ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ ชี้ชัด นมวัว ทำลายสุขภาพเด็กจริงหรือไม่?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตั้งแต่เด็กจนโต หลายคนเติบโตมาพร้อมกับ "นมวัว" เครื่องดื่มแสนคุ้นเคยที่ถูกยกย่องว่าเป็นแหล่งแคลเซียมและโปรตีนชั้นดี แต่ในช่วงหลัง มีกระแสข่าวลือว่านมวัวอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพเด็ก ทำให้ผู้ปกครองหลายคนกังวลและสับสน

ล่าสุด ทางราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทยได้ออกมาชี้แจงเรื่อง การบริโภคนมวัวนั้นส่งผลกับสุขภาพของเด็กจริงหรือไม่ บทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่ ไปไขข้อสงสัย และค้นหาคำตอบที่ถูกต้องเกี่ยวกับนมวัวและเด็กกันค่ะ

นมวัว อันตรายต่อเด็กจริงหรือไม่?

ปัจจุบัน ประเด็นเรื่อง "นมวัว ทำลายสุขภาพ" กำลังถูกพูดถึงอย่างแพร่หลายในสังคมไทย สร้างความกังวลให้กับผู้ปกครองว่าควรให้ลูกน้อยของตนดื่มนมวัวดีหรือไม่ ซึ่งล่าสุด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ทางราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย ได้ร่วมมือกันออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ "ผลของการบริโภคนมวัวต่อสุขภาพเด็ก" เพื่อคลายความกังวลโดยอ้างอิงจากข้อมูลเชิงประจักษ์ และ หลักฐานทางการแพทย์ที่ได้รวบรวมมา ซึ่งมี 6 ข้อหลัก ๆ ดังนี้ 

 

 

1) เคซีนในนมวัวกับการย่อยของร่างกาย

เคซีนเป็นโปรตีนหลักในนมที่ทำให้มีลักษณะสีขาวขุ่น ที่สามารถพบได้ในน้ำนมวัว จับกับแคลเซียมและฟอสเฟต ทำให้น้ำนมมีลักษณะสีขาวขุ่น ในเด็กปกติที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร ก็จะไม่มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้องจากการบริโภคนมวัว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2) สารตกค้างใน นมวัว

ประเด็นเรื่องสารตกค้างในนมวัว เป็นสิ่งที่หลายคนกังวล ซึ่งก็ได้มีการตรวจสอบคุณภาพของนมโรงเรียนทั้งทางด้านโภชนาการและจุลินทรีย์ ตามรายเขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขล่าสุดในปี พ.ศ. 2562 และได้พบว่า ร้อยละ 97 มีคุณภาพผ่านมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 350 (พ.ศ. 2556) นอกจากนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบคุณภาพนมโรงเรียนทั้งชนิดพาสเจอร์ไรส์และยูเอชที ไม่พบว่ามีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและยาต้านจุลชีพตกค้างในทุกตัวอย่างที่ได้ตรวจ

 

3) นมวัว กับโรคกระดูกพรุน

เป็นที่รู้กันดีว่า นมวัวเป็นแหล่งสำคัญของโปรตีนคุณภาพ แคลเซียม และฟอสฟอรัสที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง จากการศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมานเด็กที่บริโภคนมจะมีมวลกระดูกเพิ่มขึ้นทั้งร่างกายประมาณร้อยละ 3 เทียบกับกลุ่มเด็กที่ไม่ได้บริโภคนมสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังไปช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนที่จะไปกระตุ้นการเติบโต เช่น insulin-ike growth factor 1 (IGF-1) และลดการสลายกระดูก รวมถึงการบริโภคนมที่เสริมวิตามินดีจะสามารถเพิ่มระดับวิตามินดีได้เฉลี่ย 5 นาโนกรัม/มล. ซึ่งเทียบได้ประมาณหนึ่งในสี่ของระดับปกติในร่างกาย หากเด็กได้รับปริมาณแคลเซียมอย่างเพียงพอตามวัยตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงช่วงวัยรุ่น จะสามารถช่วยทำให้มวลกระดูกสูงสุดดีขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่ และยังช่วยป้องกันภาวะกระดูกบางเมื่อย่างเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและสูงอายุอีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

4) นมวัวกับโรคมะเร็ง

นมวัวเป็นแหล่งสารอาหารสำคัญหลายชนิด แต่มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างนมวัวกับโรคมะเร็ง นมวัวประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิดที่อาจไปกระตุ้นหรือยับยั้งการเกิดมะเร็ง เช่น แลคโตเฟอริน วิตามินดี กรดไขมันสายสั้น กรดไขมันอิ่มตัว และ IGF-1 อย่างไรก็ตาม ในเชิงการศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมาน พบว่ามีหลักฐานที่หนักแน่นเพียงพอที่สนับสนุนว่าการบริโภคนมช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แต่ไม่มีหลักฐานว่าการบริโภคนมวัวจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5) นมวัวทำให้เกิดโรคออทิซึม

ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาขนาดใหญ่ที่ยืนยันว่านมวัวมีส่วนทำให้เกิดโรคออทิซึม ในทางกลับกัน การงดบริโภคนมวัวในเด็กที่เป็นโรคออทิซึมทำให้เกิดผลเสีย เพราะนมวัวเป็นแหล่งของกรดอะมิโนที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดอะมิโน-ทริปโตแฟน ซึ่งจะเปลี่ยนป็นซีโรโทนินในร่างกายและออกฤทธิ์ในการควบคุมอารมณ์ ปรับพฤติกรรม และช่วยในการนอนหลับ ดังนั้นการงดบริโภคนมวัวอาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก อย่างไรก็ตามเด็กแต่ละคนมีความต้องการและอาการของโรคออทิสซึมที่แตกต่างกัน ผู้ปกครองจึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม

 

6) นมวัวกับโรคภูมิแพ้

จากผลวิจัยทางการแพทย์ได้ออกมาชี้แจงว่าทารกและเด็กเล็กที่บริโภคนมวัว มีเพียงร้อยละ 1.7 จะเกิดโรคแพ้โปรตีนนมวัว ซึ่งเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองกับโปรตีนในนมวัวและมีอาการแสดงออกได้หลายระบบ อาทิ ผิวหนัง ทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร นอกเหนือจากนี้ข้อกังวลเรื่องการได้รับนมวัวแล้วทำให้เกิดโรคภูมิแพ้นั้น องค์กรวิชาชีพทั่วโลกมีคำแนะนำว่า การจำกัดการบริโภคนมวัวในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ไม่ช่วยในการป้องกันโรคแพ้โปรตีนนมวัวในทารก รวมถึงการศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมานล่าสุดไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการที่เด็กได้รับนมวัวกับการเกิดโรคหอบหืด การหายใจลำบากมีเสียงหวีด โรคภูมิแพ้ผิวหนัง และโรคแพ้โปรตีนนมวัว

จากข้อมูลข้างต้น ทางการแพทย์ยังคงแนะนำให้ดื่มนมวัวได้ โดยควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ทั้งนี้เด็กก่อนวัยเรียน ควรดื่มนมวัว วันละ 3 แก้ว โดยที่ปริมาตรต่อแก้วคือ 200 ซีซี ส่วนเด็กวัยเรียนขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่ รวมถึงสตรีมีครรภ์ และ คุณแม่ที่ให้นมบุตร ควรดื่มนมวัววันละ 2-3 แก้ว

ล่าสุด เมื่อวันที่ 27 ก.พ. ที่ผ่านมา ทาง หมอวิน จากเพจ เลี้ยงลูกตามใจหมอ ก็ได้ออกมาสนับสนุนข้อชี้แจงดังกล่าวเช่นกันค่ะ

ที่มา : sanook.com

5 นมทางเลือกสำหรับคนไม่ทาน นมวัว

หากลูกน้อยของคุณมีอาการย่อยยากจากการดื่มนมวัว คุณพ่อคุณแม่สามารถมองหานมทางเลือกที่มีปริมาณของแคลเซียม หรือ โปรตีนเทียบเท่า มาทดแทนได้ มีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

1) นมถั่วเหลือง

นมถั่วเหลืองถือว่า เป็น นมทางเลือก ที่ดีต่อสุขภาพ และมีความใกล้เคียงกับนมวัวมากที่สุด โดยที่นมถั่วเหลืองที่ไม่เติมน้ำตาล มีโปรตีนสูงถึง 7 กรัม เทียบเท่ากับนมวัวไขมันเต็มรสจืด 1  แก้ว แต่ให้พลังงานที่น้อยกว่า และยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินดีและแคลเซียม 

บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้หรือไม่? นมถั่วเหลืองมีดี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและต่อยอดพัฒนาการที่ไม่สะดุด

 

2) นมอัลมอนด์

อีกหนึ่งทางเลือก คือ นมอัลมอนด์ ที่คั้นมาจากเมล็ดอัลมอนด์ปั่นรวมกับน้ำ หากเป็นนมอัลมอนด์ชนิดที่ไม่ผสมน้ำตาลจะให้พลังงานและคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าเมื่อเทียบกับนมวัว โดยนมอัลมอนด์ 1 แก้วให้พลังงานประมาณ 30–60 แคลอรี่ และมีคาร์โบไฮเดรตเพียง 1 กรัม เพราะนมอัลมอนด์ให้ปริมาณโปรตีนที่ต่ำ คนที่ดื่มนมอัลมอนด์จึงควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนควบคู่ไปด้วย เพื่อที่จะได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3) น้ำนมข้าว

น้ำนมข้าวเป็นนมจากพืชอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยม ทำมาจากการนำเมล็ดข้าวที่ขัดสีแล้วมาคั้นเป็นน้ำ ทำให้ได้เครื่องดื่มที่มีสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม น้ำนมข้าวเป็นนมทางเลือกที่ก่อให้เกิดอาการแพ้น้อยกว่านมจากพืชชนิดอื่น ต่างจากนมที่ทำจากถั่วชนิดอื่น ๆ อย่างไรก็ตามน้ำนมข้าวก็มีข้อเสียคือให้โปรตีนที่ต่ำและมีคาร์โบไฮเดรตสูง จึงไม่ค่อยเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานสักเท่าไหร่ เพราะคาร์โบไฮเดรตจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยได้

 

4) นมข้าวโอ๊ต

ปัจจุบันนี้ นมข้าวโอ๊ตกลายมาเป็นนมทางเลือกที่นิยมสำหรับคนที่ไม่ดื่มนมวัว จุดเด่นของตัวข้าวโอ๊ตคือเบต้ากลูแคน (Beta Glucan) ซึ่งเป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำที่อาจเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในเลือด มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุ เช่น แมงกานีส ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี นอกจากนี้นมข้าวโอ๊ตให้พลังงานสูงและให้โปรตีนต่ำกว่านมวัวและนมจากพืชชนิดอื่น ๆ อีกด้วย

 

5) นมพิสตาชิโอ

นอกจาก นมโอ๊ต แล้ว นมพิสตาชิโอก็นับว่าเป็นอีกทางเลือกที่นิยม นมพิสตาชิโอนั้นให้พลังงานที่ต่ำ มีใยอาหารสูง อุดมโปรตีน และกรดไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งเป็นไขมันดีที่มีประโยชน์ต่อการทำงานของหัวใจและเป็นแหล่งของวิตามินบี 6 ที่มีส่วนช่วยในการคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และสารต้านอนุมูลอิสระ อย่าง ลูทีน และซีแซนทีน ที่ช่วยในการบำรุงสายตา 

 

 

โดยสรุปแล้ว นมวัว ถือว่าเป็นแหล่งโปรตีนและแคลเซียมชั้นดี อย่างไรก็ตาม นมวัวอาจไม่เหมาะกับทุกคน บางคนอาจมีภาวะย่อยอาหารที่บกพร่อง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และท้องเสีย ดังนั้นควรดื่มนมวัวในปริมาณที่เหมาะสม และหากผู้ที่มีภาวะย่อยยากควรหาผลิตภัณฑ์นมทางเลือกที่เป็นแหล่งโปรตีนและแคลเซียมมาทดแทน

ที่มา : pobpad.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คาเฟอีน เช็คอาการติดกาแฟ ดื่มกาแฟทุกวัน เรียกว่าเสพติดหรือยัง ?

อาหารเช้าเพื่อสุขภาพ มื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด จริงหรือไม่อย่างไร?

แพ้ถั่ว มีอาการอย่างไร? รู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราแพ้ถั่ว จัดการทำยังไง

 

บทความโดย

samita