ที่ตรวจไข่ตก ดีอย่างไร? อุปกรณ์ช่วยนับวันตกไข่สำหรับคุณแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การตั้งครรภ์ ถือเป็นความฝันของคุณแม่หลายคน แต่กว่าจะตั้งครรภ์นั้นก็ต้องมีปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพร่างกาย อาหารการกิน และจังหวะในการผลิตลูกน้อย คุณแม่หลายคนอาจใช้วิธีนับวันตกไข่ หรือใช้ ที่ตรวจไข่ตก เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีลูกและคำนวณวันที่ไข่จะตก วันนี้เราจะพาไปดูกันว่าที่ตรวจไข่ตกดีอย่างไร และมีวิธีใช้อย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันค่ะ

 

ที่ตรวจไข่ตกคืออะไร

ที่ตรวจไข่ตก หรือชุดทดสอบการตกไข่ (Ovulation Test Strip) คือ ชุดทดสอบเพื่อหาว่าจะมีการตกไข่วันไหน หรือช่วงเวลาใด โดยจะทำการวัดระดับฮอร์โมนลูทิไนซิง (Luteinizing hormone หรือ LH) ที่เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ให้ตกไข่ หากระดับฮอร์โมนลูทิไนซิงสูงถึงเกณฑ์ที่กำเนิด ก็จะเกิดการตกไข่ภายใน 12-36 ชั่วโมงหลังจากตรวจชุดทดสอบนี้ ที่ตรวจไข่ตกจะมีลักษณะคล้ายกับที่ตรวจครรภ์ มีแถบสำหรับตรวจหรือถ้วยตวงปัสสาวะตามแต่ละยี่ห้อ

ซึ่งในการใช้ที่ตรวจไข่ตกนั้น จะตรวจจากปัสสาวะในถ้วยตวง แล้วนำชุดตรวจไปจุ่มให้ชุ่ม โดยแถบที่ตรวจจะมีเส้นสองเส้น เส้นแรกคือเส้นควบคุม ส่วนอีกเส้นคือเส้นสำหรับการทดสอบ หากเส้นทดสอบสีเข้มกว่าเส้นควบคุม ก็แสดงว่าคุณกำลังอยู่ในช่วงของการตกไข่ แต่ถ้าเกิดเส้นทดสอบจางกว่าเส้นควบคุม ก็แสดงว่ายังไม่มีการตกไข่นั่นเอง ดังนั้น ที่ตรวจไข่ตกจึงมีความสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก

 

ที่ตรวจไข่ตก ควรใช้เมื่อไหร่

โดยปกติแล้ว การตกไข่จะเกิดในช่วงกลางของรอบเดือน ดังนั้น การตรวจจึงควรจะตรวจก่อนถึงช่วงกลางรอบเดือน ยกตัวอย่างเช่น หากประจำเดือนมาทุก 28 วัน ก็ควรตรวจก่อนวันที่ 14 2-3 ก่อน เพราะเป็นช่วงกลางของรอบเดือนนั่นเอง แต่หากคุณแม่มีประจำเดือนมาไม่ปกติ แนะนำว่าให้นับย้อนไปช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แล้วดูว่ามีรอบเดือนไหนสั้นที่สุด เพื่อหาแนวทางในการตรวจไข่ตก

ทั้งนี้ ผลการตรวจไข่ตกจะแม่นยำประมาณ 97-99% นั่นหมายความว่ายังมีโอกาสที่จะคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้น คุณแม่จึงควรใช้ที่ตรวจไข่ตกร่วมกับการนับวันไข่ตกด้วยเพื่อความแม่นยำค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : นับวันไข่ตก อย่างไร? สังเกตมูกไข่ตกจากช่องคลอด บอกวันไข่ตกได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ตรวจไข่ตกตอนไหนดีที่สุด

เมื่อคำนวณอย่างดีแล้ว คุณแม่สามารถใช้ที่ตรวจไข่ตกควรในช่วง 2-3 วันก่อนจะมีการตกไข่จริง โดยจะเลือกตรวจไข่ตกในช่วงเวลาใดก็ได้ ทั้งเช้า สาย บ่าย เย็น แต่ที่สำคัญคือแต่ละวันที่จะตรวจ คุณแม่ควรตรวจในช่วงเวลาเดียวกัน กล่าวคือ ถ้าจะเลือกตรวจในตอนเย็น ก็ควรตรวจวันอื่น ๆ ในช่วงเย็นด้วยเหมือนกัน

นอกจากนี้ หากคุณแม่ดื่มน้ำหรือของเหลวบ่อย ๆ ก็จะทำให้สีปัสสาวะเจือจางลงได้ เพราะฉะนั้น หากคุณแม่จะใช้ที่ตรวจไข่ตก ควรงดดื่มน้ำก่อนการตรวจ 2 ชั่วโมง เพื่อให้ชุดทดสอบสามารถตรวจระดับฮอร์โมนลูทิไนซิงได้แม่นยำมากขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่ตรวจไข่ตก ไม่เหมาะกับใคร

ในการใช้ที่ตรวจไข่ตกนั้น อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้ชุดทดสอบผิดเพี้ยนไปได้ ซึ่งผู้ที่ไม่เหมาะในการใช้ที่ตรวจไข่ตก มีดังนี้

  • มีเวลาการตกไข่ที่ผิดปกติ เพราะอาจจำเป็นต้องเสียเงินซื้อชุดทดสอบหลายอัน
  • คุณแม่ที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ไม่ควรใช้ชุดทดสอบนี้ เพราะหากใช้ที่ตรวจไข่ตกก็อาจทำให้ค่าทดสอบผิดเพี้ยนไปได้
  • คุณแม่ที่กำลังเข้าสู่ช่วงหมดวัยประจำเดือน เพราะหากทดสอบออกมาจะได้ผลใกล้เคียงกับผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 แอปนับประจำเดือน ที่ดีที่สุด สาว ๆ ควรโหลดเก็บไว้ แอปคำนวณวันไข่ตก

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประเภทของที่ตรวจไข่ตก

การเลือกที่ตรวจไข่ตกมีความสำคัญเช่นกัน เพราะที่ตรวจไข่ตกนั้นมีอยู่หลายประเภท คุณแม่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยาและร้านสะดวกซื้อ โดยประเภทของที่ตรวจไข่นั้นมีดังนี้

 

  • ที่ตรวจไข่ตกแบบตลับหยด

ที่ตรวจไข่ตกแบบตลับหยด จะมีแท่งสำหรับตรวจ หลอดหยด และถ้วยตวงปัสสาวะ เวลาจะตรวจคุณแม่ก็ปัสสาวะลงในถ้วยตวงแล้วนำหลอดหยดดูดปัสสาวะขึ้นมา จากนั้นนำไปหยดในหลุมทดสอบ 3-4 หยด แล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วค่อยอ่านผล

 

  • ที่ตรวจไข่ตกแบบจุ่ม

ที่ตรวจไข่ตกประเภทนี้จะมีแท่งสำรวจตรวจและถ้วยตวงปัสสาวะ เมื่อคุณแม่ปัสสาวะใส่ถ้วยแล้ว ให้นำแท่งตรวจจุ่มลงไป โดยจุ่มให้ด้านที่มีหัวลูกศรลงในถ้วยปัสสาวะ แต่อย่าให้ปัสสาวะท่วมเกินแถบที่กำหนดนะคะ ให้จุ่มแช่ไว้ประมาณ 5 วินาที แล้วนำขึ้นมาพักประมาณ 5 นาที แล้วจึงอ่านผล

 

 

  • ที่ตรวจไข่ตกแบบปัสสาวะผ่าน

อีกหนึ่งประเภทของที่ตรวจไข่ตก คือ ที่ตรวจไข่ตกแบบปัสสาวะผ่าน โดยที่ตรวจประเภทนี้จะมีแท่งสำหรับตรวจมาให้ และจะมีฝาครอบมาด้วย เวลาคุณแม่จะตรวจให้ถอดฝาครอบออก แล้วให้ปัสสาวะผ่านประมาณ 7-10 วินาที แล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที ค่อยอ่านผลค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ที่ตรวจไข่ตกดิจิทัล

สำหรับที่ตรวจไข่ตกประเภทนี้ จะมีลักษณะคล้ายกับที่ตรวจไข่ตกแบบปัสสาวะผ่าน แต่จะมาในระบบดิจิทัล เวลาคุณแม่จะตรวจให้ถอดฝาครอบออก แล้วปัสสาวะให้โดนปลายแท่งตรวจประมาณ 7-10 วินาที ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วค่อยอ่านผล ผลที่ขึ้นออกมาจะแสดงผลหลายแบบ คือ Low ยังไม่มีการตกไข่ High มีโอกาสในการตกไข่สูง และ Peak มีโอกาสในการตกไข่สูงสุด

 

วิธีอ่านค่าที่ตรวจไข่ตก

สำหรับที่ตรวจไข่ตกจะมีอยู่ทั้งหมด 2 เส้น เส้นแรกเรียกว่าเส้นควบคุม (C) เป็นการยืนยันว่าที่ตรวจใช้งานได้ปกติ เส้นที่สองจะเป็นเส้นตรวจจับฮอร์โมน (T) หากปัสสาวะมีระดับฮอร์โมนลูทิไนซิงสูง เส้นที่สองก็จะแสดงขึ้นมาอย่างชัดเจน ซึ่งวิธีอ่านค่าที่ตรวจไข่ตกแบบง่าย ๆ มีดังนี้

  • ที่ตรวจขึ้น 2 ขีดเข้ม หากที่ตรวจไข่ขึ้น 2 ขีดเข้ม เรียกว่าผลบวก หมายถึงมีโอกาสสูงมากที่ไข่จะตก
  • ที่ตรวจขึ้นขีดจาง ๆ หากที่ตรวจขึ้นขีดจาง ๆ หมายถึงคุณแม่มีโอกาสที่ไข่จกตก แต่อาจไม่สูงมาก หรือเกิดจากการที่คุณแม่ดื่มน้ำหรือของเหลวก่อนตรวจ ทำให้ปัสสาวะเจือจาง ไม่สามารถอ่านค่าฮอร์โมนลูทิไนซิงได้อย่างแม่นยำ
  • ที่ตรวจไม่ขึ้นสีเลย หากที่ตรวจไม่ขึ้นสีเลย หรือขึ้นแค่ขีดเดียว หมายถึงยังไม่มีการตกไข่ขึ้นในช่วงนี้ หรือในกรณีที่พบได้น้อยคือที่ตรวจไข่ชำรุดหรือไม่ได้คุณภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง : อยากท้องทำไงดี ทำไมถึงมีลูกยาก เคลียร์ทุกปัญหาคาใจ พร้อมวิธีแก้ไข

 

 

คำแนะนำในการใช้ที่ตรวจไข่ตก

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการใช้ที่ตรวจไข่ตก ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ที่ตรวจไข่ตกก่อน โดยมีคำแนะนำในการใช้ดังนี้

  • แม้ว่าที่ตรวจไข่ตกจะสามารถตรวจดูโอกาสในการตกไข่ได้ แต่ก็ไม่สามารถระบุวันได้ชัดเจนว่าไข่จะตกวันไหน
  • สำหรับผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปหรืออยู่ในช่วงใกล้หมดประจำเดือน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนลูทิไนซิงออกมามาก หากใช้ที่ตรวจไข่ก็อาจได้ผลลัพธ์ที่ไม่แม่นยำ
  • ที่ตรวจไข่บางยี่ห้อมีราคาที่ค่อนข้างสูง คุณแม่อาจจำเป็นต้องใช้ที่ตรวจหลายอันตรวจซ้ำในวันถัดไป อาจทำให้มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ซึ่งปกติแล้วที่ตรวจไข่แบบธรรมดาจะมีราคาประมาณ 300-800 บาท ส่วนที่ตรวจไข่แบบดิจิทัลจะมีราคาตั้งแต่ 1,500-3,000 บาท ดังนั้น คุณแม่อาจวางแผนการซื้อแต่ละครั้งเพื่อความคุ้มค่ามากที่สุด

 

แม้ว่า ที่ตรวจไข่ตก จะช่วยให้คุณแม่นับวันไข่ตกได้แม่นยำมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าคุณแม่จะตั้งครรภ์เสมอไป เพราะมีอีกหลายปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพ อาหารการกิน และจิตใจ ดังนั้น การใช้ที่ตรวจไข่ตกจึงเป็นเพียงการเริ่มต้นของการวางแผนการตั้งครรภ์เท่านั้น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องต้องรู้ อยากท้อง ไข่ตกสำคัญอย่างไร การนับวันไข่ตก

การนับประจำเดือน คืออะไร แล้วนับประจำเดือนส่งผลดีอย่างไร

อยากมีลูกต้องทำยังไง ทำอย่างไรให้มีลูกเร็วสมใจ วิธีให้ลูกติดไว ๆ

ที่มา : enfababy, bestreview, drnoithefamily

บทความโดย

Sittikorn Klanarong