เป็นเพราะอากาศร้อน ๆ ของประเทศไทย ทำให้พ่อแม่มือใหม่ มักจะเป็นกังวล ว่าลูกของตัวเองจะร้อน จะไม่สบายตัวหรือไม่ บางคนใช้วิธีเปิดเครื่องปรับอากาศอยู่ตลอดเวลาภายในบ้าน และบางบ้านก็ใช้วิธี เปิดพัดลมจ่อลูก แต่วิธีนี้ ทำให้พ่อแม่หลาย ๆ คนเกิดข้อสงสัยว่าหากเรา เปิดพัดลมจ่อลูก จะมีผลทำให้ทารกเกิดอาการปอดอักเสบได้จริงหรือไม่ วันนี้เราจึงจะมาไขข้อสงสัยนี้กันค่ะ
กรณีที่มีคุณแม่ท่านหนึ่งได้เล่าถึงอุทาหรณ์ ในการ เปิดพัดลมจ่อลูก ทำให้ทารกเกิดอาการปอดอักเสบ หวัดลงปอด เพียงเพราะเห็นว่าลูกร้อน เหงื่อแตกเต็มหลัง ตื่นมาหัวเปียก จริง ๆ แม่แค่อยากให้ลูกหายร้อน โดยคุณแม่ได้โพสต์ข้อความว่า “มาบอกไว้ให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนดูน้องไว้ดี ๆ พัดลมไอเย็น ปอดบวม”
การเปิดพัดลมจ่อ ทำให้เกิดผลอย่างไรได้บ้าง
เปิดพัดลมจ่อลูก
ส่วนตัวน้องเป็นเด็กแข็งแรงมากไม่เคยป่วยเลยสักครั้ง ครั้งนี้น้องป่วยเพราะหวัดลงปอด และปอดอักเสบ สาเหตุมาจากที่เอาพัดลมจ่อน้องมากไป เพราะคิดว่าน้องร้อนนอนเหงื่อแตกเต็มหลัง ทำให้น้องเป็นหวัด และมีไข้ ตอนแรกคิดว่าเป็นไข้ปกติเลยลองพามาหาหมอ เพราะสองวันแล้วน้องยังไม่หาย เลยตรวจเจอว่าเป็นหวัดลงปอด วันนี้หวัด และไข้หายแล้ว แต่น้องก็เป็นปอดบวมต่อ ผลมาจากหวัด และไข้ น้องต้องคอยพ่นยาตลอด 3 วันที่นอนมาโรงพยาบาล และดูดเสมหะตลอด ทำให้อาการดีขึ้นมา เช้านี้หมอตรวจว่า ปอดบวมหายแล้ว แต่ยังหายใจผิดปกติเลยต้องได้นอนต่อเป็นวันที่ 3 ต้องนอนพ่นยาอีก
เปิดพัดลมจ่อลูก
ซึ่งหลังจากเรื่องราวนี้ได้เผยแพร่ออกไป ทางสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลนี้อย่างแน่ชัดและได้ออกมาชี้แจงว่า การเปิดพัดลมจ่อหัว แล้วจะทำให้ลูกเป็นโรคปอดอักเสบ นั้นไม่เป็นความจริง
โดยแท้จริงแล้วสาเหตุหลักมาจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย ประกอบไปด้วย เชื้อแบคทีเรียอย่าง อนิวโมคอคคัส เชื้อฮิบ หรือเชื้อไมโครพลาสมา ส่วนเชื้อไวรัสที่พบบ่อย คือ เชื้อ RSV ไข้หวัดใหญ่ อะดีโนไวรัส ไวรัสพาราอินฟลูเอนซา เป็นต้น
โดยสามารถติดต่อได้หลายทาง ตั้งแต่การหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอดโดยตรง จากการสำลักอาหาร ตามกระแสเลือด หรือแพร่ผ่านจากมือคนที่มีสารคัดหลั่งจากเชื้อโรคปะปนอยู่ไปสู่อีกคน
โรคนี้พบบ่อยทั้งในผู้สูงอายุและเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก เด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด มีโรคหัวใจ มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือมีภาวะขาดอาหาร
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสาเหตุของโรคปอดอักเสบจะมาจากเชื้อไวรัส ก็ไม่ควรให้ลูกถอดเสื้อนอน หรือจ่อพัดลมมากไป โดยทางคุณหมอก็แนะนำว่า “ไม่ควรให้ลูกถอดเสื้อนอน พัดลมไอเย็น ปอดบวม หรือจ่อพัดลมมากเกินไป หากคิดว่าลูกร้อนให้เปิดพัดลมแบบส่ายจะดีกว่า”
เปิดพัดลมจ่อลูก
โรคปอดอักเสบ คืออะไร
โรคปอดอักเสบ หรือปอดบวม คือ โรคที่มีการอักเสบของเนื้อปอด ซึ่งประกอบไปด้วย หลอดลมส่วนปลาย ถุงลม รวมถึงเนื้อเยื่อของปอด เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก และมักจะมีอาการรุนแรงกว่าในผู้ใหญ่
9 เทคนิดดูแลลูกขี้ร้อน ให้สบายตัว
- เปิดพัดลมแบบส่ายไป-มา เพื่อให้เกิดการกระจายของลม และอากาศรอบข้าง
- ไม่เปิดพัดลมจ่อไปที่ตัวเด็กเป็นเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของเด็กได้
- ใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนาจนเกินไป เน้นความเบาสบาย ระบายอากาศได้ดี
- ให้อาบน้ำที่มีอุณหภูมิเดียวกับห้องก่อนเข้านอน จะช่วยให้เด็กหลับได้สบายยิ่งขึ้น หรือหากวันไหนอากาศร้อนมาก สามารถอาบน้ำให้เด็กได้ วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย
- ให้ลูกดื่มนม หรือดื่มน้ำมากยิ่งขึ้น เมื่อลูกมีอายุ 6 เดือนขึ้นไปแล้ว เพื่อจะสามารถปรับสมดุลย์น้ำในร่างกาย เพราะเด็ก จะสูญเสียน้ำในร่างกายได้มากกว่าผู้ใหญ่ที่มีเหงื่อมาก
- เปิดหน้าต่างระบายอากาศ เพื่อให้อากาศถ่ายเท หรือเปิดพัดลมระบายอากาศในกรณีที่ไม่มีหน้าต่างในบริเวณนั้น ๆ
- เปิดแอร์อุณหภูมิ 25 – 27 องศาเซลเซียส และควรสวมใส่เสื้อผ้าให้อบอุ่น
- เช็ดตัวด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิของห้อง ตามบริเวณข้อพับ หรือซอกต่าง ๆ ของร่างกาย สามารถช่วยลดอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นภายในร่างกายได้
- ไม่แนะนำให้ใช้แป้งโรยตัวเด็ก โดยเฉพาะแป้งเย็น เพราะนอกจากจะทำให้เกิดการสูดดมเข้าสู่ร่างกายแล้ว แป้งเย็นยังมีปฏิกิริยาที่รุนแรงต่อผิวหนังเด็ก
ทำไมลูกยังเหงื่อออกทั้งที่เปิดแอร์ให้
บางครอบครัวมักจะเป็นกังวล เวลาเห็นลูกมีอาการเหงื่อออก เพราะกลัวว่าเด็กนั้นจะรู้สึกไม่สบายตัว จึงเปิดแอร์ให้อยู่ตลอดเวลา แต่เด็กบางคน ขนาดเปิดแอร์ให้แล้วก็ตาม ก็ยังมีเหงื่อออกมาให้เห็น นั่นเป็นเพราะสาเหตุอะไร ลูกเป็นคนขี้ร้อนหรือไม่ งั้นไม่ควรห่มผ้าให้ลูกดีหรือเปล่า หรือลูกมีความเสี่ยงเป็นโรคใดได้บ้าง?
พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบีเอ็นเอช ได้อธิบายสาเหตุของเด็กเล็กนอนห้องแอร์แต่ยังคงมีเหงื่อออกว่า “เด็กต้องการพลังงานเทียบกับน้ำหนักตัวสูงกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโต และสร้างเนื้อเยื่อ อวัยวะต่าง ๆ จึงต้องการใช้พลังงานสูงมาก ในขณะที่ผู้ใหญ่ ต้องการพลังงานเพื่อการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอเท่านั้น จึงเป็นสาเหตุให้เด็กเล็กเกิดเหงื่อได้ง่ายกว่าปกติ”
แต่การที่ทารกมีเหงื่อออกมากว่าปกตินั้น ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ โรคธัยรอยด์เป็นพิษ แต่จำเป็นจะต้องมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น การเต้นผิดปกติของหัวใจ มีอาการเหนื่อยขณะดูดนม การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ เป็นต้น
ทั้งนี้ตัวคุณหมอเองยังแนะนำให้เลี้ยงเด็กเล็ก อยู่ในพื้นที่ ที่มีอากาศถ่ายเท และใส่เสื้อผ้าที่สามารถระบายความร้อนได้ง่ายมากกว่า และไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ให้ลูกอยู่ตลอดเวลา เพราะการฝึกให้ร่างกายของเด็ก รู้จักการระบายความร้อน โดยการให้ต่อมเหงื่อทำงานขับของเสียออกทางผิวหนัง เป็นสิ่งที่ดี และทำให้เด็ก มีร่างกายที่แข็งแรงอีกด้วย
ทั้งนี้ เมื่อรู้สึกว่าลูกมีไข้ ไอ หายใจแรง แม่ ๆ อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบพาไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างละเอียดค่ะ
Source: kidshealth, Anti-Fakenews Center Thailand
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
5 เดือนแล้วลูก หนูมีพัฒนาการอะไรบ้าง แม่อย่าลืมเสริมพัฒนาการ ให้ทารกเรียนรู้เร็วด้วยนะ
สุดสงสาร ทารกเกิดมาพร้อมโรคประหลาด แม่กลุ้มใจไม่มีเงินรักษา
หลอดลมอักเสบ เพราะบุหรี่ที่พ่อสูบ ทุกมวนของพ่อ ส่งผลให้ลูกป่วยนะรู้ไหม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!