ภาวะน้ำคร่ำมาก อาการเป็นอย่างไร อันตรายในคุณแม่ตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำคร่ำ มีความสำคัญในการตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะทำหน้าที่ช่วยป้องกันทารกและสายสะดือไม่ให้ถูกกด ช่วยเสริมสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อของทารกในครรภ์ อีกทั้งยังช่วยพัฒนาระบบในร่างกายอีกด้วย แต่ถ้าเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อยหรือ ภาวะน้ำคร่ำมาก ลูกในครรภ์จะเป็นอย่างไร บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักภาวะน้ำคร่ำมาก และสาเหตุของการเกิดภาวะนี้ค่ะ มาดูกันว่าภาวะนี้อันตรายหรือไม่

 

ภาวะน้ำคร่ำมาก คืออะไร

ภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios) คือ ภาวะที่ปริมาณน้ำในถุงน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นจนผิดปกติ ทำให้ถุงน้ำคร่ำขยายตัวจนส่งผลให้คุณแม่มีอาการแน่นท้อง แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก และอาการอื่น ๆ หากคุณแม่มีน้ำคร่ำมากในระดับที่ไม่รุนแรง ก็อาจมีสัญญาณที่ไม่เป็นอันตราย แต่สำหรับคุณแม่บางคน หากมีอาการภาวะน้ำคร่ำมาก ก็อาจทำให้เกิดผลร้ายจนถึงขั้นแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้

อย่างไรก็ตาม น้ำคร่ำมากมักเป็นภาวะที่พบได้น้อย มีอัตราการเกิด 1-2% และมักเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ดังนั้น หากเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คุณแม่ควรหมั่นสังเกตร่างกายของตัวเอง เพื่อให้พร้อมรับมือกับภาวะนี้

 

น้ำคร่ำมาก เกิดจากอะไร

ภาวะน้ำคร่ำเยอะอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากการพัฒนาของทารกในครรภ์ที่ไม่สมบูรณ์ หรือเกิดจากตัวคุณแม่เอง แต่บางคนก็อาจไม่ปรากฏสาเหตุที่แน่ชัด โดยสาเหตุที่มักทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำมาก มีดังนี้

  • สายรกผิดปกติ
  • ทารกลำไส้อุดตัน
  • โรคจากพันธุกรรม
  • การตั้งครรภ์ฝาแฝด
  • โรคถ่ายเลือดในครรภ์แฝด
  • ภาวะของเหลวเกินในทารก
  • ภาวะโลหิตจางของลูกในครรภ์
  • โรคประจำตัวของคุณแม่ เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ภาวะบกพร่องที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาทส่วนกลาง และระบบทางเดินอาหาร

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการของน้ำคร่ำมาก

เมื่อเกิดภาวะน้ำคร่ำมาก จะส่งผลให้ถุงน้ำคร่ำขยายใหญ่ขึ้นจนทำให้เกิดแรงดันบริเวณอวัยวะใกล้ ๆ ช่องคลอด ซึ่งหากเกิดภาวะน้ำคร่ำเยอะที่ไม่รุนแรง ก็อาจไม่แสดงอาการใด ๆ อย่างชัดเจน แต่ถ้าหากเกิดความรุนแรงนั้น อาจส่งผลให้คุณแม่มีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ท้องผูก
  • มดลูกบีบตัว
  • อาหารไม่ย่อย
  • ปัสสาวะน้อยลง
  • ทารกไม่กลับหัว
  • แสบร้อนกลางอก
  • ช่องคลอดขยายตัว
  • หายใจติดขัด หายใจไม่ออก
  • เท้าบวม ขาบวม สะโพกบวม ท้องบวม และแน่นท้อง

หากคุณแม่มีอาการข้างต้นนี้ หรือมีการขยายของหน้าท้องอย่างรวดเร็ว ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการวินิจฉัยต่อไป เพราะอาการดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีสังเกตภาวะน้ำคร่ำมาก

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า หากคุณแม่มีปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มเล็กน้อย ก็อาจไม่สามารถสังเกตความผิดปกติได้ แต่ถ้าหากมีปริมาณน้ำคร่ำมาก อาจสังเกตว่าตัวเองครรภ์โตเร็วผิดปกติ และมีอาการอึดอัดแน่นท้อง โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีปริมาณน้ำคร่ำมาก อาจส่งผลให้หายใจติดขัดหรือหายใจลำบาก เนื่องจากกะบังลมถูกดันขึ้นมาถึงปอด จนทำให้เกิดอาการดังกล่าวนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำคร่ำ คืออะไร? มีหน้าที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การวินิจฉัยภาวะน้ำคร่ำมาก

ขั้นตอนแรกแพทย์จะสอบถามอาการของผู้ป่วย และตรวจร่างกายเพื่อหาอาการของโรค เช่น อาการบวมในร่างกาย จากนั้นแพทย์จะตรวจครรภ์เพื่อตรวจสอบลักษณะของทารกและถุงน้ำคร่ำ หากปรากฏว่าคุณแม่มีความเสี่ยงของภาวะน้ำคร่ำมาก แพทย์จะตรวจอัลตราซาวนด์เฉพาะจุด เพื่อตรวจดูปริมาณน้ำคร่ำและขนาดถุงน้ำคร่ำ ซึ่งจะช่วยบอกสาเหตุของภาวะนี้และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ไม่เพียงเท่านั้น แพทย์ยังตรวจเลือดของคุณแม่เพื่อหาโรคติดเชื้อ และทำการเจาะถุงน้ำคร่ำเพิ่มเติม หากพบว่าคุณแม่มีแนวโน้มน้ำคร่ำมาก แพทย์จะใช้วิธีตรวจอัตราการเต้นของหัวใจลูกน้อยในครรภ์ เพื่อตรวจดูการเคลื่อนไหวและการหายใจ รวมถึงปริมาณน้ำคร่ำในครรภ์อีกด้วย

 

การรักษาภาวะน้ำคร่ำมาก

ปกติแล้ว ภาวะน้ำคร่ำเยอะมักไม่รุนแรงและมักหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่มาตรวจขนาดถุงน้ำคร่ำเสมอเพื่อตรวจดูความผิดปกติ หากคุณแม่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว หรือเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำคร่ำมากได้ด้วย แพทย์จะให้คุณแม่ใช้ยารักษาที่ช่วยบรรเทาอาการนี้ได้ หรือหากคุณแม่เป็นโรคประจำตัวอื่น ๆ แพทย์ก็จะใช้วิธีนี้ในการรักษาเช่นกัน

ส่วนคุณแม่ที่มีอาการปวดท้อง หายใจติดขัด และมีสัญญาณคลอดก่อนกำหนด ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีรักษาโดยวิธีดังนี้

  • การเจาะน้ำคร่ำ การเจาะน้ำคร่ำส่วนเกินออก จะช่วยลดปริมาณน้ำคร่ำให้อยู่ในระดับปกติได้ อีกทั้งยังช่วยลดอัตราเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดและภาวะแทรกซ้อน แพทย์จะให้คุณแม่เข้ารับการตรวจหลังการรักษาเพื่อติดตามอาการต่อไป
  • การใช้ยาอินโดเมตทาซิน (Indomethacin) การใช้ยาชนิดนี้ จะช่วยลดปริมาณน้ำคร่ำของปัสสาวะของทารกในครรภ์ ซึ่งในการรักษาด้วยยานี้ ลูกในครรภ์ต้องได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าและตรวจสุขภาพครรภ์ด้วย
  • คลอดก่อนกำหนด วิธีนี้จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เพราะคุณแม่ที่มีน้ำคร่ำมาก อาจตั้งครรภ์นานถึง 40 สัปดาห์

บทความที่เกี่ยวข้อง : การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า?

 

 

วิธีป้องกันน้ำคร่ำมาก

สำหรับคุณแม่ที่เป็นโรคติดเชื้อหรือโรคเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อจะได้วางแผนในการรักษาก่อนการตั้งครรภ์ วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำคร่ำมากได้ โดยแพทย์จะให้คำแนะนำในการดูแลตัวเอง การรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตของคุณแม่ นอกจากนี้ หากคุณแม่อยู่ในช่วงพักรักษาจากภาวะน้ำคร่ำมาก ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และควรหลีกเลี่ยงภาวะเครียด เพราะหากคุณแม่มีความกังวลก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพครรภ์อีกเช่นกัน ดังนั้น อย่าลืมไปตรวจครรภ์บ่อย ๆ นะคะ

 

หากเกิดภาวะน้ำคร่ำมากในช่วงตั้งครรภ์ ก็อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้น หากคุณแม่สังเกตว่าตัวเองมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก และมีอาการบวมตามร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ หากพบว่ามีภาวะนี้ แพทย์จะได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

น้ำคร่ำแห้ง ระวังลูกตายไม่ก็พิการ จะป้องกันอย่างไรไม่ให้น้ำคร่ำแห้ง

น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ทำยังไงดี? อันตรายต่อลูกในท้องไหม?

อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

ที่มา : pobpad.com, pobpad.com, haamor.com

บทความโดย

Sittikorn Klanarong