เล็บของเรา เป็นอวัยวะหนึ่งในร่างกาย ที่หลายคนมักไม่ได้สนใจ แต่เค้าก็มีความสำคัญนะ! เล็บเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกสุขภาพของร่างกายเราได้เหมือนกัน วันนี้เรามาแชร์เทคนิค เคล็ดลับดี ๆ กับ สุขภาพเล็บบอกโรค มาสังเกตกันว่า เล็บของเรามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ แล้วสิ่งปกติเหล่านั้น บ่งบอกอะไรในร่างกายของเราได้บ้าง ไปดูกัน !
เล็บสวยสุขภาพดี เป็นยังไง?
เล็บที่สวย และสุขภาพดี คือ เล็บที่มีสีชมพูอ่อน ๆ ชมพูจาง ๆ พื้นผิวเล็บเรียบเนียน ผิวหนังรอบ ๆ เล็บมีความแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่ลอก ไม่ถอยร่น และเล็บต้องมีความหนาพอดี ไม่หนามาก หรือบางมากจนเกินไป
อ่านเพิ่มเติม เล็บสุขภาพดี มีลักษณะอย่างไร? สิ่งใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
เล็บผิดปกติ เป็นยังไง?
เล็บที่ผิดปกติ คือเล็บที่มีลักษณะแปลกไปจากที่กล่าวไป โดยอาจมีลักษณะบาง ไม่แข็งแรง มีฝ้า หรือ ผิวโดยรอบไม่แข็งแรง เป็นต้น โดยอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เกิดการติดเชื้อ เกิดการระคายเคืองจากสารเคมี การกระแทกแรง ๆ หรือ โรคภัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อเล็บ ซึ่งอาจมีลักษณะผิดปกติหลากหลายแบบ
เล็บบอกโรค เป็นยังไง เล็บแบบไหนผิดปกติ ลักษณะเล็บบอกโรค?
1. แบ่งตามลักษณะของเล็บ
เนื้อเล็บมีรอยบุ๋ม
- โรคภูมิแพ้ผิวหนัง
- ผู้ที่มีผมร่วงเป็นหย่อม ๆ
เล็บมีร่อง เล็บเป็นร่อง หรือ เล็บเป็นสันยาว
- เกิดความผิดปกติของไต
- การเจริญเติบโตผิดปกติ
- เกิดจากอาการป่วย
เล็บหนาผิดปกติ
- ระบบหลอดเลือดในร่างกายอ่อนแอ
- เลือดไหลเวียนผิดปกติ
เล็บบาง
- สัญญาณโรคผิวหนัง ที่เกี่ยวข้องกับอาการคัน
เล็บแบนผิดปกติ
- โรคมือเย็นเท้าเย็น เพราะเลือดไปไหลเวียนไม่เพียงพอ
เล็บกว้างเป็นสี่เหลี่ยม
- ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน
เล็บเป็นลอนตามขวาง
- อาจมีผลมาจากโรคร้ายแรง
- การขาดสารอาหาร
- ฮอร์โมนผิดปกติ
เล็บเป็นเส้น
- โรคสะเก็ดเงิน
- โรคข้ออักเสบรูมาทอยด์
- ความดันโลหิตสูง
เล็บเป็นเส้นขาวตามขวาง
- โลหิตจางแบบซิกเคอลเซลล์
- โรคหัวใจ
- โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- โรคฮอตจ์กินส์
- โรคไต
เล็บรูปกลม หรือ เล็บที่ขึ้นตรงแล้วม้วนรอบปลายนิ้ว
เล็บปลายงอน
- โรคเกี่ยวกับปอด
- โรคเกี่ยวกับหัวใจ
- โรคเกี่ยวกับตับ
- โรคมะเร็ง
2. แบ่งตามอาการผิดปกติของเล็บ
เล็บเป็นดอกขาว หรือ ขึ้นติดต่อกันเป็นแนวขวาง
- โรคตับ
- ร่างกายขาดธาตุสังกะสี
- เล็บได้รับสารพิษ เช่น สารหนู
เล็บล่อน
- โรคต่อมไทรอยด์
- โรคเรื้อนกวาง
- อาการอักเสบจากเชื้อรา
เล็บมีสีขาวซีด เล็บอ่อน เล็บแบน เล็บบุ๋ม ลักษณะเหมือนช้อน
- โรคโลหิตจาง อาจมีสาเหตุมาจากการขาดธาตุเหล็ก
เล็บหน้ากว้าง โค้งมน เล็บสีออกม่วงคล้ำ
- โรคหัวใจ
- โรคตับ
- โรคท้องเสียเรื้อรัง
เล็บเป็นจุด เล็บมีเส้นสีม่วง
- เกิดจากเส้นเลือดฝอยแตก
- โรคลิ้นหัวใจอักเสบ
- โรคหลอดเลลือดอักเสบ
- โรคตับ
- โรคลักปิดลักเปิด
โคนเล็บเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีแดง
โคนเล็บเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีคล้ำ
- ได้รับพิษจากสารเงิน
- มีปัญหาเกี่ยวกับปอด
เล็บขึ้นหลุดจากฐานเล็บ มีจุดขาวที่ปลายเล็บ
- ความผิดปกติของระบบหายใจ เช่น ถุงลมโป่งพอง ลอดเหลือดอักเสบ
3. แบ่งตามลักษณะของสีเล็บ สีเล็บบอกโรค
เล็บสีดำ
เล็บสีเทา เล็บสีเทาคล้ำ
- ได้รับยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคมาลาเรีย ยาระบาย เป็นต้น
เล็บสีขาว
- ความผิดปกติของตับและไต
- โรคโลหิตจาง
- ตับอักเสบเรื้อรัง
สีน้ำเงิน
- โรคโลหิตจาง
- โรคหัวใจ
- โรคระบบไหลเวียนโลหิต
เล็บสีเขียวคล้ำ
- โรคโลหิตรุนแรง
- โรคถุงลมโป่งพอง
- โรคหัวใจ
- โรคหลอดเลือดอักเสบ
เล็บสีเหลือง
- โรคทางเดินหายใจ เช่น วัณโรค โรคปอด โรคหืด
- โรคตับ และโรคไต
- ความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมน้ำเหลือง
- ร่างกายขาดวิตามิน อี
ปลายเล็บสีน้ำตาลชมพู โคนเล็บสีขาว
เล็บบอกอาการขาดสารอาหาร
เล็บสามารถบ่งบอกอาการขาดสารอาหารได้ สามารถสังเกตได้จากข้อสังเกต ดังต่อไปนี้
- เล็บมีสีซีด เล็บเปราะ เล็บบาง เล็บเป็นสัน ฉีกขาดและบ่นได้ง่าย อาการของโรคที่ขาดธาตุเหล็ก
- เล็บมีสีซีดขาว อาจเกิดจากการขาดโปรตีนอย่างรุนแรง
- เล็บฉีก เล็บลอก เล็บเป็นสะเก็ด อาจเกิดจาก อาการของคนที่ขาดกรดไลโนลิอิก คือ กรดไจมันจำเป็น
สีเล็บ และลักษณะเล็บ เป็นเพียงแค่ข้อสังเกตเท่านั้น อย่าพึ่งวิตกกังวลไป แต่หากใครที่พบความผิดปกติที่เล็บ และสงสัยว่าตนเองกำลังเป็นโรคร้ายแรงหรือไม่ แนะนำให้เดินทางไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยโรคจะดีที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด หวังว่าบทความ สุขภาพเล็บบอกโรค จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านนะคะ
ที่มาข้อมูล : โรงพยาบางสำโรง
เรียบเรียงโดย : TheAsianparentTH
บทความที่น่าสนใจ :
สีเล็บตามวันเกิด 2564 สีเล็บเสริมดวงปัง ๆ สีไหนทาแล้วดี
เล็บขาว ตรงโคน เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่ ?
จมูกเล็บแห้ง ทำไงดี? แม่ท้องจมูกเล็บแห้ง วิธีบำรุงให้จมูกเล็บสุขภาพดี
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!