ภาวะเลือดหนืด เลือดข้น อันตรายกว่าที่คิด! รีบรักษาก่อนจะสาย

ภาวะเลือดหนืด หรือภาวะเลือดข้น (Polycythemia) เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิดไปจนถึงผู้ใหญ่ เป็นภาวะที่จะต้องระวัง และรักษาให้ไวที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะเลือดหนืด ส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้ มาดูกันดีกว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกหลาน หรือคนในครอบครัวของเรามี ภาวะเลือดหนืด หรือเลือดข้นหรือเปล่า ไปดูกัน

 

Polycythemia คือ

ภาวะเลือดหนืด หรือภาวะเลือดข้น หรือในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Polycythemia คือภาวะที่ร่างกายของเรามีการเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงมากจนเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เลือดของเรานั้นมีลักษณะที่หนืด หรือข้นขึ้น โดยในปริมาณที่มากจนเกินไปนี้จะทำให้เรานั้นเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้

 

สาเหตุของการเกิดภาวะเลือดหนืด

การที่ร่างกายของเรานั้นมีปริมาณเม็ดเลือดแดงจำนวนมากนั้นทำให้เกิดภาวะเลือดหนืดหรือเลือดข้นได้ โดยสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดได้เป็น 2 สาเหตุ ดังต่อไปนี้

  • ภาวะเลือดข้น ระยะปฐมภูมิ หรือ polycythemia vera (PV) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่งที่พบได้ยาก และเติบโตช้า ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า myeloproliferative neoplasm PV โดยจะทำให้กระดูกสร้างเซลล์เม็ดเลือด หรือสารตั้งต้นออกมาจำนวนมาก หรือเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ และมีการทำงานที่ผิดปกติ จึงนำไปสู่การผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มากจนเกินไป ทั้งนี้อาจรวมถึงการมีเม็ดเลือดขาวมากจนเกินไปได้ด้วยเช่นเดียวกัน
  • ภาวะเลือดข้น ระยะทุติยภูมิ หรือ Secondary polycythemia เป็นการเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ไม่ได้มีปัจจัยมาจากมะเร็งเม็ดเลือด (PV) แต่เกิดจากสภาพแวดล้อม และความผิดปกติของร่างกายในส่วนอื่น ๆ ได้แก่
    • การอยู่ในที่สูงมาก ๆ
    • การหยุดหายใจขณะนอนหลับ
    • การที่มีเนื้องอกบางชนิดในร่างกาย
    • โรคหัวใจ หรือโรคปอดที่ทำให้ระดับออกซิเจนในร่างกายต่ำ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะเลือดข้นนี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นไปตามอายุของแต่ละบุคคล โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่อายุ 60 ปี

 

ความเสี่ยงของการเป็นภาวะเลือดข้น

สำหรับความเสี่ยงของการเป็นภาวะเลือดข้นนี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นไปตามอายุของแต่ละบุคคล โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่อายุ 60 ปี และสามารถเกิดขึ้นกับผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิงอีกด้วย ซึ่งการเป็นภาวะนี้ในรูปแบบของ PV นั้นไม่จำเป็นจะต้องมีประวัติคนในครอบครัวก็สามารถเป็นได้ หรือภาวะนี้ไม่ได้เป็นภาวะที่ถูกส่งต่อทางพันธุกรรมนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามมีการวิจัยพบว่า การเกิดภาวะเลือดหนืด เลือดข้นนั้นเกี่ยวข้องกับการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมบางอย่าง โดยสมาคมมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองของสหรัฐอเมริกา (Leukemia & Lymphoma Society) ได้สังเกตเห็นว่า คนที่มีภาวะเลือดหนืดแบบ PV นั้นมีการกลายพันธุ์ในยีน Janus kinase 2 (JAK2) แต่ถึงเช่นนั้นก็ยังไม่มีการยืนยันอย่างแน่นอน ทั้งนี้หากใครมีประวัติคนในครอบครัวเป็นภาวะนี้ก็ควรไปตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความแน่ใจอีกทีก็ได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ความดันโลหิตสูง โรคร้ายและภัยเงียบ ที่คนกรุงควรระวัง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของภาวะเลือดหนืด

ไม่ใช่เรื่องแปลงที่คุณสามารถเป็นภาวะเลือดหนืดได้โดยที่คุณเองก็ไม่รู้ตัว เพราะว่าอาการของภาวะนี้มักจะแสดงออกมาอย่างช้า ๆ และใช้เวลานานกว่าคุณจะรู้ตัว โดยการที่คุณเป็นภาวะเลือดหนืดนั้นหมายถึงการมีเซลล์เม็ดเลือดแดงมากจนเกินไป ทำให้เลือดไหลเวียนได้ยากขึ้น นอกจากนี้ยังเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดได้ โดยอาการของผู้ที่เป็นภาวะนี้ที่พบบ่อยมีดังต่อไปนี้

  • เวียนศีรษะ
  • ปวดหัว
  •  เหงื่อออกมากเกินไป
  • คันผิวหนัง
  • หูอื้อ
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • เมื่อยล้า
  • ผิวบริเวณฝ่ามือ ติ่งหู และจมูกเป็นสีแดง หรือม่วง
  • มีเลือดออก หรือเกิดการช้ำ
  • รู้สึกแสบร้อนที่เท้า
  • เลือดกำเดาไหลบ่อย
  • มีเลือดออกที่เหงือก

ทั้งนี้หากคุณยังไม่รู้ตัวว่าเป็นภาวะเลือดหนืด และไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ต้นอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ดังต่อนี้ไป

  • ม้ามโต
  • เลือดเป็นลิ่ม
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • แผลในกระเพาะอาหาร
  • โรคหัวใจ
  • โรคเกาต์

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะเลือดหนืดในทารก

โดยปกติแล้วภาวะเลือดหนืดมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ แต่ในความเป็นจริงแล้วสามารถเกิดขึ้นกับทารกแรกเกิดได้เช่นกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการมีเซลล์เม็ดเลือดแดงจำนวนมากในร่างกายจนทำให้เลือดหนืดเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ทั้งนี้การที่เลือดนั้นข้นเกินกว่าจะเดินทางไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของทารกได้ช้ากว่าปกตินั้นจึงถูกเรียกว่า Hyperviscosity syndrome (HVS) ที่อาจส่งผลให้อวัยวะบางส่วนของร่างกายทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

 

อะไรที่ทำให้เกิดภาวะเลือดหนืดในทารก

สำหรับทารกแรกเกิดแล้วนั้นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้อาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ความล่าช้าในการหนีบสายสะดือ
  • คุณแม่ที่มีเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • โรคที่สืบทอดผ่านทางพันธุกรรม
  • ปริมาณออกซิเจนในเลือดของทารกน้อยจนเกินไป (ภาวะขาดออกซิเจน)
  • กลุ่มอาการถ่ายเลือดของแฝด เกิดจากการที่ทารกอีกคนในครรภ์ถ่ายเซลล์เม็ดเลือดแดงให้ทารกอีกคนมากจนเกินไป

บทความที่น่าสนใจ : 7 วิธีเช็คโรคฮีโมฟีเลียในเด็ก – พ่อแม่ควรทำอย่างไรเมื่อลูกมีเลือดไหลไม่หยุด

 

ภาวะแทรกซ้อนของทารก

ทารกที่เป็นภาวะเลือดหนืดจะได้รับการตรวจสอบภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เพื่อป้องกัน และรักษาได้ทันท่วงที หากทารกมีภาวะดังกล่าว นอกจากนี้การเกิดภาวะเลือดหนืดในทารกอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นได้ ดังต่อไปนี้

  • การตายของเนื้อเยื่อลำไส้ (Necrotizing Enterocolitis)
  • ไตล้มเหลว
  • อาการชัก
  • โรคหลอดเลือดสมอง

 

รู้ได้อย่างไรว่าทารกเป็นภาวะเลือดหนืด

ทารกส่วนใหญ่ที่มีภาวะเลือดหนืดไม่ได้มีลักษณะแตกต่างออกไปจากทารกโดยทั่วไป แต่ทารกที่มีอาการนี้อาจมีสีผิวที่แดงผิดปกติ โดยเฉพาะตอนที่พวกเขาร้องไห้ ซึ่งนี่เป็นสัญญาณแรก นอกจากนี้ทารกอาจมีอาการปากเขียว ตัวเขียว หรือทารกอาจหยุดหายใจชั่วคราว (ขณะหลับ) ดื่มนมได้ไม่ดี หรือมีน้ำตาลในเลือดต่ำ ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้หากทารกนั้นเป็นภาวะนี้ โดยหากแพทย์พบว่าทารกนั้นมีอาการที่แปลกออกไปจากเด็กปกติ ทารกจะถูกทำการตรวจเลือด เพื่อวัดระดับของเซลล์เม็ดเลือดแดง หากตัวเลขสูงเกินไป ลูกน้อยของคุณจะได้เข้ารับการรักษาในทันที

 

ร้องไห้ อาจเป็นสัญญาณแรกของการบอกอาการของภาวะเลือดหนืด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การรักษาภาวะเลือดหนืดในทารก

  • การรักษาจะขึ้นอยู่กับระดับของเซลล์เม็ดเลือดแดง และอาการของทารก
  • การรักษาอาจรวมถึงการสังเกตอาการจองทารก โดยอาจมีการให้ของเหลว และน้ำตาล (กลูโคส) ในปริมาณปกติ และทำการทดสอบซ้ำเป็นระยะ ๆ
  • กรณีที่อาการไม่รุนแรงมากนัก อาจได้รับการรักษาด้วยการให้ของเหลวทางเส้นเลือดเท่านั้น
  • หากทารกมีอาการที่รุนแรง อาจต้องมีการนำเลือดออกจากร่างกายของทารกบางส่วน และแทนที่ด้วยของเหลวผ่านเส้นเลือดแทน เพื่อเป็นการเจือจางความเข้มข้นของเลือดนั่นเอง

 

ผลกระทบระยะยาวของทารกที่เป็นภาวะเลือดหนืด

ในกรณีของทารกที่เป็นภาวะเลือดหนืดส่วนใหญ่แล้วนั้นไม่มีผลกระทบต่อพวกเขาอย่างถาวร เพราะเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงส่วนเกินของพวกเขาแตกตัว ทารกอาจมีผิวหนังที่เหลือง หรือโรคดีซ่านในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ถือว่าเป็นอาการปกติ แต่หากพวกเขามีลิ่มเลือด หรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดจากความหนืดของเลือดมากจนเกินไป ทารกอาจมีอาหารแทรกซ้อนอื่น ที่รวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง หรือความเสียหายของอวัยวะ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องนี้ หากมีอาการเกิดขึ้น

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับภาวะเลือดหนืด เลือดข้น หรือ Polycythemia เป็นภาวะที่น่ากลัวและอันตรายจริง ๆ เพราะว่าสามารถเกิดได้กับทารกแรกเกิดและผู้สูงอายุ อีกทั้งภาวะนี้ยังแสดงอาการช้าอีก ดังนั้นหากพบว่ามีอาการป่วย หรือร่างกายมีความผิดปกติต่างไปจากเดิมควรรีบไปพบแพทย์นะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ :

ความดันโลหิตต่ำในเด็ก อันตรายหรือไม่? มีสาเหตุมาจากอะไร?

อาหารช่วยลดความดันโลหิตในเด็ก ต้องทานอะไรดีถึงจะช่วยได้?

ธาลัสซีเมีย พ่อแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย ผลกระทบของธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์เสี่ยงแค่ไหน

ที่มา : Medical News Today, 2, Mount Sinai, Cancer Therapy Advisor

บทความโดย

Siriluck Chanakit