โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ไม่ดีต่อคนท้องยังไง และส่งผลอันตรายต่อคนตั้งครรภ์ได้บ้าง? เป็นโรคที่สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้หากไม่ระวัง มาดูกันว่าโรคนี้เป็นยังไง อันตรายยังไง แล้วสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน คืออะไร?
อาการบ้านหมุน วิงเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่อยู่ หรือที่เรามักเรียนกันว่า โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือทางการแพทย์จะเรียกว่า โรคเมเนียร์ (Meniere) ที่เป็นความผิดปกติของหูชั้นในที่ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ มีเสียงเหมือนบางอย่างในหู หรือหูอื้อ และความรู้สึกแน่น หรือกดทับในหู ซึ่งอาจส่งผลทำให้การสูญเสียการได้ยินได้ โดยโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นจะเกิดขึ้นกับทุกเพศ และทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ที่มีอายุ 40 ถึง 60 ปีในอัตราส่วน 2 คนต่อ 1,000 คน
บทความที่น่าสนใจ : คนท้องหูอื้อ เกิดจากอะไร มีวิธีแก้อาการหูอื้อในคนท้องอย่างไรบ้าง
สาเหตุของโรคมาจากอะไร?
สาเหตุของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นยังไม่ทราบสาเหตุอย่างแน่ชัด แต่ในวงการแพทย์ได้นิยามโรคนี้ว่ามาจากของเหลวที่ถูกสร้างขึ้นภายในส่วนหนึ่งของหูชั้นใน หรือที่เรียกว่าแลบบิรินท์ (labyrinth) ที่ทำหน้าที่ในการได้ยินเสียง และการทรงตัวของร่างกาย ซึ่งการที่เกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นคาดว่าเป็นการที่ของเหลวในชั้นหูนั้น หรือในร่างกายของเรามีปริมาณที่มากเกินไป จนไปรบกวนระบบประสาท ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และมีปัญหาทางการได้ยิน โดยการที่ทางการแพทย์ไม่สามารถระบุสาเหตุแน่ชัดได้เพราะว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคนี้ ที่อาจเป็นไปได้เพียงแค่หนึ่งปัจจัย หรือหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่
-
- การระบายน้ำในหูไม่ดี เนื่องจากการอุดตัน หรือมีโครงสร้างของหูที่ผิดปกติ
- การตอบสนองต่อภูมิต้านทานของเนื้อเยื่อในหู เมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือภูมิต้านทานถูกทำลาย
- อาการแพ้บางอย่าง
- ความเครียด ความเหนื่อยล้า
-
- การติดเชื้อไวรัส
- ความบกพร่องทางพันธุกรรม
- การถูกทำร้ายที่ศีรษะ
- ปวดหัวไมเกรน
- ความกัดดัน ความเจ็บป่วยทางสภาพจิตใจ
- การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
- การบริโภคอาหารบางชนิด หรือบริโภคเกลือมากเกินไป
บทความที่น่าสนใจ : ไมเกรน ปวดไมเกรนตอนท้องทำไงดี อันตรายไหม เป็นสัญญาณร้ายหรือเปล่า
อาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันเป็นอย่างไร?
สำหรับอาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นมักจะเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว และเรื่องของการได้ยิน หรืออาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับหูของเรานั่นเอง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
-
- อาการเวียนศีรษะ คุณจะรู้สึกว่าทุกสิ่งรอบข้างตัวจะเริ่มหมุนอย่างช้า ๆ ซึ่งอาการนี้จะไม่มีอาการเตือนใด ๆ ก่อน และจะแสดงอาการประมาณ 20 นาทีถึงหลายชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ถ้าหากอาการเวียนหัวรุนแรง อาจส่งผลทำให้เกิดการอาเจียนขึ้นได้
- การสูญเสียการได้ยิน ซึ่งจะขึ้นพร้อม ๆ กับอาการเวียนศีรษะในช่วงเริ่มต้นของอาการ โดยคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันจะสูญเสียการได้ยินแบบถาวรชั่วครู่ หรือตลอดจนกว่าจะหายอาการเวียนศีรษะ
- มีเสียงอยู่ในหู อาจเป็นเสียงหวีด หรือเสียงคำรามบางอย่างดังก้องอยู่ในหูอยู่ตลอดเวลา หรือมีอาการคล้ายกับคนหูอื้อนั่นเอง
นอกจากนี้โรคน้ำในหูที่ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดแล้ว อาการแทรกซ้อนของโรคนี้ก็ไม่สามารถคาดเดาได้เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นอาการที่คุณไม่คาดคิดอย่าง เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เกิดความเครียด ไปจนถึงผลกระทบต่อการที่เป็นโรคดังกล่าว อาจส่งผลทำให้คุณเกิดอุบัติเหตุก็เป็นได้
ทำไมคนท้องที่เป็นโรคนี้ถึงเสี่ยงต่อการแท้งลูก?
เนื่องจากอาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นอาการที่พบส่วนใหญ่นอกจากมีปัญหาที่หูแล้ว ยังส่งผลเรื่องของการทรงตัวอีกด้วย หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์เป็นโรคน้ำในหูขึ้นมาแล้วหละก็ อาจส่งผลทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะอย่างรุนแรง จนทรงตัวไม่อยู่ และทำให้เกิดอุบัติเหตุอย่างการหกล้ม หรือตกบันไดได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกที่อยู่ในครรภ์ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจนสามารถแท้งบุตรได้ ทั้งนี้อาการโดยรวมอย่างอื่นของโรคนั้นไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์มากนัก แต่คุณแม่ก็ต้องระวังในเรื่องของความเครียดขณะที่เป็นโรคนี้ด้วย เพราะอาการต่าง ๆ อาจส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของคุณแม่จนเกิดความเครียด หรือความวิตกกังวลได้
บทความที่น่าสนใจ : ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อ การแท้งลูก แม่ท้องต้องรู้ก่อนสายเกินไป !
การรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน มีวิธีการใดบ้าง
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน นอกจากสาเหตุ และอาการแทรกซ้อนแล้ว วิธีการรักษาก็ยังไม่มีการระบุ หรือผลของการทดลองวิจัยสรุปว่าโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่มีการรักษาที่ตายตัว หรือแน่ชัด โดยวิธีการรักษานั้นจะรักษาตามอาการของแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถรักษาได้ตั้งแต่วิธีการใช้ยา ไปจนถึงการผ่าตัดเลยทีเดียว โดยรายละเอียดการรักษามีดังต่อไปนี้
-
การบรรเทาอาการด้วยตัวเอง
หากคุณไม่มีอาการรุนแรงมากนัก คุณก็สามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยตนเอง ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคุณชั่วขณะ เพื่อบรรเทาต่าง ๆ ดังนี้
-
- อยู่นิ่ง หรือพักผ่อนระหว่างที่มีอาการเวียนศีรษะ ไม่ลุกเดินไปยังพื้นที่ต่างระดับ หรือที่ที่อาจก่อนให้เกิดความอันตรายหากล้ม
- รับประทานอาหาร เพื่อช่วยควบคุมของเหลวในร่างกาย เพราะบางครั้งคุณแม่อาจทานเกลือ หรือโซเดียมในปริมาณที่มากจนเกินไป จนทำให้เกิดอาการบวมน้ำ และส่งผลถึงการมีน้ำในร่างกายมากจนเกินไป
- จัดการความเครียด และความวิตกกังวลด้วยจิตบำบัด หรือยา
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรืออยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่
-
การใช้ยาในการรักษา
เมื่อคุณไปพบแพทย์แล้วนั้น แพทย์จะสั่งจ่ายแก้อาการเมาให้กับคุณ เพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หากมีอาการคลื่นไส้ และอาเจียนร่วมด้วยแพทย์ก็จะสั่งยาเพิ่มให้กับคุณในเบื้องต้น นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งจ่ายยาขับปัสสาวะให้กับคุณ เพื่อช่วยลดปริมาณของเหลวในร่างกายได้อีกด้วย หรือแม้แต่การฉีดยาเข้าไปที่บริเวณหูชั้นใน และชั้นกลางเพื่อลดอาการวิงเวียนศีรษะที่รุนแรง
-
กายภาพบำบัด
วิธีที่สามารถช่วยบรรเทาอาการเวียนศีรษะให้ดีขึ้นได้ โดยการกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟู และการรักษาสมดุลของร่างกายให้กลับมาเป็นดังเดิม ซึ่งการกายภาพบำบัดนี้จะต้องทำโดยนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญเท่านั้น
-
ศัลยกรรม
คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดใด ๆ เพราะการผ่าตัดนั้นเป็นตัวเลือกสำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง และรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ประสบความสำเร็จ ขั้นตอนการรักษาด้วยการผ่าตัด (Endolymphatic Sac Surgery) ก็เพื่อระบายน้ำในหูชั้นในออกนั่นเอง
การแท้งบุตรด้วยโรคน้ำในหูไม่เท่ากันของคุณแม่ไม่ได้เป็นสาเหตุจากโรคที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์นั้นสามารถแท้งบุตรได้โดยตรง แต่เป็นผลทางอ้อมของอาการที่เกิดขึ้นของโรคเพียงเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามคุณแม่ตั้งครรภ์ก็ควรที่จะระวังให้มากขึ้น เพราะถึงแม้ว่าอาการของโรคจะไม่ได้ร้ายแรง แต่ผลของอาการอาจส่งผลร้ายต่อร่างกายของคุณแม่ได้
บทความที่น่าสนใจ :
วิธีลดความเสี่ยงไม่ให้คุณแม่ กระดูกหัก ในช่วงตั้งครรภ์ อ่านก่อนจะสายเกินแก้ !
ผลไม้ ฤดูฝน สำหรับคนท้อง ผลไม้ชนิดไหนกินแล้วดี มีประโยชน์ต่อแม่และเด็ก
7 ประเภทอาหาร ดีท็อกซ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ล้างสารพิษในลำไส้
ที่มา : Blog.pregistry, Webmd, Mayoclinic, Healthline