น้ําหนักทารกแรกเกิด ถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใครหลายคนมักต้องการทราบอยากจะรู้กัน เพราะว่าขนาดนั้นน้ำหนักของเด็กแรกเกิดนั้นแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงอายุ 1 ขวบ ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่า น้ำหนักทารกแรกเกิด ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาควรมีน้ำหนักอยู่ที่เท่าไหร่กัน
น้ำหนักทารกแรกเกิด ควรมีเท่าไหร่
เรื่องน้ำหนักของเจ้าตัวเล็กแรกเกิด จนถึงอายุ 1 ปี เป็นเรื่องที่คุณแม่ ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เพราะ ถ้าน้ำหนักลูกน้อย ก็จะส่งต่อพัฒนาการเติบโต ของลูกน้อยได้ด้วย ซึ่งโดยปกติทารกในวัยแรกเกิด ที่คลอดตามปกติ ที่ไม่ได้คลอดก่อนกำหนด จะมีน้ำหนักตัว เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3,000 กรัม หรือ 3 กิโลกรัม แต่ก็มีทารกจำนวนจำนวนไม่น้อย ที่มีน้ำหนักตัวถึง 4,000 กรัม ดังนั้น เกณฑ์ปกติของน้ำหนักตัวทารกแรกเกิด จึงอยู่ประมาณ 3,000 – 4,000 กรัม สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด โดยมากจะมีน้ำหนักตัวไม่ถึง 3,000 กรัม แต่คุณแม่ ไม่ต้องกังวลนะคะ เมื่อเติบโตขึ้นน้ำหนักตัวของลูก ก็จะเพิ่มจนเทียบเท่ากับเด็กทั่วไปได้ จึงเกิดเป็นคำถามว่า ทารกแรกเกิดควรมีน้ำหนักเท่าไหร่ เรามาหาคำตอบกัน
บทความที่น่าสนใจ : เช็คไปพร้อมกัน! นำ้หนักทารก 1-10 สัปดาห์ น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก
น้ำหนักทารกแรกเกิด – 3 เดือน
จากน้ำหนักตัวหลังจากแรกเกิด ทารกจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย 700 – 800 กรัม ต่อเดือน จนเมื่อ ลูกมีอายุครบ 3 เดือน น้ำหนักตัวลูก ควรจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2,100 – 2,400 กรัม นับจากตอนแรกเกิด แต่เด็กบางคนก็อาจมีน้ำหนักตัวมาก หรือน้อยกว่าเกณฑ์ได้
น้ำหนักทารกวัย 4-6 เดือน
น้ำหนักตัวลูกในช่วงนี้ จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย แต่ละเดือน ประมาณ 500 – 600 กรัม ต่อเดือน ซึ่งจะน้อยกว่าในช่วง 3 เดือนแรก แต่ถ้า ลูกมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าเกณฑ์ในช่วงนี้ เป็นไปได้ว่า ลูกกินเยอะเป็นพิเศษหรือเปล่า
น้ำหนักทารกวัย 7-9 เดือน
น้ำหนักตัวลูกในช่วงนี้จะเพิ่มขึ้น เฉลี่ยเดือนละ 400 กรัมต่อเดือน อาจบวกลบกว่านี้ นิดหน่อย
บทความที่น่าสนใจ : วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารก ชั่งน้ำหนักทารก วัดความยาวทารก วัดเส้นรอบศีรษะลูก
น้ำหนักทารกวัย 9-12 เดือน
ในช่วงนี้ น้ำหนักตัวของลูก จะเพิ่มเฉลี่ยเหลือเพียง เดือนละประมาณ 300 กรัม ต่อเดือน
น้ำหนักทารกวัย 1 ขวบ
พอเข้าสู่วัย 1 ขวบ ลูกจะมีน้ำหนักตัวขยับเพิ่มขึ้น เพียงเดือนละ 200 กรัม ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ที่ส่งผลต่อ การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวของเจ้าตัวน้อย ที่เพิ่มหรือลดในแต่ละเดือน เช่น
- พฤติกรรมการกินอาหารของลูก
- อาการไม่สบายหรือเจ็บป่วย
- พันกำลังขึ้น
- การชั่งน้ำหนักหลังถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือเปลี่ยนใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
ในกรณีที่น้ำหนักตัวลูก น้อยกว่าเกณฑ์ปกติเล็กน้อย แต่ เจ้าตัวเล็กยังสามารถกินนม นอนหลับได้ตามปกติทุกวัน ร่าเริง หรือ ไม่ส่งสัญญาณเจ็บป่วยใด ๆ คุณแม่ยังไม่ต้องวิตกกังวล มากเกินไปนะค่ะ แต่ถ้าหากต่ำกว่าเกณฑ์มาก ๆ อาจจะต้องไปพบ คุณหมอเพื่อขอรับคำแนะนำนะคะ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่ และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
พ่อแม่รู้ไหม การขลิบ เป็นอันตรายได้ การขลิบมีผลต่อ การติดเชื้อเริมในทารกแรกเกิด
Update!! ของใช้เด็กแรกเกิด น่าซื้อช่วงสิ้นปี พ่อจ๋าพาแม่ไปช้อปรัว ๆ เพื่อเตรียมตัวต้อนรับเบบี๋ ในยุค New Normal กันเถอะ
วิธีกระตุ้นสมอง ทารกแรกเกิด เคล็ดลับความฉลาด ของเด็กที่พ่อแม่ช่วยได้!
ที่มา : healthline
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!