TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อย่าปล่อยให้ลูกของคุณตกเป็นเหยื่อ: แนวทางป้องกันเด็กถูก คุกคามทางเพศ ออนไลน์

22 Feb, 2024
อย่าปล่อยให้ลูกของคุณตกเป็นเหยื่อ: แนวทางป้องกันเด็กถูก คุกคามทางเพศ ออนไลน์

ในยุคปัจจุบัน เด็กๆ ใช้เวลากับโลกออนไลน์มากขึ้น สิ่งนี้แม้จะเปิดโอกาสให้พวกเขาเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แต่ก็แฝงไว้ด้วยอันตราย ภัยคุกคามทางเพศก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่พ่อแม่ต้องกังวล หลายคนอาจไม่ทราบว่าเด็ก ๆ เผชิญกับอะไรบ้างบนโลกออนไลน์ บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึง ภัยออนไลน์ “คุกคามทางเพศ” เพื่อที่จะได้ปกป้องลูกหลานของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า รูปแบบของภัยคุกคามทางเพศในสื่อออนไลน์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งประกอบไปด้วย

ประเภทของภัยออนไลน์ล่วงละเมิดทางเพศ

 

คุกคามทางเพศ

 

  • การล่อลวงทางออนไลน์ (Grooming)

ผู้ไม่ประสงค์ดีจะสร้างความคุ้นเคย สร้างความไว้วางใจ และโน้มน้าวให้เด็กส่งข้อมูลส่วนตัวหรือภาพลับ เพื่อนำไปแบล็กเมล์หรือล่วงละเมิดทางเพศ

 

  • การล่วงละเมิดทางเพศทางออนไลน์ (Online Sexual Abuse)

เด็กอาจถูกข่มขู่ คุกคาม หรือบังคับให้ทำกิจกรรมทางเพศผ่านกล้องวิดีโอ หรือถูกส่งข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอที่มีเนื้อหาทางเพศ

 

  • การค้าประเวณีเด็กออนไลน์ (Online Child Sex Trafficking)

เด็กอาจถูกหลอกลวงหรือบังคับให้ค้าประเวณีผ่านช่องทางออนไลน์

 

อันตรายแฝงในโลกออนไลน์: ภัยคุกคามต่อเด็กไทย

ในปัจจุบัน เด็ก ๆ ทั่วโลกสามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ง่ายขึ้นกว่าที่เคย ส่งผลให้การ คุกคามทางเพศ ออนไลน์กลายเป็นปัญหาที่พบบ่อยและน่ากังวล เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทาง NGO องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิเด็กที่มีฐานอยู่ในเฮลซิงกิ ได้เผยผลวิจัยจากประเทศฟินแลนด์ ซึ่งได้ตอกย้ำอันตรายบนโลกออนไลน์ให้เราเห็นกันได้อย่างชัดเจน จากผลสำรวจที่ทำแบบสอบถามกับเด็กผู้ใช้สื่อออนไลน์จำนวนกว่า 30,000 คน พบว่า เด็กถึง 70% เคยถูกคุกคามทางเพศและถูกล่วงละเมิดทางเพศ

 

คุกคามทางเพศ

 

ซึ่งตัวผู้ละเมิดเผยว่ามักใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ไลน์ ฯลฯ หรือ เกมออนไลน์ ในการ คุกคามทางเพศ กับเด็ก ๆ หนึ่งในสาเหตุหลักนั้นมาจาก แอปพลิเคชั่นเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องใช้การยืนยันตัวจริงของผู้ใช้อย่างเข้มงวด  ซึ่งทำให้การตามตัวผู้ละเมิดนั้นอาจจะยากกว่าปกติ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาใหญ่ที่น่าตกใจ

บาดแผลในจิตใจเด็ก ๆ ที่ไม่มีวันลืม

ประสบการณ์เลวร้ายเหล่านี้ในวัยเด็ก เปรียบเสมือนเงาตามตัวที่ฝังลึกในจิตใจ ส่งผลต่อความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของเด็ก ๆ ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งทางผลวิจัยจากประเทศฟินแลนด์ยังได้เผยความรู้สึกของ เด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ  

 

คุกคามทางเพศ

“ถูกถ่ายทั้งรูปและวิดีโอ และรูปภาพเหล่านั้นยังถูกส่งต่อให้ผู้อื่นอีกด้วย และในบางครั้งรูปภาพเหล่านั้นถูกตัดต่อให้ไปในทางที่อนาจารอีกด้วย”

 

คุกคามทางเพศ

“ถูกบังคับให้ถ่ายรูปตนเองตอนโป๊แล้วส่งให้คนในเกมออนไลน์ ถ้าทำถูกใจเขาก็จะได้ไอเทมในเกมที่หายากได้”

 

อย่าปล่อยให้ลูกของคุณตกเป็นเหยื่อ: แนวทางป้องกันเด็กถูก คุกคามทางเพศ ออนไลน์

“ถูกติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งแต่ละข้อความเป็นการคุกคามทางเพศอย่างรุนแรง บางคนถึงกับส่งรูปตนเองตอนโป๊มาให้ดู ทางเดียวที่จะได้เห็นหน้าผู้ละเมิดเหล่านี้คือช่องทางเว็บที่ชื่อ Omegle”

 

สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ว่าลูกถูก คุกคามทางเพศ หรือไม่?

สัญญาณเตือนอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าลูกของคุณอาจกำลังตกอยู่ในอันตรายจากปัญหาการคุกคามทางเพศออนไลน์

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
  • เด็กใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัลมากขึ้น ปิดบังหน้าจอเมื่อมีคนอยู่ใกล้
  • มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น เก็บตัว ซึมเศร้า โมโหร้าย
  • มีเงินหรือสิ่งของมาใหม่โดยไม่ทราบที่มา
  • พูดถึงเรื่องเพศหรือความสัมพันธ์ในลักษณะที่ไม่เหมาะสม

 

วิธีสอนลูกให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากการถูก คุกคามทางเพศ ในโลกออนไลน์

  • พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับโลกออนไลน์

ในเคสของประเทศไทย จากรายงาน “หยุดยั้งอันตรายในประเทศไทย” เผยให้เห็นภาพน่าตกใจว่า เด็กไทยจำนวนมากที่ถูกคุกคามทางเพศทางออนไลน์ ไม่รู้ว่าจะต้องแจ้งความหรือขอความช่วยเหลือจากที่ใด โดยมีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ไปแจ้งความ น่าเศร้าที่เด็กหลายคนโทษตัวเอง คิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของตัวเอง ซึ่งรายงานนี้ยังชี้ประเด็นสำคัญว่า ผู้ก่อเหตุมักเป็นคนที่เด็กรู้จักอยู่แล้ว

เพราะฉะนั้นผู้ปกครองจึงควรพูดคุยกับเด็ก ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ สร้างความรู้ความเข้าใจให้เด็กเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ สอนให้เด็กรู้จักวิธีป้องกันตัวเองและรู้ว่าควรทำอย่างไรเมื่อเผชิญกับการคุกคามทางเพศออนไลน์ 

บทความที่เกี่ยวข้อง: สอนลูกให้ระวังการล่วงละเมิดทางเพศ

 

  • สอนให้รู้จักร่างกายตัวเอง

คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายว่าร่างกายของลูกเป็นของลูก และสอนให้ลูกรู้จักปฏิเสธเมื่อมีใครพยายามสัมผัสร่างกายโดยไม่ได้รับอนุญาต  

 

  • ติดตั้งโปรแกรมควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ต

โดยโปรแกรมเหล่านี้จะควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ต ช่วยให้ผู้ปกครองสามารถจำกัดเนื้อหาที่เด็กสามารถเข้าถึงบนโลกออนไลน์ ป้องกันเด็กจากอันตรายต่าง ๆ เช่น การล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ และเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมได้อีกด้วย

 

แนวทางการแก้ไขปัญหา เด็กถูก คุกคามทางเพศ ในโลกออนไลน์

จากผลการวิจัยที่น่าตกใจ NGO องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิเด็ก ได้เผยแนะแนวทางปฏิบัติสำคัญ ดังนี้

  • ออกแบบแพลตฟอร์มออนไลน์โดยคำนึงถึงสิทธิเด็กเป็นสำคัญ สร้างระบบและนโยบายที่ปกป้องเด็กตั้งแต่การออกแบบ
  • การปรับปรุงประสิทธิภาพในการตรวจจับและลบเนื้อหา CSAM หรือเรียกอีกอย่าง ว่าสื่อลามกอนาจารเด็ก หมายถึง การนำเสนอกิจกรรมทางเพศอย่าง
    โจ่งแจ้งที่มีเด็กเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นในสถานการณ์จริงและในสถานการณ์จำลองขึ้นมาเฉย ๆ หรือการนำเสนออวัยวะเพศของเด็กโดยมีจุดประสงค์ทางเพศก็ตาม ไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตามโดยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและลบเนื้อหาที่ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก 
  • ยืนยันกระบวนการยืนยันอายุที่เข้มงวด ป้องกันไม่ให้ผู้ไม่บรรลุนิติภาวะเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม
  • ป้องกันและลดการก่อเหตุ รณรงค์สร้างจิตสำนึก รวมถึงออกกฎหมายและบทลงโทษที่เข้มงวด

 

โดยสรุปแล้ว การ คุกคามทางเพศออนไลน์ส่งผลกระทบต่อเด็กทั่วโลก การเผยแพร่ผลวิจัยขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิเด็ก จากประเทศฟินแลนด์ ชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่เด็ก ๆ ต้องเผชิญ และเน้นย้ำความสำคัญของการดำเนินการอย่างเร่งด่วน การปกป้องเด็กจากการล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ ไม่ใช่แค่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ร่วมกันของทุกคน การสร้างความตระหนัก รณรงค์สร้างจิตสำนึก และการดำเนินการตามแนวทางที่เสนอ จะช่วยสร้างโลกออนไลน์ที่ปลอดภัย ให้เด็ก ๆ สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยปราศจากความกังวลและอันตราย

 

ที่มา: Suojellaan Lapsia: Protect Children, theactive.net, Department of Children and Youth

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

samita

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • อย่าปล่อยให้ลูกของคุณตกเป็นเหยื่อ: แนวทางป้องกันเด็กถูก คุกคามทางเพศ ออนไลน์
แชร์ :
  • เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

    เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

  • ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

    ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

  • คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

    คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

  • เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

    เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

  • ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

    ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

  • คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

    คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว