X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความสูงของลูก ต้องดูแลเรื่องโภชนาการให้ดีใน 5 ขวบปีแรก

บทความ 5 นาที
ความสูงของลูก ต้องดูแลเรื่องโภชนาการให้ดีใน 5 ขวบปีแรกความสูงของลูก ต้องดูแลเรื่องโภชนาการให้ดีใน 5 ขวบปีแรก

หน้าที่สำคัญของคุณพ่อคุณแม่ นอกจากจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านจิตใจ ร่างกาย สมองและการเรียนรู้ของลูกแล้ว ความสูงของลูก ก็เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน

หน้าที่สำคัญของคุณพ่อคุณแม่ นอกจากจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านจิตใจ ร่างกาย สมองและการเรียนรู้ของลูกแล้ว ความสูงของลูก ก็เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน 

ความสูงของเด็กแต่ละคนถูกกำหนดโดยหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม สารอาหารแร่ธาตุที่จำเป็นต่างๆ กิจวัตรในแต่ละวัน และมีสิ่งหนึ่งที่มีบทบาทมากต่อความสูงคือ แผ่นการเจริญเติบโต(Growth plate) ซึ่ง เป็นส่วนสำคัญต่อความสูงของเด็กๆ เนื่องจากเป็นบริเวณที่จะเกิดการเจริญของกระดูกในเด็กและวัยรุ่น

ความสูงของลูกใน 5 ขวบปีแรก    

แผ่นการเจริญเติบโต (Growth plate) จะอยู่ตรงบริเวณส่วนปลายทั้งสองข้างของกระดูกแท่งยาวของร่างกาย เช่น กระดูกต้นขา กระดูกขา กระดูกแขน กระดูกมือและเท้า ในกระบวนการสร้างกระดูกนั้นจะเริ่มจากจุดที่มีการสร้างกระดูกเรียกว่า ossification center โดยมีส่วนที่อยู่ตรงกลางเรียกว่า แผ่นการเจริญเติบโต (Growth plate) ซึ่งจะมีการแบ่งตัวและขยายกว้างออก ทำให้เกิดการยืดยาวของกระดูก  โดยอาศัยปัจจัยและกระบวนการหลายอย่าง³ ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัว มีหลอดเลือดงอกมาเพื่อนำสารอาหารแร่ธาตุที่จำเป็นต่างๆที่สำคัญมาที่บริเวณแผ่นการเจริญเติบโต (Growth plate) นี้ แล้วทำให้เกิดกระบวนการสร้างกระดูกขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดมากในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น และมีการเจริญอย่างมากในช่วง 5 ขวบปีแรกของชีวิต    

เด็กๆ จะมีความสูงเพิ่มขึ้นในแต่ละปีเฉลี่ยดังนี้¹

  • ในขวบปีแรก ประมาณ 25 ซม./ปี 
  • ช่วงอายุ 1-2 ปี ประมาณ  10-11ซม./ปี 
  • อายุ 2-5 ปี ประมาณ  6-8 ซม./ปี 
  • อายุ 5-8 ปี ประมาณ  5-6 ซม./ปี 
  • ในช่วงก่อนเข้าสู่วัยหนุ่มสาว ประมาณ  4 ซม./ปี 
  • ช่วงเข้าสู่วัยสาวในเด็กชาย ประมาณ  10-14 ซม./ปี 
  • ช่วงเข้าสู่วัยสาวในเด็กหญิง ประมาณ  8-12 ซม./ปี 

คุณพ่อคุณแม่สามารถเช็กส่วนสูงของลูกว่าสูงตามเกณฑ์ไหมที่ growth tracker ลิงค์นี้ https://bit.ly/3JZweXA ได้เลยค่ะ

 

สาเหตุที่ความสูงของร่างกายแทบทั้งหมดเจริญในวัยเด็กและวัยรุ่น เพราะแผ่นการเจริญเติบโต (Growth plate)นี้จะเริ่มมีการถูกแทนที่กลายเป็นกระดูกแข็งหรือที่เราเรียกกันว่า แผ่นการเจริญเติบโตปิด ( closed growth plate)  หรือบางคนเรียกว่ากระดูกปิด² เมื่อเด็กอายุ 14-15ปีในเด็กหญิง และอายุ 15-17ปีในเด็กชาย 

ความสูงของลูก

ดังนั้นในช่วงวัย เด็ก  โดยเฉพาะในช่วง 5 ขวบปีแรก โภชนาการมีผลต่อการพัฒนาของ growth plate โดยตรงและมีผลต่อส่วนสูงของเด็ก โดยส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นในช่วงนี้จะประมาณ 60% ของส่วนสูงในวัยผู้ใหญ่เลยทีเดียว¹º ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรต้องรีบดูแลโดยการเสริมโภชนาการให้ลูกในช่วงที่กระดูกยังไม่ปิด ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาทองในการพัฒนา Growth plate จะช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์เพียงพอที่มีส่วนช่วยให้กระบวนการสร้างกระดูกทำได้ดี และช่วยส่งผลให้ลูกตัวสูงขึ้นอย่างสมวัยค่ะ โดย การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ นอนหลับให้เพียงพอ   และเสริมด้วย อาหารสูตรครบถ้วน ที่มี Triple plus+ ได้แก่ วิตามินและแร่ธาตุ 28 ชนิดซึ่งรวมถึงวิตามินดีและแคลเซียมที่มีส่วนช่วยส่งเสริมเพื่อการเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อ พร้อม DHA สารอาหารเพื่อการเจริญเติบโตของสมอง  โปรตีนคุณภาพ จาก เวย์ เคซีน และถั่วเหลือง ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกระดูก กล้ามเนื้อ และนำไปใช้เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ฟอสและจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมให้ลำไส้แข็งแรงและช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน  ซึ่งมีผลรับรองว่าช่วยการเจริญเติบโตทั้งน้ำหนักและส่วนสูง 

ความสูงของลูก ต้องดูแลเรื่องโภชนาการให้ดีใน 5 ขวบปีแรก

 

ความสูงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้เรื่องพัฒนาการสมอง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 5 ขวบปีแรกที่การได้รับสารอาหารครบถ้วน ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับอย่างเพียงพอ มีผลอย่างมากต่อ ความสูงของลูก ค่ะ คุณพ่อคุณแม่ ต้องไม่พลาดในช่วง 5 ขวบปีแรกนะคะ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องส่งเสริมตามช่วงเวลาของร่างกาย ถ้าเลยช่วงเวลาสำคัญของวัยเด็กนี้ไปแล้ว อาจพลาดโอกาสตัวสูงไปได้เลย และอย่าลืมเสริมด้วยอาหารสูตรครบถ้วนค่ะ

ความสูงของลูก ต้องดูแลเรื่องโภชนาการให้ดีใน 5 ขวบปีแรก

พญ. ฐิติมา คุรุพงศ์ (Dr.Pakky หม่ามี้หมอเด็ก)

  • กุมารแพทย์ คุณแม่ลูกสอง "เจ้าของเพจ Dr.Pakky หม่ามี้หมอเด็ก"

กุมารแพทย์ประจำ ดีดี คิดส์ คลินิก    

  • กุมารเวชศาสตร์ จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล  

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

1.พ.ต.หญิง วรลักษณ์ ภัทรกิจนิรันดร. Step by step for growth evaluation. สืบค้นจากhttps://www.thaipediatrics.org/Media/media-20200903122123.pdf

2.สรศักดิ์ ศุภผลและคณะ.ชีววิทยาของกระดูกและการสมานของกระดูก (Bone biology and healing).บทที่1

3.Amy W.Anzilotti,MD.growth plates.สืบค้นจาก https://kidshealth.org/ 

4.ชื่อผู้วิจัย Mauro Fisberg และคณะ. Effect of Oral Nutritional Supplementation with or without Synbiotics on Sickness and Catch-Up Growth in Preschool Children.  Journal of International Pediatrics,2002

  1. 5. Huynh และคณะ. Longitudinal growth and health outcomes in nutritionally at-risk children who received long-term nutritional intervention. Journal of Human Nutrition and Dietetics (The Official Journal of

The British Dietetic Association)

  1. 6. Huynh และคณะ. Impact of long-term use of oral nutritional supplement on nutritional adequacy, dietary diversity, food intake and growth of Filipino preschool children. Journal of Nutritional Science, 2016
  2. 7. Coly et al. J Nutr. 2006 Sep;136(9):2412-20. / adapt from Jelenkovic et al. eLife 2016;5:e20320.
    8. Gat-Yablonski, G., & Phillip, M. Nutrients, 2015; 7(1), 517-551.
  3. Alarcon PA, et al. Clin Pediatr. 2003;42(3):209-217
  4. 10. Jelenkovic, A. et al. Genetic and environmental influences on height from infancy to early adulthood: An individual-based pooled analysis of 45 twin cohorts. Sci. Rep. 6, 28496; doi: 10. 1038/srep28496 (2016)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพและโภชนาการ
  • /
  • ความสูงของลูก ต้องดูแลเรื่องโภชนาการให้ดีใน 5 ขวบปีแรก
แชร์ :
  • แม่รู้ไหม สมองลูกพัฒนาได้ แม้ในขณะนอนหลับ
    บทความจากพันธมิตร

    แม่รู้ไหม สมองลูกพัฒนาได้ แม้ในขณะนอนหลับ

  • ผ่าคลอด น้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ ปัญหาที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านพบเจอ แก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง
    บทความจากพันธมิตร

    ผ่าคลอด น้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ ปัญหาที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านพบเจอ แก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง

  • ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

    ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

app info
get app banner
  • แม่รู้ไหม สมองลูกพัฒนาได้ แม้ในขณะนอนหลับ
    บทความจากพันธมิตร

    แม่รู้ไหม สมองลูกพัฒนาได้ แม้ในขณะนอนหลับ

  • ผ่าคลอด น้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ ปัญหาที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านพบเจอ แก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง
    บทความจากพันธมิตร

    ผ่าคลอด น้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ ปัญหาที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านพบเจอ แก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง

  • ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

    ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ