การบริจาคอวัยวะ การให้ที่ยิ่งใหญ่ ต่อลมหายใจได้มากถึง 8 ชีวิต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มีใครเคยคิดเรื่องการบริจาคอวัยวะบ้างมั้ยคะ… การบริจาคอวัยวะ เรียกได้ว่าเป็นการให้ ที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ อย่างหนึ่ง เพราะหากวันใดวันนึง ที่เราไม่สามารถอยู่บนโลกใบนี้ได้อีก แล้วเราได้ทำการบริจาคอวัยวะไว้ ร่างกายของเรา อวัยวะต่าง ๆ ของเรา จะถูกนำไปใช้ต่อ และสามารถต่อชีวิตให้คนอื่น ๆ ที่ต้องการมันได้ เมื่อชีวิตของเราถึงวันต้องดับลง การให้ทาน ให้ผู้อื่นได้มีชีวิตต่อไป ก็นับว่าเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ ที่ไม่สามารถทำที่ไหนได้เลยนะคะ

 

การบริจาคอวัยวะ ทำไมถึงต้องบริจาค ?

 

ทำไมถึงต้องบริจาคอวัยวะ ??

หลายคนอาจจะเคยได้ยินการ ”บริจาคอวัยวะ” โดยปกติ ตามโรงพยาบาลทั่วไป จะมีผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่รอรับ การบริจาคอวัยวะที่สำคัญ อยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากอวัยวะนั้น ไม่สามารถทำงานได้ปกติ เช่น หัวใจ ปอด ตับ ไต ดวงตา ฯลฯ

 

การปลูกถ่ายอวัยวะใหม่ เป็นวิธีรักษาทางการแพทย์ที่ดีที่สุด แต่ยังไม่ได้รับความนิยมในคนหมู่มาก ในปัจจุบัน ผู้คนได้รับรู้ และเล็งเห็นประโยชน์ ที่ได้รับจากการบริจาคมากขึ้น ว่าสามารถต่อชีวิต ได้อีกหลายชีวิต หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การปลูกถ่ายอวัยวะ ไม่ใช่เรื่องใหม่ของสังคมไทย แต่การรับรู้ เรื่องบริจาคอวัยวะ ยังมีความเชื่อบางอย่าง ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจอยู่มาก การบริจาคอวัยวะจะเป็นไปตามความสมัครใจของผู้บริจาค โดยผู้ที่สนใจจะบริจาค จะต้องทำการลงทะเบียน เพื่อแจ้งความประสงค์

 

การบริจาคอวัยวะ การให้ที่ยิ่งใหญ่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อยากบริจาคอวัยวะ ต้องเตรียมตัวยังไง ?

ขั้นตอนการเตรียมตัว ไม่ยุ่งยาก เพราะการบริจาคอวัยวะ เป็นเพียงการแสดงความจำนง ยินยอมให้นำอวัยวะ ไปปลูกถ่ายได้ เมื่อเราถูกวินิจฉัยว่าอยู่ในสภาวะสมองตาย แล้วเท่านั้น จึงจะถูกจำไปตรวจ ว่าสามารถนำอวัยวะไปใช้ได้หรือไม่ ขั้นตอนในการเตรียมตัวจึงมีไม่กี่ขั้นตอน ดังนี้

 

การตรวจสุขภาพขั้นต้น ต้องมีความแข็งแรง และไม่ป่วยเป็นโรคร้ายแรง โรคติดเชื้อ หรือโรคเรื้อรัง

แจ้งคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือคนใกล้ชิด ควรมีคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดรับทราบ ว่าเราได้ทำการแจ้งความจำนง บริจาคอวัยวะเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ง่ายต่อการประสานงานในภายหน้า

ติดต่อหน่วยงานเพื่อสอบถามข้อมูล หากมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูล ควรสอบถามให้แน่ชัด เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ในกระบวนการต่าง ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การบริจาคอวัยวะ เตรียมตัวอย่างไร ?

 

อวัยวะใดที่สามารถบริจาคได้บ้าง

อวัยวะที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ 

  • ไต 2 ข้าง
  • ปอด 2 ข้าง
  • หัวใจ
  • ตับ
  • ตับอ่อน 

นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ ลิ้นหัวใจ หลอดเลือด ผิวหนัง กระดูก เส้นเอ็น และ กระจกตา

 

ขั้นตอนในการบริจาคอวัยวะ

การบริจาคอวัยวะ สามารถแจ้งความจำนง ในการบริจาคอวัยวะ ได้ที่ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ยกเว้นการบริจาคดวงตา ที่ต้องบริจาคที่ธนาคารดวงตาสภากาชาดไทย ขั้นตอนในการบริจาคอวัยวะ มีดังนี้

 

  1. ดาวน์โหลดใบสมัคร แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ ได้ที่เว็บไซต์ของสภากาชาตไทย จากนั้นกรอกแบบฟอร์ม ใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ ให้เรียบร้อย ถ้าไม่สะดวกเดินทางมาด้วยตนเอง ผู้บนิจากสามารถส่งไปรษณีย์มาที่ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย หรือสามารถบริจาคออนไลน์ เว็บไซต์ www.organdonate.th.th หรือ แอปพลิเคชัน “บริจาคอวัยวะ" 
  1.   เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารแสดงความจำนง เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้อง ของเอกสาร จากนั้นทางศูนย์รับบริจาค จะส่งบัตรประจำตัวผู้บริจาค ไปให้ตามที่อยู่ที่ได้ระบุไว้
  2.   ตรวจสอบความถูกต้องและเก็บบัตรไว้ หรือมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้รีบติดต่อทางหน่วยงานรับบริจาค อย่าลืมกรอกชื่อ และรายละเอียดการบริจาค ลงในบัตรที่ได้รับ 
  3.   เก็บบัตรประจำตัวไว้ที่ตัว หากทำหาย ให้แจ้งทางศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย 
  4.   แจ้งสมาชิกในครอบครัวหรือญาติใกล้ชิดให้รับทราบ

 

การบริจาคอวัยวะ ที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คนทั่วไปสามารถบริจาคอวัยวะได้หรือไม่ ?

เนื่องจากอวัยวะที่บริจาค จะต้องมีสภาพสมบูรณ์ มากที่สุด ทางศูนย์รับบริจาค สภากาชาดไทย จึงได้มีกฎเกณฑ์ ในการรับบริจาคอวัยวะ และคุณสมบัติของผู้บริจาค ดังนี้

  • ผู้บริจาคต้องมีอายุต่ำกว่า 60 ปี
  • ผู้บริจาคต้องเสียชีวิตจากภาวะสมองตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ
  • ผู้บริจาคต้องไม่ป่วยเป็นโรคติดเชื้อหรือมะเร็งชนิดต่าง ๆ
  • ผู้บริจาคต้องไม่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคไต หรือ โรคพิษสุราเรื้อรัง 
  • ผู้บริจาคต้องปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี ไวรัสเอดส์ ฯลฯ และ อวัยวะของผู้บริจาคต้องทำงานได้อย่างสมบูรณ์

 

อวัยวะของผู้บริจาค จะถูกนำออกจากร่างกาย ก็ต่อเมื่อ แพทย์ได้ทำการวินิจฉัย ว่าผู้ป่วย อยู่ในสภาวะสมองตาย หรือถ้าเป็นดวงตา จะสามารถผ่าตัด นำออกมาจากร่างกาย หลังผู้บริจาคได้เสียชีวิตแล้ว แต่ในสำหรับบางกรณี ก็สามารถผ่าตัดนำออกได้ แต่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว ว่าปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ใครที่สนใจจะบริจาค ควรศึกษาวิธีการ ขั้นตอน และข้อควรรู้ต่าง ๆ ก่อนบริจาค

 

ที่มาของข้อมูล : 1

บทความที่เกี่ยวข้อง :

บริจาคร่างกาย ขั้นตอนสู่การเป็น "อาจารย์ใหญ่" ผู้ให้ กับกุศลอันยิ่งใหญ่

บริจาคอวัยวะกับบริจาคร่างกาย ต่างกันยังไง มีวิธีการ ขั้นตอนยังไงบ้าง ?

การบริจาคเลือด ข้อควรรู้ ควรเตรียมตัว และตรียมใจยังไงไปบ้าง

 

บทความโดย

Waristha Chaithongdee