ลูกเขียนหนังสือกลับด้าน พัฒนาการตามวัย หรือปัญหาที่ต้องใส่ใจ?

lead image

ลูกเขียนหนังสือกลับด้าน เสี่ยงเป็น LD หรือเปล่า ชวนพ่อแม่มาเรียนรู้วิธีสังเกต และแนวทางช่วยเหลือลูกน้อย ให้มีพัฒนาการที่สมวัย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกวัยอนุบาล ควรช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ผ่านการเล่น แต่ในขณะเดียวกัน หลายโรงเรียนก็เริ่มปูพื้นฐานการอ่านเขียนตั้งแต่ระดับอนุบาลเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่พบเจอปัญหาต่างๆ เช่น การจับดินสอไม่ถูกวิธี ออกแรงกดมากเกินไป หรือเขียนตัวอักษรสลับตำแหน่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ลูกเขียนหนังสือกลับด้าน” เช่น เขียน “ถ” เป็น “ภ” หรือ “ด” เป็น “ค” บทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปทำความเข้าใจสาเหตุที่ทำให้ ลูกเขียนหนังสือกลับด้าน เรียนรู้วิธีสังเกต และแนวทางช่วยเหลือลูกน้อย ให้มีพัฒนาการที่สมวัย

 

ทำไมเด็กถึงเขียนหนังสือกลับด้าน?

การเขียนหนังสือกลับด้านมักพบบ่อยในวัย 4-6 ปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพัฒนาการด้านการรับรู้ตำแหน่งของวัตถุ หรือที่เรียกว่า “Position in space” ยังไม่สมบูรณ์ พูดง่ายๆ ก็คือ เด็กๆ ยังแยกแยะทิศทางต่างๆ เช่น ซ้าย-ขวา, หน้า-หลัง, ใน-นอก, บน-ล่าง ได้ไม่ชัดเจน

เวลาที่เด็กๆ มองตัวอักษร พวกเขาอาจจะยังสับสนว่า ด้านไหนคือด้านบน ด้านไหนคือด้านล่าง หรือส่วนไหนควรอยู่ทางซ้าย ส่วนไหนควรอยู่ทางขวา ทำให้เขียนตัวอักษรกลับด้าน สลับตำแหน่ง หรือเอียงไปเอียงมาได้

นอกจากนี้ การรับรู้ตำแหน่งของวัตถุยังสัมพันธ์กับ “Spatial perception” หรือความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งของวัตถุเทียบกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการแยกแยะความแตกต่างของภาพ ซึ่งหากพัฒนาการด้านนี้ยังไม่สมบูรณ์ ก็อาจส่งผลต่อการเขียนตัวอักษรได้เช่นกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกเขียนหนังสือกลับด้าน ผิดปกติไหม?

การเขียนตัวอักษรกลับด้าน ทั้งการอ่านและการเขียน เป็นเรื่องปกติมากๆ สำหรับเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กวัยอนุบาล จนถึงอายุ 7 ขวบ ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงฝึกฝนและเรียนรู้

ในช่วงวัยนี้ สิ่งสำคัญคือการให้เด็กๆ ได้มีอิสระในการลองผิดลองถูก เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน เมื่อขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คุณครูจะเริ่มแนะนำและแก้ไขการเขียนกลับด้านให้ถูกต้อง และโดยทั่วไปแล้ว เด็กๆ เกือบทุกคนจะเลิกเขียนกลับด้านเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ค่ะ

แต่หากลูกอายุ 7 ขวบขึ้นไป หรือเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แล้ว แต่ยังคงเขียนตัวอักษรกลับด้านอยู่บ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาในการเขียนหรือการอ่าน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาคุณครู และพาลูกไปพบแพทย์หรือนักกิจกรรมบำบัด เพื่อรับการประเมินพัฒนาการด้านการรับรู้ทางสายตา เช่น การทดสอบ MVPT-3 หรือ DTVP-2 ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าลูกมีปัญหาในด้านใด และสามารถวางแผนการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับลูกแต่ละคนได้อย่างตรงจุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกเขียนหนังสือกลับด้าน อาจเป็นสัญญาณที่ต้องใส่ใจ  

การเขียนตัวอักษรกลับด้าน แม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในเด็กวัยอนุบาล และส่วนใหญ่มักจะหายไปเองเมื่อโตขึ้น อย่างไรก็ตาม การเขียนหนังสือกลับด้านก็อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาพัฒนาการบางอย่างได้เช่นกัน 

การเขียนตัวอักษรกลับด้าน พบได้บ่อยในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัญหา ดังนี้

  1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disability: LD)

เด็กกลุ่มนี้มีความบกพร่องเฉพาะด้าน แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ

  • บกพร่องด้านการอ่าน (Dyslexia) มีปัญหาในการอ่าน สะกดคำ แยกแยะตัวอักษร
  • บกพร่องด้านการคิดคำนวณ (Dyscalculia) มีปัญหาในการเรียนรู้ เข้าใจ และใช้ตัวเลข
  • บกพร่องด้านการเขียน (Dysgraphia) มีปัญหาในการเขียน เช่น เขียนตัวอักษรเบี้ยว เขียนไม่ตรงบรรทัด เขียนตัวอักษรกลับด้าน สลับตำแหน่ง หรือขนาดไม่เท่ากัน

การเขียนตัวอักษรกลับด้านในเด็กกลุ่มนี้ เกิดจากความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการเขียนโดยตรง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder: ADHD)

เด็กกลุ่มนี้มักมีปัญหาในการควบคุมสมาธิ และ จดจ่อกับสิ่งต่างๆ ส่งผลให้

  • จดจำรายละเอียดได้ยาก ทำให้สับสนตัวอักษรที่คล้ายกัน เช่น b, d, p
  • ลอกเลียนแบบได้ไม่ถูกต้อง เช่น ลอกตัวอักษรหรือรูปทรงเรขาคณิตผิดพลาด
  • ประสานงานการเคลื่อนไหวได้ยาก ส่งผลต่อการใช้กล้ามเนื้อมือในการเขียน เช่น จับดินสอไม่ถนัด เขียนหนังสือไม่สวย

ดังนั้น หากลูกน้อยมีปัญหาในการเขียน รวมถึงมีพฤติกรรมอื่นๆ ที่บ่งชี้ถึงภาวะ LD หรือ ADHD ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการประเมินและวางแผนการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป

กิจกรรมส่งเสริมเกี่ยวกับการรับรู้ตำแหน่ง หรือ Position in space

การส่งเสริมพัฒนาการด้านการรับรู้ตำแหน่ง (Position in space) จะที่ช่วยให้เด็กๆ เขียนหนังสือได้อย่างถูกต้อง ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว เด็กๆ จะเริ่มเรียนรู้การรับรู้ตำแหน่งจากง่ายไปยาก เริ่มจาก

  • แนวตั้ง-แนวนอน เช่น บน-ล่าง
  • แนวเฉียง เช่น เฉียงซ้าย เฉียงขวา
  • แยกแยะภาพกลับหัว เช่น แยกแยะ “b” กับ “p”

ซึ่งการที่ ลูกเขียนหนังสือกลับด้าน บ่งบอกถึงปัญหาในการรับรู้และแปลผลข้อมูลตำแหน่ง ดังนั้น เราสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านนี้ของลูกน้อยได้ด้วยกิจกรรมสนุกๆ ดังนี้

กิจกรรมส่งเสริมเกี่ยวกับการรับรู้ตำแหน่ง หรือ Position in space

1. ฝึกฝนทิศทางง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน
  • ใช้คำศัพท์บอกตำแหน่ง เช่น “วางแก้วน้ำบนโต๊ะ” “เก็บของเล่นใส่กล่องใต้เตียง”
  • ให้ลูกช่วยทำงานบ้าน เช่น “ช่วยยกจานไปวางบนชั้น” “ช่วยเก็บผ้าใส่ตะกร้าข้างตู้”
  • ให้ลูกได้ลองผิดลองถูก และคอยให้คำแนะนำ ชมเชยเมื่อลูกทำได้ถูกต้อง
2. ฝึกสังเกตและแยกแยะภาพ
  • จับคู่ภาพเหมือน เริ่มจากภาพการ์ตูนง่ายๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มความซับซ้อนเป็นภาพตัวอักษร
  • หาภาพที่แตกต่าง ฝึกให้ลูกสังเกตความแตกต่างของภาพ
3. เล่นเกมฝึกทักษะ
  • เกมจับคู่ภาพหรือตัวอักษร: เริ่มจากภาพง่ายๆ ไปจนถึงตัวอักษร
  • เกม XO: ประยุกต์โดยใช้คำศัพท์ เช่น มา/นี, คอ/ดี, boy/dog แทนตัว X/O

กิจกรรมเหล่านี้ ไม่เพียงแต่ช่วยแก้ปัญหาการเขียนตัวอักษรกลับด้านเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาการด้านอื่นๆ ของลูกน้อย เช่น ทักษะการคิด การแก้ปัญหา และการใช้ภาษา

5 เทคนิค ช่วยลูกน้อยเขียนหนังสือได้อย่างถูกต้อง

คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบแล้วว่า มีกิจกรรมใดบ้างที่ช่วยให้ลูกเข้าใจด้านการรับรู้ตำแหน่งมากขึ้น ต่อไปนี้เป็นเทคนิคที่แนะนำให้คุณแม่นำไปใช้กับกิจกรรมดังกล่าวค่ะ

5 เทคนิค ช่วยลูกน้อยเขียนหนังสือได้อย่างถูกต้อง

1. ฝึกฝนสม่ำเสมอแต่พอดี
  • ใช้เวลาสั้นๆ แต่สม่ำเสมอ วันละ 5-10 นาทีก็เพียงพอ
  • ไม่จำเป็นต้องฝึกหนักเฉพาะวันหยุด กระจายการฝึกฝนไปในแต่ละวัน
  • อย่าพึ่งพาแต่การเรียนพิเศษ การเรียนรู้ในชีวิตประจำวันก็สำคัญ
2. ฝึกทีละตัวอักษร
  • เริ่มจากตัวที่ลูกสับสน เช่น b-d, p-q
  • ฝึกจนคล่องแล้วค่อยเปลี่ยนตัวใหม่ อย่าใจร้อนรีบเร่ง
3. ลดความกดดัน
  • ใช้กระดานไวท์บอร์ด เขียนแล้วลบง่าย ลดความกลัวผิด
  • ใช้วัสดุหลากหลาย เช่น ทราย แป้งโดว์ สี
4. เพิ่มความสนุก
  • เขียนบนพื้นผิวต่างๆ เช่น ชายหาด กระจก
  • เขียนในอากาศ ใช้มือหรือนิ้ววาดตัวอักษรในอากาศ
  • ปั้นตัวอักษร ใช้แป้งโดว์ ดินน้ำมัน ลวดกำมะหยี่
5. อดทนและให้กำลังใจ
  • อย่าเร่งรัดหรือกดดัน การเรียนรู้ต้องใช้เวลา
  • อย่าแสดงความกังวล ส่งผลต่อความมั่นใจของลูก
  • ชื่นชมและให้กำลังใจ เสริมสร้างแรงจูงใจในการฝึกฝน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเขียนตัวอักษรกลับด้านสามารถแก้ไขได้ หากลูกน้อยเขียนตัวอักษรกลับด้าน ในวัยต่ำกว่า 7 ขวบ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถใช้กิจกรรมและเทคนิคข้างต้นได้เช่นกัน เพียงคุณพ่อคุณแม่มีความเข้าใจ อดทน และหมั่นฝึกฝนไปพร้อมกับลูก เชื่อว่าลูกน้อยจะสามารถก้าวผ่านปัญหานี้ไปได้อย่างแน่นอนค่ะ

ที่มา : มหาวิทยาลัยมหิดล , ครูแนน นักกิจกรรมบำบัด

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ลูกชอบเถียง วัย 5 ขวบ ทำไม? ลูกเถียงเก่ง พัฒนาการที่ต้องเข้าใจและพร้อมรับมือ

ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ทำไงดี? จะส่งผลเสียต่อพัฒนาการไหม?

เช็กสัญญาณเสี่ยง! ออทิสติกเทียม รีบแก้ไข ก่อนเป็นภัยคุกคามพัฒนาการลูก