TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ย้ายลูกไปห้องนอนตัวเอง วิธีแยกห้องนอนให้ลูกไม่งอแง ควรนอนคนเดียวเมื่อไหร่ ?

บทความ 3 นาที
ย้ายลูกไปห้องนอนตัวเอง วิธีแยกห้องนอนให้ลูกไม่งอแง ควรนอนคนเดียวเมื่อไหร่ ?

หากคุณได้ทำพลาดที่ให้ลูกน้อยวัยหัดเดินหรือแม้แต่วัยประถมบางคนได้ปีนขึ้นเตียงนอนกับคุณในแต่ละคืน หรือคุณและสามีก็ปล่อยให้ลูกนอนด้วย (ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม) แต่เวลานี้มาถึงแล้วที่คุณจะต้องเอาเตียงนอนของคุณคืนมา ปัญหาก็คือว่า คุณจะทำอย่างไร ?

บทความที่น่าสนใจ : ให้ลูกนอนคนเดียว แยกห้องนอนลูก กี่ขวบดี ข้อดีVSข้อเสีย แยกเตียงนอนลูก

 

ย้ายลูกไปห้องนอนตัวเอง

 

เทคนิค การ ย้ายลูกไปห้องนอนตัวเอง

ภารกิจหลักของคุณคือทำยังไงก็ได้ให้คุณได้เตียงนอนของคุณคืนมาและได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ เรามีวิธีการ 6 ประการมาฝาก เพื่อให้คุณย้ายลูกไปเตียงนอนในห้องนอนของตนเองได้ง่าย ๆ

1. เริ่มช้า ๆ อย่าพยายามประกาศกร้าวให้ลูกรู้ว่าคุณจะเปลี่ยนห้องนอนให้ลูก เพราะเด็กในวัยนี้จะไม่ชอบ

2. สร้างให้เป็นกิจวัตรประจำวัน คุณต้องมั่นใจว่าลูกจะแต่งตัวและเตรียมตัวเข้านอนในห้องนอนของตัวเอง อ่านนิทานให้ลูกฟังและทำให้ลูกรู้สึกสบายมากที่สุด

3. ทำให้ลูกรู้สึกดีเวลาเข้านอนในเตียงนอนของตัวเอง ให้ลูกเลือกแบบเตียงนอนหรือลายของผ้าปูที่นอนเอง และต้องแน่ใจว่าห้องนอนของลูกอบอุ่น สะดวกสบาย และไม่กระตุ้นให้ตื่นตัวมากเกินไป นอกจากนี้ ให้ลูกได้ใช้ผ้าห่มโปรดหรือได้นอนกอดตุ๊กตาตัวโปรดของลูก

4. การเปิดไฟบางดวงทิ้งไว้ในห้องนอนลูกก็ไม่ใช่เรื่องแย่อะไรถ้านั่นทำให้ลูกน้อยของคุณนอนหลับได้ดีขึ้น (และนอนอยู่กับที่) คุณอาจวางโถปลาเล็ก ๆ ไว้ในห้องลูก แน่นอนว่าให้ห่างจากมือลูกแต่ให้ลูกมองเห็นได้ การเปิดไฟเล็กน้อยและการเคลื่อนไหวของปลามักช่วยให้ลูกรู้สึกดีขึ้น

5. หากลูกน้อยของคุณร้องไห้ คุณควรปล่อยให้เขาร้องในระยะเวลาที่เหมาะสมก่อนที่ลูกจะเข้านอนในห้องนอนของตัวเอง และเวลาที่เหมาะสมที่ควรให้ลูกร้องงอแงบ้างคือประมาณ 5 นาที เรารู้ว่ามันฟังดูเหมือนเป็นเวลาที่ยาวนาน แต่จริง ๆ แล้วมันไม่นานเลย แต่ถ้าลูกไม่ยอมหยุดร้อง คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าไปในห้องของลูกและให้ความมั่นใจกับลูกว่าลูกจะไม่เป็นไรแล้วค่อยออกมาจากห้องของลูก

6. แสดงความอ่อนโยนกับลูกในขณะที่ยังหนักแน่นกับสิ่งที่คุณทำอยู่ หากลูกน้อยมาที่ห้องของคุณ ให้พาลูกกลับไปที่ห้องของตัวเองด้วยอาการอ่อนโยนและบอกลูกด้วยเสียงที่หนักแน่นว่าห้องนอนของลูกคือที่ที่ลูกจะนอน ไม่งั้นทั้งลูกและคุณอาจไม่ได้หลับสนิทหรือพักผ่อนอย่างเพียงพอ ดังนั้น การยืนกรานของคุณจะประสบความสำเร็จ

7. ควรปรับเวลาพาลูกเข้านอนให้เร็วขึ้น เพื่อเผื่อเวลากว่าที่ลูกจะหลับ เพราะการให้ลูกนอนคนเดียวในช่วงแรกเด็กจะรู้สึกไม่ชิน อาจส่งผลให้นอนหลับยาก ทางที่ดีคือแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกเข้านอนด้วยตัวเอง ร้องเพลงกล่อม เล่านิทานให้ฟัง เป็นต้น จะทำให้ลูกอุ่นใจและเมื่อสบายใจแล้วจะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

ทำไมการ ย้ายลูกไปห้องนอนตัวเอง ถึงสำคัญ

เมื่อลูกยังเล็ก เด็กจะรู้สึกผูกพันกับคุณพ่อคุณแม่มาก ดังนั้นอาจไม่ผิดที่เขาอยากนอนข้างคุณพ่อคุณแม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อลูกน้อยโตขึ้น เขาจะต้องนอนคนเดียวในสักวันหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีเหตุผลหลายประการที่มีประโยชน์สำหรับนอนคนเดียว ตั้งแต่ยังเป็นทารก พ่อแม่จะคอยอยู่เคียงข้างลูกเสมอ ถ้าลูกน้อยตื่นขึ้นมากลางดึกในเปลของเขา หรือนอนเตียงเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ การกอดมักจะทำให้ลูกนอนหลับต่อได้อีกครั้ง แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้เมื่อลูกของคุณโตขึ้น ดังนั้นเขาจึงต้องเรียนรู้ที่จะสงบสติอารมณ์ด้วยตัวเองและไม่พึ่งพาคุณพ่อคุณแม่

หากพ่อแม่อยู่ใกล้ลูกตลอดเวลา รวมทั้งเวลาที่เขาหลับ อาจทำให้เขาคิดว่าคุณพ่อคุณแม่จะอยู่เคียงข้างลูกตลอดเวลา ซึ่งเป็นไปไม่ได้และไม่ถูกต้อง สิ่งนี้อาจจะทำให้เป็นปัญหาสำหรับเด็กได้ในอนาคต

การย้ายให้ลูกไปนอนในที่นอนของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ทุกคนได้หลับอย่างเต็มที่ การให้ลูกน้อยเป็นตัวคั่นกลางระหว่างคุณพ่อกับคุณแม่หรือนอนติดหลัง ติดคอ อาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้หลับพักผ่อนอย่างสงบและเพียงพอ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนอนหลับเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง สามารถทำสิ่งต่าง ๆ และดูแลลูกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การให้ลูกน้อยวัยหัดเดินได้นอนในที่นอนของตัวเองเป็นการสอนให้เขารู้จักความเป็นอิสระและให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง นี่อาจไม่ใช่เรื่องที่ลูกน้อยวัยนี้พึงพอใจมากนัก แต่เชื่อเราเถอะ ความพึงพอใจสามารถเกิดขึ้นได้ และท้ายที่สุด การให้ลูกนอนเตียงกับคุณและสามีไม่เป็นผลดีกับสุขภาพทางอารมณ์ของลูกเลย เด็กต้องรู้ว่ามีขอบเขตความสัมพันธ์ และห้องนอนควรจะเป็นของคุณกับสามี ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่

 

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

ทำอย่างไร เมื่อลูกไม่ยอมนอนคนเดียว

วิธีทำให้ลูกตื่นเช้า

ภัยเงียบในห้องนอนลูกน้อยที่ไม่ควรมองข้าม

ที่มาข้อมูล : parenting.firstcry , parents

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • ย้ายลูกไปห้องนอนตัวเอง วิธีแยกห้องนอนให้ลูกไม่งอแง ควรนอนคนเดียวเมื่อไหร่ ?
แชร์ :
  • 12 วิธี เลี้ยงลูกให้คิดเป็น ในยุคที่ AI ตอบทุกอย่างให้หมด

    12 วิธี เลี้ยงลูกให้คิดเป็น ในยุคที่ AI ตอบทุกอย่างให้หมด

  • 9 วิธี สอนลูกให้มีความพยายาม แนวทางสร้างลูกที่ไม่ยอมแพ้ตั้งแต่วัยเด็ก

    9 วิธี สอนลูกให้มีความพยายาม แนวทางสร้างลูกที่ไม่ยอมแพ้ตั้งแต่วัยเด็ก

  • “ยิ่งพูดลูกยิ่งดื้อ” 7 คำพูดของพ่อแม่ที่ (ไม่รู้ตัวว่า) ทำให้ลูกต่อต้าน และวิธีเปลี่ยนให้เวิร์ก

    “ยิ่งพูดลูกยิ่งดื้อ” 7 คำพูดของพ่อแม่ที่ (ไม่รู้ตัวว่า) ทำให้ลูกต่อต้าน และวิธีเปลี่ยนให้เวิร์ก

powered by
  • 12 วิธี เลี้ยงลูกให้คิดเป็น ในยุคที่ AI ตอบทุกอย่างให้หมด

    12 วิธี เลี้ยงลูกให้คิดเป็น ในยุคที่ AI ตอบทุกอย่างให้หมด

  • 9 วิธี สอนลูกให้มีความพยายาม แนวทางสร้างลูกที่ไม่ยอมแพ้ตั้งแต่วัยเด็ก

    9 วิธี สอนลูกให้มีความพยายาม แนวทางสร้างลูกที่ไม่ยอมแพ้ตั้งแต่วัยเด็ก

  • “ยิ่งพูดลูกยิ่งดื้อ” 7 คำพูดของพ่อแม่ที่ (ไม่รู้ตัวว่า) ทำให้ลูกต่อต้าน และวิธีเปลี่ยนให้เวิร์ก

    “ยิ่งพูดลูกยิ่งดื้อ” 7 คำพูดของพ่อแม่ที่ (ไม่รู้ตัวว่า) ทำให้ลูกต่อต้าน และวิธีเปลี่ยนให้เวิร์ก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว