อาการช่วงไข่ตก อาการไข่ตก เป็นอย่างไร นับวันตกไข่ยังไง ถึงจะมีลูก

คอลัมน์ ศุกร์กับเซ็กส์ : อัศจรรย์ วันไข่ตก โดย จารุทรรศน์ สิทธิสมบูรณ์ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) อธิบายว่า ในแต่ละเดือน ผู้หญิงจะมีไข่ตกหนึ่งใบ จากรังไข่ข้างซ้าย และขวาสลับกันไปในแต่ละเดือน อาการช่วงไข่ตก วันตกไข่จะอยู่ในช่วง 14 – 15 วัน หรือประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนที่ประจำเดือนรอบใหม่จะมา วันไข่ตก อาการ

 

อาการช่วงไข่ตก คืออะไร

อาการไข่ตก ส่วนไข่ที่ตกมาแล้ว ก็จะมารอที่ท่อนำไข่ ประมาณ 12 – 24 ชั่วโมง หากมีการดำเนินกิจกรรมทางเพศได้ทันท่วงที การปฏิสนธิเกิดขึ้น ก็จะมีการตั้งครรภ์ ในระหว่างนั้น เยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาตัวขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับไข่ที่ผสมแล้ว จะได้มาฝังตัวบนผนังมดลูก แต่ถ้าไข่ไม่ถูกผสม เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหลุดลอกออก กลายเป็น ประจำเดือน ที่ผู้หญิงอย่างเรา ๆ มีเป็นประจำทุก ๆ เดือน นั่นเอง อาการไข่ตก หรือ วันไข่ตก อาการ การนับวันตกไข่ ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าสาว ๆ ทุกคนจะเข้าใจ และนับกันได้ถูกต้องนัก อาการไข่ตก เป็นอย่างไร จะมีสัญญาณอะไรที่บอกถึง วันไข่ตก ได้บ้างหรือไม่ ?

บทความที่เกี่ยวข้อง : มีลูกยาก อยากมีลูกห้ามทำสิ่งนี้เด็ดขาด เช็กด่วนเสี่ยงหรือไม่ !

 

 

อาการไข่ตก หรือ วันไข่ตก อาการ การนับวันตกไข่ ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าสาว ๆ ทุกคนจะเข้าใจ และนับกันได้ถูกต้องนัก อาการไข่ตก เป็นอย่างไร จะมีสัญญาณอะไรที่บอกถึง วันไข่ตก ได้บ้างหรือไม่ ?

 

ทำความรู้จักกับรอบเดือน

อาการไข่ตก โดยทั่วไป รอบเดือนของผู้หญิงจะอยู่ที่ 28 – 30 วัน ในหนึ่งรอบเดือนนั้น ก็มีเพียงไม่กี่วันที่การมีเพศสัมพันธ์ จะทำให้มีการตั้งครรภ์ได้ มาดูกันว่า ในหนึ่งรอบเดือนนั้น เกิดอะไรขึ้นกับรังไข่ของเราบ้าง

 

  • วันที่ 1 – 5 วันแรกของการมีประจำเดือน นับเป็นวันที่ 1 ของรอบเดือน ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีประจำเดือนนาน 3 – 8 วัน หรือ 5 วันโดยเฉลี่ย ซึ่งวันที่ 2 มักจะเป็นวันที่ประจำเดือนมามากที่สุด
  • ช่วงวันที่ 6 – 14 หลังจากหมดระดู เยื่อบุโพรงมดลูกจะเริ่มทำงานอีกครั้ง หนาขึ้น อุดมไปด้วยเลือด และสารอาหาร เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเจริญพันธุ์
  • วันที่ 14 – 25 ในวันที่ 14 ของรอบเดือน จะเป็นวันตกไข่ (Ovulation day) โดยไข่ที่ตกลงมาจะนำตัวเองเดินทางผ่านท่อนำไข่ เพื่อไปยังมดลูก หากไข่ได้พบกับอสุจิในวันนี้ การปฏิสนธิก็จะเกิดขึ้น และไข่ก็เคลื่อนที่ไปฝังตัวบนผนังมดลูกในที่สุด
  • วันที่ 25 – 28 แต่หากการปฏิสนธิไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม ไข่ที่ไม่ได้รับการผสม ก็จะฝ่อ และหลุดร่อนออกมาพร้อม ๆ กับผนังมดลูก กลายเป็นระดู หรือประจำเดือน เป็นการเริ่มต้นรอบเดือนรอบใหม่นั่นเอง

 

รู้ได้อย่างไรว่าไข่ตก อาการตกไข่ อาการวันไข่ตก เป็นอย่างไร ?

อาการไข่ตก ในแต่ละรอบเดือน ร่างกายจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนสตรี และแสดงอาการออกมาเหมือน ๆ กัน เช่นเดียวกับที่หลาย ๆ คน รู้สึกได้ว่า ประจำเดือนกำลังจะมา การจดบันทึกรอบเดือนของตัวเองบนปฏิทิน หรือแอปพลิเคชัน ก็จะช่วยให้เข้าใจลักษณะรอบเดือนของตัวเอง และสังเกตสัญญาณของวันไข่ตกได้ชัดเจนขึ้น

การติดตามรอบเดือน ควรจะมีการบันทึก

  • วันแรก และวันสุดท้ายที่ประจำเดือนมา
  • ปริมาณของประจำเดือนในแต่ละวัน มาก หรือน้อยอย่างไร
  • อาการต่าง ๆ เช่น ท้องอืด เจ็บหน้าอก เป็นต้น
  • อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิด อ่อนไหว อยากอาหารบางอย่างมาก ๆ เป็นต้น

2 – 3 เดือนของการจดบันทึก จะทำให้ทราบว่ารอบเดือนของตัวเองนั้นเป็นอย่างไรบ้าง สัญญาณของวันไข่ตก และอาการก่อน – หลังการมีประจำเดือน หากรอบเดือนมีความสม่ำเสมอ โดยมีระยะเวลา 21 – 35 วัน การตกไข่จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

นอกจากการจดบันทึกแล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่จะช่วยชี้ชัดวันไข่ตกให้แน่ชัดมากขึ้น นั่นคือ การวัดอุณหภูมิร่างกายขณะที่พักได้เต็มที่ การสังเกตลักษณะมูกช่องคลอด และการใช้เครื่องมือเข้าช่วยอย่างเช่น ชุดทดสอบการตกไข่

 

 

 

ช่วงไข่สุก ก่อนวันไข่ตก โอกาสตั้งครรภ์สูง

5 วันก่อนวันไข่ตก ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มมากขึ้น ไข่ที่สุกแล้ว จะเคลื่อนตัวออกจากรังไข่ ไปสู่ปลายท่อนำไข่ เพื่อรอการปฏิสนธิ เรียกว่า ช่วงไข่สุก (fertile window) นั่นหมายความว่า ในช่วงเวลา 5 วันนี้ ก็มีโอกาสที่จะเกิดการปฏิสนธิของไข่ และอสุจิ ประมาณร้อยละ 10 และยิ่งใกล้วันไข่ตกมากเท่าไหร่ โอกาสในการตั้งครรภ์จะเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 33

 

มูกช่องคลอด หรือมูกไข่ตก ดูอย่างไร ?

ลักษณะของเมือกบริเวณช่องคลอด หรือมูกช่องคลอด จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในระหว่างรอบเดือน โดยในช่วงเวลาปกติมูกบริเวณช่องคลอดจะมีลักษณะเหนียว และมีสีขุ่น ๆ หากแต่ในช่วงเวลาที่มีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุด มูกช่องคลอด หรือมูกไข่ตกจะออกมามาก มีสีใส และมีความหนืด คล้ายกับไข่ขาวดิบ ให้ลองสังเกต และจดบันทึกลักษณะของมูกช่องคลอดในวันที่ 13 – 15 ของรอบเดือน

 

การใช้ชุดทดสอบการตกไข่

วิธีสังเกตอาการตกไข่ เพื่อมีเพศสัมพันธ์นั้น จะได้ผลดีกับผู้หญิงที่รอบเดือนมาสม่ำเสมอตรงกันทุกเดือน ดังนั้น ถ้าต้องการกำหนดช่วงเวลาการมีเพศสัมพันธ์ให้ตรงกับช่วงตกไข่ เพิ่มโอกาสมีลูก ควรใช้ชุดตรวจการตกไข่ โดยจะเป็นการตรวจหาฮอร์โมน (Luteinizing Hormone, LH ) ในปัสสาวะ 24 – 48 ชั่วโมง ก่อนการตกของไข่ ฮอร์โมน LH จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

วัดอุณหภูมิร่างกายในช่วงเวลาไข่ตก

หลังจากที่ไข่ตก อุณหภูมิร่างกายของผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 0.5 องศาเซลเซียส หากร่างกายปกติสามารถวัดได้ที่ 36.2 – 36.5 องศา ในระยะไข่ตกนี้อุณหภูมิของร่างกายจะอยู่ที่ 36.7 – 37.1 องศาเซลเซียส ไปจนกว่าจะถึงวันแรกของการมีประจำเดือน วิธีการนี้เป็นการวัดอุณหภูมิขณะที่ร่างกายมีการพักผ่อนอย่างเต็มที่ จะต้องนอนหลับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง และวัดทันทีหลังจากตื่นนอน เป็นประจำทุกวัน

 

 

สรุป อาการตกไข่ ผู้หญิงรู้สึกอย่างไร ?

ร่างกายของผู้หญิงแต่ละคนจะมีการเปลี่ยนแปลงที่รับรู้ได้ต่างกัน ร่างกายที่มีความสมดุลมาก อาจจะไม่แสดงอาการอะไรออกมาเลยก็ได้ ในขณะที่บางคนอาจจะมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้

 

  1. การเปลี่ยนแปลงของมูกช่องคลอด มีมูกใสคล้ายไข่ขาวดิบออกมาบริเวณช่องคลอด บางคนอาจมีเลือดปนเล็กน้อย
  2. ระคายเคืองอวัยวะเพศ หรือมีกลิ่น
  3. อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนไป ร้อน ๆ หนาว ๆ ยิ่งหลังจากไข่ตก อุณหภูมิของร่างกายอาจจะสูงขึ้น หรือลดลงฉับพลัน การจดบันทึกอุณหภูมิของร่างกายต้องทำติดต่อกันสัก 2 – 3 เดือน ก็จะพอทราบได้ว่า เป็นอาการของวันไข่ตกหรือเปล่า
  4. การเปลี่ยนแปลงของช่องคลอด มีความรู้สึก นุ่ม หรือเปียกชื้น มากขึ้น
  5. มีเลือดออกเพียงเล็กน้อย
  6. ปวดท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง
  7. ท้องอืด
  8. หน้าอกคัดตึง เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงมีการเปลี่ยนแปลง
  9. บางคนมีประสาทสัมผัสไวขึ้น รับรู้กลิ่น รับรสได้ไว และชัดเจน จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

5 อาการบอกว่าคุณกำลังไข่ตก โทรเรียกคุณสามีให้ไว

อยากสเปิร์มแข็งแรงต้องไม่ทำลายลูกอ๊อด บอกสามีเลี่ยงกิจกรรมเหล่านี้ รับรองมีลูกสมใจ

มีลูกยาก อยากมีลูก ต้องรู้วิธีช่วยให้มีลูกน้อยได้สมใจ ด้วยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธ์

ที่มา : AnamaiMedia, Bangpakok Hospital Samut Prakan

บทความโดย

Tulya