X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) กับ วิธีสังเกตอาการด้วยตัวเอง!

บทความ 5 นาที
ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) กับ วิธีสังเกตอาการด้วยตัวเอง!

 ไส้ติ่งอักเสบ นับเป็นโรคปวดท้องเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุด สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย พบมากถึง 7% ของประชากร โดยส่วนใหญ่จะพบมากในช่วงอายุ 12 – 60 ปี หรือในบางครั้งคนที่อายุน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ก็พบได้เช่นกัน ในทางการแพทย์มักบอกต่อกันว่าเป็นโรคที่ควรระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจมีอาการได้หลายแบบ และมีหลายครั้งที่มีการเสียเชียเพราะโรคนี้ด้วยเช่นกัน

บทความน่าสนใจ ยารักษาโรคกระเพาะ รักษาอาการปวดท้องเหตุจากโรคกระเพาะอาหาร

 

ไส้ติ่ง เป็นอวัยวะที่น้อยคนนักจะรู้ว่าทำหน้าที่อะไร ซึ่งไส้ติ่งมีหน้าที่สะสมแบคทีเรียที่ใช้ในกระบวนการย่อยอาหาร เพราะอวัยวะนี้จะเป็นท่อปลายปิดที่ต่อมาจากลำไส้ส่วนต้น หากเกิดการอุดตันจะทำให้เกิดการปวดท้องฉับพลัน

ยกตัวอย่างกรณีล่าสุดที่มีเด็ชายวัย 12 ปี เสียชีวิตเนื่องจากไส้ติ่งแตกและติดเชื้อ โดยเหตุการณ์เพิ่งผ่านมาเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 29 พ.ค. 65 ที่ผ่านมา โดยเด็กชายมีอาการปวดท้องพร้อมได้รับอาการวินิจฉัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ จึงได้ส่งตัวไปผ่าตัด แต่กลับต้องรอจนเสียชีวิตด้วยสาเหตุใส้ติ่งแตกและติดเชื้อ ก่อนที่โรงพยาบาลจะออกมาชี้แจงในภายหลังด้วยความล่าช้า

อาการไส้ติ่งอักเสบ มีอาการแสดงระยะแรกของโรคได้ใกล้เคียงกับอาการปวดท้องเฉียบพลันอื่น ทำให้บ่อยครั้งผู้ป่วยอาจได้รับการวินิจฉัยที่ล่าช้า มีภาวะแทรกซ้อนจนเกิดอันตรายมากขึ้นได้ การพบแพทย์เฉพาะทางตั้งแต่ระยะแรก และตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อแยกโรคจากอาการปวดท้องื่น จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที

 

ไส้ติ่งอักเสบ

 

หลายคนอาจสงสัย ทำไมไส้ติ่งที่ดูเหมือนจะเป็นอวัยวะที่แทบไม่ได้ทำหน้าที่ใดแบบนี้ จะเกิดการอักเสบได้อย่างไร แล้วถ้าหามีอาการปวดท้องจะรู้ได้อย่างไรว่าควรผ่าตัด วันนี้เรามาหาคำตอบกัน

 

รู้จักกับ “ไส้ติ่งอักเสบ”

ไส้ติ่ง มีลักษณะเป็นท่อตันที่แยกจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้น โดยตำแหน่งจะอยู่บริเวณท้องน้อยด้านขวา ไส้ติ่งอักเสบ เป็นผลมาจากการอุดตัน อาจเกิดจากอาหารที่กินเข้าไปกลายเป็นอุจจาระแข็งตัว หรือภาวะต่อมน้ำเหลืองโต ทำให้แรงดันในไส้ติ่งสูงขึ้น มีการสะสมของแบคทีเรียและเกิดการอักเสบในที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ความรุนแรงจะมากขึ้นจนผนังไส้ติ่งเกิดการเน่าและแตก ส่งผลให้เป็นอันตรายถึงชีวิต

 

อาการบ่งบอกว่าเป็น ไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่งอักเสบ ช่วงแรกจะเหมือนปวดท้องทั่วไป บอกตำแหน่งแน่นอนไม่ได้ บางคนมีอาการท้องเสีย รวมไปถึงมีอาการปวดรอบสะดือตลอดเวลา ต่อมาจะเริ่มปวดบริเวณด้านล่างขวาขึ้นชัดเจน (แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจจะปวดบริเวณนี้เลยตั้งแต่แรก) การกินยารักษาตามอาการไม่ทำให้หายได้ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเดินตัวงอ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ไส้ติ่งสัมผัสโดนกับหน้าท้อง เพื่อบรรเทาอาการปวด โดยอาการจะแบ่งออกเป็นตามระยะของโรค ได้แก่

  • ระยะที่ไส้ติ่งเริ่มอุดตัน จะมีอาการปวดท้องบริเวณรอบสะดืออย่างฉับพลัน จุกแน่นท้อง เบื่ออาหาร
  • ระยะที่เริ่มบวม โดยมีการปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา หากมีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ไอ จาม จะรู้สึกเจ็บมากขึ้น
  • ระยะไส้ติ่งแตกเป็นระยะอันตราย แบคทีเรียจะแพร่กระจายในช่องท้องทำให้ผู้ป่วยมีไข้ขึ้น หากไม่ได้รับการผ่าตัดจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดส่งผลให้เสียชีวิตได้

 

ไส้ติ่งอักเสบ

 

จุดสังเกตไส้ติ่งอักเสบที่ควรรู้

เมื่อปวดท้องน้อยเป็นเวลานานติดต่อกัน หรือในกรณีที่ปวดหนักถึง 6 ชั่วโมง โดยเฉพาะด้านขวา ควรต้องสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบได้ ควรรีบพบแพทย์ให้เร็ว งดการกินยารักษาตามอาการด้วยตนเอง ไม่ควรปล่อยเอาไว้จนอาการอาจหนักขึ้น หรือปล่อยไว้จนไส้ติ่งแตก จะทำให้การอักเสบลุกลาม มีอาการแทรกซ้อนมากกว่าเดิม

 

วิธีการตรวจวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบ แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยแบ่งเป็น 2 วิธี

  1. ตรวจเลือด โดยแพทย์ซักประวัติผู้ป่วย, ตรวจร่างกาย-สัญญาณชีพ-เม็ดเลือด และจะทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจดูว่าปริมาณเม็ดเลือดขาวเยอะหรือไม่ หากพบว่ามีปริมาณเม็ดเลือดขาวเยอะ จะสามารถบ่งบอกถึงการติดเชื้อได้
  2. ตรวจอัลตราซาวด์ หรือ CT Scan เพื่อแยกหาโรคอื่น เพื่อประกอบการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ดูภาวะเสี่ยงแทรกซ้อนต่างๆ ในผู้ป่วยบางคนอาจต้องใช้การตรวจด้วยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

เมื่อได้รับคำวินิจฉัยแล้ว ควรเข้ารับการผ่าตัดโดยเร็วที่สุด ซึ่งการผ่าตัดรักษาไส้ติ่งอักเสบนั้น จะมีเพียงการผ่าตัดเอาไส้ติ่งส่วนที่อักเสบออก ซึ่งหลังจากการอักเสบแล้วไส้ติ่งจะเน่าและแตกทะลุภายใน 24 – 36 ชั่วโมง และมีความเสี่ยงที่อาจทำให้เสียชีวิตสูง โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบและมีภาวะช็อกได้

 

ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเป็นไส้ติ่งอักเสบ

บางคนเชื่อว่าการกินเม็ดฝรั่งหรือเม็ดของผลไม้อื่น จะทำให้ไปอุดตันที่ใส้ติ่งและส่งผลให้เกิดอาการไส้ติ่งอักเสบ แต่ในความจริงแล้วที่เกิดขึ้นเป็นเพราะอุดตันของเศษอุจจาระแข็งๆ หรือ “นิ่วอุจจาระ” สาเหตุที่มาจากการรับประทานเม็ดของผลไม้มีความเป็นไปได้ แต่จะเกิดขึ้นได้น้อยมากนั่นเอง

 

ไส้ติ่งอักเสบ

 

การรักษาใส้ติ่งไม่น่ากลัวเท่าที่คิด

สมัยก่อนการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบใช้วิธีการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ทำให้หลายคนกังวลจนไม่กล้าไปพบแพทย์ ส่งผลให้มีการอักเสบและแตกของใส้ติ่งจนเสียชีวิตได้ ในปัจจุบันการผ่าตัดสามารถใช้การส่องกล้อง (MIS) ที่จะทำให้แผลขนาดเล็กเพียง 2-3 แผล คือ แผลบริเวณใต้สะดือ บริเวณด้านซ้ายและด้านขวาของท้องน้อย หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยจึงจะปวดแผลน้อย และเป็นการผ่าตัดที่ใช้กล้องส่องจึงทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยวิธีนี้ไม่ต้องใช้วิธีพักฟื้นนาน

 

อาการปวดท้องทั่วไปจากโรคอื่น ที่ไม่ใช่ใส้ติ่งอักเสบ

  • ปวดแผลในกระเพาะ มักปวดใต้ลิ่นปี่ สัมพันธ์กับอาหาร โดยจะท้องอืด เหมือนอาหารไม่ย่อย หรือปวดจุกเสียดก็ได้ มักเป็นหลังอาหาร คือทานอาหารแล้วแย่ลง
  • ปวดแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น อาจเป็นที่ใต้ลิ่นปี่หรือชายโครงขวา มักปวดจุกเสียดก่อนอาหาร พอทานอาหารแล้วจะดีขึ้น
  • ปวดจากถุงน้ำดี มักเป็นที่ชายโครงขวา อาจมีร้าวไปบริเวณมุมล่างของสะบักขวาหรือบริเวณระหว่างสะบัก จะมีอาการแน่นหรืออืด หลังทานอาหารมันๆ หรือมีปวดท้องหลังอาหารเย็นเป็นพักๆ
  • ปวดจากนิ่วในท่อไต อาการปวดจะเป็นพักมาก บริเวณเอวด้านหลังอาจร้าวมาขาหนีบ หรือบริเวณอัณฑะ ร่วมกับมีปัสสาวะเป็นเลือด
  • ปวดจากปีกมดลูกหรือรังไข่ จะปวดบริเวณท้องน้อย มักมีเลือดหรือตกขาวผิดปกติทางช่องคลอดร่วมด้วย

 

บทความจากพันธมิตร
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19

“ภาวะไส้ติ่งแตก” ไม่ใช่ที่น่าเสี่ยง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วนที่สุด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน หรือความเสี่ยงที่อาจทำให้เสียชีวิต เมื่อมีอาการผิดปกติ อย่ามัวหายาทานเองและคิดว่าเดี๋ยวก็หาย ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และการรักษาต่อไป

 

บทความที่น่าสนใจ

แพทย์ชี้ อาการ มิส-ซี ในเด็กที่หายจากโรคโควิด-19 เป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องระวัง

จบต้นตอ ก่อนเกิดโรคไต เลือกกินอย่างไรให้ดีต่อร่างกาย ?

30 มีนาคม “วันไบโพลาร์โลก” ชวนทำความรู้จักโรคไบโพลาร์

 

ที่มา (1) (2) (3) (4)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) กับ วิธีสังเกตอาการด้วยตัวเอง!
แชร์ :
  • คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

    คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

    คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ