotic infant formula on infections in child care centers: comparison of two probiotic agents. Pediatrics. 2005;115(1):5-9.
- Gutierrez-Castrellon P, Lopez-Velazquez G, Diaz-Garcia L, et al. Diarrhea in preschool children and Lactobacillus reuteri: a randomized controlled trial. Pediatrics. 2014;133(4):e904-e
- Agustina R, Kok FJ, van de Rest O, et al. Randomized trial of probiotics and calcium on diarrhea and respiratory tract infections in Indonesian children. Pediatrics. 2012;129(5):e1155-e1164.
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!