X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ชีวิตแม่ลูกสอง ที่ไม่มีใครเคยบอก

บทความ 5 นาที
ชีวิตแม่ลูกสอง ที่ไม่มีใครเคยบอก

นึกภาพแม่ลูกสองนอนอยู่บนเตียง มือซ้ายกอดลูกคนโตพร้อมอ่านนิทานกล่อมนอน มือขวากอดลูกคนเล็กพร้อมควักนมให้ลูกดูด ตอนแรกฉันก็ยังหวั่นๆ ว่าจะผ่านคืนนี้ไปได้ไหม คืนที่ต้องกล่อมลูกนอนพร้อมกันสองคน และด้วยความอึดฮึดที่ฝึกฝนมาอย่างดี ฉันก็ทำสำเร็จในเวลาไม่นาน แต่ไม่ใช่แค่ความอดทนเท่านั้นที่ต้องมีในการเลี้ยงลูกสองคน การรับมือเด็กสองคนให้ได้อยู่หมัดจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง มาฟังกันค่ะ

แม่ลูกสอง, เตรียมตัวเป็นคุณแม่ลูกสอง, ชีวิตแม่ลูกสอง

เตรียมตัวเป็นคุณแม่ลูกสอง แม่ลูกสอง

ชีวิตของแม่ลูกสอง

แม่ลูกสอง ฉันตั้งใจว่าจะมีลูกคนที่สองให้ห่างกับคนแรกประมาณสองปี เมื่อตั้งท้องลูกคนที่สอง ตอนลูกคนแรกอายุประมาณขวบนิด ๆ ฉันก็เตรียมตัวเตรียมใจในหลายเรื่อง เพราะรู้แน่ว่าการเลี้ยงลูกสองคนไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

สิ่งแรกที่ต้องเตรียมสำหรับการเป็น คุณแม่ลูกสองคือ เตรียมตัวเตรียมใจเจ้าคนพี่ ให้ดูแลตัวเองได้ ฉันจะได้ไม่ห่วงหน้าพะวงหลังเมื่อลูกคนที่ สองคลอดออกมา ฉันเริ่มด้วยการฝึกลูกให้เลิกแพมเพิสทั้งตอนกลางวัน กลางคืน ฝึกให้เขาบอกอึ/ฉี่เอง ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ทุกอย่างก็ผ่านฉลุย แต่ต้องอดทน ใจเย็นกับลูก ไม่ดุด่าเมื่อเขาทำไม่ได้ และ ชมเชยเมื่อลูกทำได้ดี รวมถึงต้องขยันซักกางเกงที่ลูกฉี่ราด และ ผ้าปูที่นอนที่เปียกฉี่ลูก เช่นกัน นอกจากนี้ฉันก็พยายามฝึกให้เขาทำอะไรด้วยตัวเอง เช่น กินข้าวเอง (แต่ยังทำได้เพียงบางครั้ง) แปรงฟันเอง เป็นต้น

อีกเรื่องที่ต้องเตรียมลูกคนโตคือ เตรียมใจ ให้ลูกรับรู้ว่า จะมีน้องอีกคนแล้ว และ เขาจะไม่ใช่เด็กคนเดียวในบ้านอีกต่อไป แน่นอนว่าเรื่องอิจฉาน้องอาจเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา แต่ก็ต้องสอนให้เขารู้ว่าน้องคือเพื่อนอีกคน ที่จะมาอยู่ในครอบครัว น้องไม่ใช่คนที่จะมาแย่งความรัก ฉันใช้วิธีอ่านนิทานที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับพี่น้อง หรือ การมีลูกอีกคนให้ลูกคนโตฟัง เช่น เรื่องเจ้าตัวเล็ก ว่าด้วยแม่ท้องน้องอีกคน และ คลอดน้องออกมา เรื่องแค่นิดหน่อยเอง ว่าด้วยพี่สาวที่ต้องหัดช่วยตัวเองเมื่อมีน้อง เป็นต้น เมื่อเล่านิทานก็จะบอกลูกไปด้วยว่าเดี๋ยวเขาก็จะมีน้องเหมือนในนิทานแล้ว

และ เมื่อคลอดลูกคนเล็กแล้วสิ่งที่ฉันพยายามทำมากคือ ทำให้ลูกคนโตไม่รู้สึกว่าเขาโดนแย่งทุกอย่างไป โดยพยายามดำเนินกิจวัตรประจำวันให้ไม่ต่างจากเดิม พยายามให้เวลาดูแลลูกคนโตเท่าเดิม เมื่อใครให้ของขวัญน้องคนเล็ก ก็จะให้พี่คนโต แล้วบอกว่าของมันเล็กไป แบ่งให้น้องละกัน เพื่อเป็นการให้ความสำคัญกับลูกคนโต และให้เขาช่วยดูแลน้อง เช่น ช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อม หยิบจับอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เขารู้สึกมีส่วนร่วมด้วย

กรณีที่เลี้ยงลูกเอง อย่าลืมหาใครมาช่วยดูแลลูกคนโต โดยซ้อมตั้งแต่ใกล้คลอด ฝึกให้เขาได้คุ้นเคย กับคนที่ช่วยเลี้ยง ให้คนอื่นช่วยกล่อมนอน พากินข้าว อาบน้ำ เป็นต้น เพราะเผื่อเวลาที่ แม่ต้องไปคลอดน้อง เขาจะได้สามารถอยู่กับคนอื่นได้

หลังคลอดลูกคนที่สอง อาจมีหลายอย่างที่ไม่เป็นไปตามแผน คุณแม่จะรับมืออย่างไร >>>คลิกหน้าถัดไป 

ชีวิตแม่ลูกสอง ที่ไม่มีใครเคยบอก

ชีวิตแม่ลูกสอง ที่ไม่มีใครเคยบอก

ในการเตรียมตัวเองนั้น ก่อนลูกคนเล็กคลอดทำได้แค่เตรียมใจ ตั้งสติ ใจเย็น มองโลกในแง่บวกเข้าไว้ ถ้าจะพอซ้อมมือได้ก็คือ รับภารกิจเลี้ยงหลาน และ ลูกพร้อมกันหลาย ๆ คนก็จะพอคาดเดาสถานการณ์ และ เตรียมรับมือได้ค่ะว่าจะต้องเจอกับอะไรบ้างในอนาคต เมื่อเวลาลูกคนเล็กคลอด นี่ล่ะของจริงแล้ว บางครั้งคุณอาจต้องรับมือลูกสองคนในเวลาเดียวกัน เช่น กล่อมนอนพร้อมกัน กินข้าวพร้อมกัน (ขณะให้นมคนเล็ก ฉันก็ดูแลลูกคนโตกินข้าวไปด้วย) เคล็ดลับของฉัน คือ ใจสู้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายแค่ไหน เช่น ลูกงอแงทั้งสองคน ก็คิดในแง่ดีเข้าไว้ ว่าเดี๋ยวมันก็ผ่านไป แต่ถ้าไม่ไหวจริง ๆ เช่น ลูกคนโตป่วนน้อง อย่าอารมณ์เสียเหวี่ยงวีนใส่ลูก จะทำให้ลูกตกใจ และ เข้าใจผิดว่าคุณไม่สนใจเขา แต่ให้หาตัวช่วย เรียกคนอื่นมาช่วยดูลูกคนใดคนหนึ่งก่อน

และ อีกอย่างที่สำคัญมากคือ ห้ามป่วย แม่ลูกสองต้องรักษาสุขภาพให้ดี เพราะถ้าป่วยจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรงเลี้ยงลูก และหงุดหงิดใส่ลูกได้ง่าย แล้วแย่ไปกว่านั้นอาจเอาเชื้อโรคไปติดลูกทั้งสองได้ด้วย

การเตรียมข้าวของสำหรับลูกคนเล็ก พอเป็นลูกคนที่สอง เชื่อแน่ว่าต้องง่ายขึ้นกว่าลูกคนแรก ฉันใช้วิธีนึกถึงว่าตอนลูกคนแรก มีอะไรขาด อะไรเกินไปบ้าง อะไรได้ใช้ อะไรไม่ได้ใช้บ้าง และก็เตรียมข้าวของจากประสบการณ์ที่มี เช่น ฉันกลัวลูกคนเล็กหัวแบนต้องเตรียมหมอนหลุมด้วย ขณะที่ตอนลูกคนโตไม่รู้เรื่องนี้เลย หรือ ต้องเตรียมครีมกันผื่นผ้าอ้อมด้วย เพราะควรทาครีมกันผื่นผ้าอ้อมให้ลูกทุกครั้งเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อกันลูกก้นแดง นอกจากนี้ข้าวของหลายอย่างไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ เช่น ผ้าอ้อม เสื้อผ้าเด็กแรกเกิด ที่นอน เตียง เปล เครื่องปั๊มนม ให้ลองตรวจสอบสภาพ หากชำรุดเล็กน้อย ซ่อมเอาก็เพียงพอค่ะ การมีลูกหลายคนไม่ใช่การเพิ่มรายจ่ายอย่างเดียว แต่เป็นการใช้ของให้คุ้มค่าด้วยค่ะ

นอกจากนี้การเป็นคุณแม่ลูกสองอาจทำให้ไม่มีเวลากระดิกตัวไปไหนเลย ฉะนั้นการช้อปปิ้งออนไลน์เป็นเรื่องที่ตอบโจทย์คุณแม่ได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง แค่คลิกก็ได้ของใช้ลูกที่มีให้เลือกหลากหลาย แสนสะดวกสบายจริงๆ

อ่านคำแนะนำสำหรับคนอยากมีลูกสอง>>>คลิกหน้าถัดไป 

ชีวิตแม่ลูกสอง ที่ไม่มีใครเคยบอก

เตรียมตัวเป็นคุณแม่ลูกสอง

คำแนะนำสำหรับคนอยากมีลูกสอง
แม่ลูกสอง การเป็นแม่ลูกสองหรือจะมากกว่าสองก็ได้นั้นเป็นเรื่องที่สนุก ไม่ยากอย่างที่คิด เมื่อมีประสบการณ์การเลี้ยงลูกมาหนึ่งคนแล้ว เชื่อได้เลยค่ะว่าคนต่อๆ มา คุณแม่จะเลี้ยงได้แบบมือโปรฯ ราวกับพยาบาลแผนกเด็กอ่อนเลย และเมื่อโตขึ้นเด็กๆ จะได้รู้จักการแบ่งปัน ช่วยเหลือดูแลกัน

ความคิดที่ว่ามีลูกมากจะยากจน ไม่จริงเลยค่ะ จริงอยู่ว่ามีลูกมากจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น แต่หากวางแผนบริหารจัดการดีๆ การมีลูกมากเป็นการใช้ข้าวของต่างๆ ให้คุ้มค่าต่างหาก เพราะซื้อครั้งเดียวลูกได้ใช้หลายคน

อย่าลืมหาผู้ช่วยที่ไว้ใจได้มาคอยผลัดเปลี่ยนช่วยดูแลลูก เมื่อยามที่คุณแม่ไม่ไหว แนะนำว่าควรหาคนที่ช่วยเลี้ยงได้ทั้งคนโตและคนเล็กจะดีที่สุดค่ะ

ที่มาอ้างอิง https://s3.theasianparent.com/tap-assets-prod/wp-content/uploads/sites/25/2015/07/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%871.jpg

ฝึกให้พี่รักน้องตั้งแต่อยู่ในท้อง

สิ่งที่แม่จะทำแตกต่าง เมื่อมีลูกคนที่ 2

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ธิดา พานิช

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ชีวิตแม่ลูกสอง ที่ไม่มีใครเคยบอก
แชร์ :
  • 8 เรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ แต่ไม่มีใครเคยบอก

    8 เรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ แต่ไม่มีใครเคยบอก

  • คู่มือเตรียมตัวเป็นคุณพ่อ ลูกจะคลอดแล้วต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

    คู่มือเตรียมตัวเป็นคุณพ่อ ลูกจะคลอดแล้วต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • 8 เรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ แต่ไม่มีใครเคยบอก

    8 เรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ แต่ไม่มีใครเคยบอก

  • คู่มือเตรียมตัวเป็นคุณพ่อ ลูกจะคลอดแล้วต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

    คู่มือเตรียมตัวเป็นคุณพ่อ ลูกจะคลอดแล้วต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ