การเสียลูก ทำให้ความสัมพันธ์ของสามีและภรรยาต้องจบลงเลยหรือ ?
การเสียลูก นับโศกนาฏกรรมที่ไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้เกิดขึ้น หากเกิดขึ้นก็ยากที่จะทำใจได้ แน่นอนว่า ความเศร้าที่กัดกินในหัวใจ ย่อมส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ และ ความรู้สึกของสามี และ ภรรยาอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะทำให้ความสัมพันธ์เดินทางมาถึงฟางเส้นสุดท้าย
เมื่อสูญเสียลูก
การเสียชีวิตของลูก ถือเป็นฝันร้ายที่สุดของพ่อแม่ทุกคน ตามหลักแล้วพ่อแม่ควรจะจากโลกนี้ไปก่อนลูก แต่มันอาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป พ่อแม่บางคนต้องเจอฝันร้ายที่กลายเป็นจริง หลายคู่ถึงกับเสียศูนย์ และ ต้องเลิกรากันไปในช่วงเวลาที่ทั้งคู่ควรจะเป็นกำลังใจ และ ที่พึ่งพิงให้กันและกัน สถิติบางสำนักระบุว่า 80-90% ของครอบครัวที่สูญเสียลูก มักลงเอยด้วยการหย่าร้าง แม้หลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับข้อมูลนี้ แต่ประเด็นของเรา คือ การเสียชีวิตของลูกอาจเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ทำให้เราเจ็บปวดที่สุดในชีวิต
เสียศูนย์
นับตั้งแต่วันที่ลูกลืมตาดูโลก สิ่งต่าง ๆ ในครอบครัวจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ความสนใจทั้งหมดของคนสองคนที่เคยมีให้แค่กัน และ กันจะถูกปันไปให้สมาชิกใหม่ของครอบครัว ชีวิตประจำวันจะถูกปรับ เพื่อ ให้เข้ากับวงจรชีวิตของเจ้าตัวน้อย แม้คุณพ่อ และ คุณแม่หวังว่าจะยังคงให้เวลากันและกัน แต่ แน่นอนว่าเวลาส่วนใหญ่ของทั้งคู่จะหมดไปกับการช่วยกันดูแลลูกน้อย เมื่อลูกจากไป สิ่งต่าง ๆ ในครอบครัวก็จะเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เจ็บปวด
เมื่อลูกจากไป ชีวิตประจำวันที่เคยถูกปรับให้เข้ากับวงจรชีวิตของลูกก็จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน ทุก ๆ อย่างที่คุณทำในแต่ละวันจะคอยย้ำเตือนถึงช่วงเวลาที่ยังมีเขาอยู่ในครอบครัว และ เหลือไว้เพียงความว่างเปล่า เราเคยป้อนข้าวเขาเวลานี้ เคยพาเขาไปเล่นที่สวนเวลานั้น ฯลฯ ทั้งหมดเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน และ ไม่คาดคิด ทั้งพ่อ และ แม่ต่างไม่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่รู้ว่าควรจะทำอะไรกับเวลา และ พลังงานที่เคยทุ่มเทให้ลูก เจ้าตัวน้อยที่เราเคยรัก และดูแลได้จากโลกนี้ไปแล้ว
ความทุกข์ทำให้ความสัมพันธ์เหินห่าง และ ความรักสั่นคลอน
แม้ว่าทั้งคู่จะสามารถทำใจยอมรับกับการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ได้ แต่ ความเจ็บปวดมักทำให้หลายคนเหินห่างจากกัน ทั้ง ๆ ที่ควรจะดูแลกันอย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาชีวิตคู่ให้อยู่ต่อไป พฤติกรรมเช่นนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ เหตุผลหลัก คือ ทั้งคู่มักไม่อยู่ในสภาพที่สามารถให้กำลังใจอีกฝ่ายได้ ต่างคนต่างบอบช้ำ และ ต่างก็ต้องการที่พึ่งในช่วงที่ตัวเองกำลังเจ็บปวด
เมื่อทั้งพ่อ และ แม่ต่างอ่อนแอเกินกว่าจะที่พึ่งให้กัน ทั้งคู่จึงเริ่มเหินห่างกัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ทั้งคุณพ่อ และ คุณแม่ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือหาคนที่สามารถพูดคุยด้วยสม่ำเสมอเพื่อสร้างกำลังใจ แทนที่จะตีตัวออกจากกัน เราควรหันหน้าเข้าหากัน หรืออย่างน้อยที่สุด ก็อยู่ในจุดเดิมจนกว่าจะรู้สึกแข็งแรงขึ้น
โทษอีกฝ่าย
สิ่งที่เลวร้ายอีกสิ่งหนึ่งที่พ่อแม่มักทำเมื่อสูญเสียลูกไป คือ การโทษอีกฝ่าย ในช่วงเศร้าโศกอย่างหนัก การโบ้ยความผิดให้ใครสักคน หรือ อะไรสักอย่างถือเป็นพฤติกรรมปกติตามธรรมชาติ เราต่างพยายามหาคำตอบให้กับคำถาม “ทำไม?” อีกร้อยคำถามที่วนเวียนอยู่ในหัว และ เรามักเลือกที่จะโทษคนอื่นเพื่อระบายความเจ็บปวด
ชีวิตคู่จะสะบั้นลงเมื่อเราเริ่มโทษกันและกัน ต่างฝ่ายอาจต่างโทษตัวเองแม้ว่ามันอาจจะไม่ใช่ความผิดของพวกเขาเลยก็ตาม การโยนความผิดให้อีกฝ่ายยิ่งจะทวีความเจ็บปวดให้ตัวเอง ความคับแค้นใจก่อตัวขึ้นจนถึงจุดที่ความรักที่เคยมีให้กันกลับกลายเป็นความเกลียดชัง
ฟางเส้นสุดท้ายจนนำไปสู่ การหย่า
สาเหตุที่ทำให้คู่แต่งงานต้องเลิกรากันหลังพวกเขาสูญเสียลูกไปมักไม่ใช่เรื่องการตาย แต่เพราะชีวิตคู่ไม่มั่นคงพอ ความสัมพันธ์บางคู่อาจแข็งแรงพอจะทนอุปสรรคเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ไม่สามารถต้านทานอุปสรรคอันหนักหน่วงได้ การเสียชีวิตของลูกไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ความสัมพันธ์ต้องยุติลง แต่มันเป็นฟางเส้นสุดท้าย หลายคู่อยู่ด้วยกันเพียง เพราะ เห็นแก่ลูก เมื่อกาวใจที่ยึดทุกอย่างไว้ด้วยกันจากไป หลงเหลือไว้แต่ความแตกแยก การสูญเสียลูกไปก็นับว่าหนักหนาพอแล้ว แต่ทั้งการต้องเสียลูก และ ชีวิตแต่งงานนับเป็นเรื่องที่หนักเกินจะรับ ดังนั้น แทนที่จะตีตัวออกห่าง ขอให้จับมือกันไว้ แทนที่จะโยนความผิดให้อีกฝ่าย ขอให้ยอมรับว่าบางอย่างมันก็อยู่เหนือการควบคุมของเรา แทนที่จะปล่อยให้ทุกอย่างทลายไปท่ามกลางพายุ ขอให้อดทน และ พยายามก้าวผ่านมันไปให้ได้ หากคุณต้องประสบกับเหตุการณ์เช่นนี้ เราแนะนำให้คุณหาผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพหรือกลุ่มสนับสนุนด้านจิตวิทยา เหตุการณ์ทำนองนี้ไม่ใช่เหตุการณ์ปกติ และ ไม่ใช่สิ่งที่เราจะรับมือคนเดียวได้
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อ ติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจาก ความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนุบสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็งเพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
Source : wikihow
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
เหตุผลที่สามีภรรยาหย่าร้าง
กลับไปหลงรักแฟนอีกครั้ง
อาหารเพิ่มพลังให้ชีวิตคู่ร้อนแรง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!