ปกป้องลูกจากภัยร้ายทางอินเตอร์เน็ต
ปกป้องลูกจากภัยร้ายทางอินเตอร์เน็ต-01
ดร. นคร เสรีรักษ์ เผยผลสำรวจความเห็นที่พ่อแม่ไทยมีต่อการใช้อินเตอร์เน็ตของลูก
ดร.นคร เสรีรักษ์ ผู้ก่อตั้งฟอรั่มไพรเวซี่ไทยแลนด์ และ ที่ปรึกษานโยบายเครือข่ายพลเมืองเน็ตของ ประเทศไทย (Thai Netizen Network) ร่วมกับ SafeGov.org สำรวจความคิดเห็น พ่อแม่ ที่มีลูกวัยเรียน 300 คน โดยเผยว่า พ่อแม่ 90% คาดว่าลูกจะได้รับประโยชน์ และ เกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้อินเตอร์เน็ต แต่สิ่งที่กังวลคือ บริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไม่ควรมีโฆษณา หรือ นำข้อมูลส่วนตัวของเด็กไปใช้เพื่อแสวงหากำไร ในขณะที่ 83% ของ พ่อแม่เห็นว่าควรมีกฎหมายบังคับไม่ให้มีโฆษณาในระบบอินเตอร์เน็ตของโรงเรียน และ อนุญาตให้ผู้ปกครองควบคุมข้อมูลส่วนตัวของเด็กที่บริษัทอินเตอร์เน็ตรวบรวมไปด้วย
ปกป้องลูกจากภัยร้ายทางอินเตอร์เน็ต อันตรายที่มาจากอินเตอร์เน็ตยังรวมถึงการกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyber Bullying) หรือ ความรุนแรงที่เด็กทำต่อเด็ก ด้วยการโพสต์ล้อชื่อ พ่อแม่ การตัดต่อภาพ การสร้างเรื่องโกหก หรือ การกีดกันเพื่อนเพื่อสร้างความแปลกแยก สถิติการกลั่นแกล้งออนไลน์ของไทยสูงเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย เป็นรองเพียงประเทศญี่ปุ่น และ การกลั่นแกล้งออนไลน์ยังเป็น 1 ใน 10 สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยฆ่าตัวตาย ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ นักวิจัยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาการเด็ก และ ครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าการกลั่นแกล้งออนไลน์มักเกิดขึ้น ในสังคมที่เห็นว่าการใช้ความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ เด็ก ที่ถูกแกล้งจะแกล้งเพื่อนคืน เป็นวงจรไม่รู้จบ
ปกป้องลูกจากภัยร้ายทางอินเตอร์เน็ต-02
ผศ. ดร. วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ อธิบายปัญหาการกลั่นแกล้งออนไลน์
ผู้ปกครองหลายท่านคิดว่าการติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบการใช้งานอินเตอร์เน็ต หรือ การกีดกันเด็กไม่ให้ใช้สื่อออนไลน์ใด ๆ เลยคือวิธีป้องกันความเป็นส่วนตัวและ ความปลอดภัยในการใช้อินเตอร์เน็ตของเด็ก แต่ทั้งดร. นคร และ ผศ.ดร. วิมลทิพย์เสนอว่าวิธีที่ถูกต้อง และ ดีที่สุดคือ พ่อแม่ ต้องคอยใส่ใจลูก หมั่นสังเกตพฤติกรรม และ ฝึกลูกให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง ยืนอยู่เคียงข้างลูกเมื่อเจอปัญหา ที่สำคัญ ต้องฝึกตัวเองให้รู้เท่าทันสื่อมากกว่าเด็ก เพื่อทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี และ สามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่เด็กเมื่อเกิดปัญหาได้
ถึงแม้รูปแบบของรายการทีวี และ วิดีโอเกมจะเปลี่ยนไป พ่อแม่ หลายๆคนก็มีความกังวลเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้มาเป็นเวลานานแล้ว แต่ตอนนี้โซเชียลมีเดียเป็นสิ่งใหม่ที่พวกเขาจะต้องกังวล
วัยรุ่นในอเมริกานั้นมีการใช้งานโซเชียลมีเดียกันอย่างแพร่หลาย; 71% ของวัยรุ่นเหล่านี้ใช้งานโซเชียลมีเดียมากกว่าหนึ่งแพลตฟอร์ม เด็กสมัยนี้ก็ใช้เวลามากมายไปกับโซเชียลมีเดีย มีการสำรวจโดยองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่ชื่อว่า Common Sense Media ซึ่งพบว่าเด็กๆอายุระหว่าง 8 ถึง 12 ปีนั้นมีการออนไลน์หกชั่วโมงต่อวัน โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้งานโซเชียลมีเดีย และ เด็กที่อายุระหว่าง 13 ถึง 18 ปีนั้นอยู่บนโลกออนไลน์นานถึงเก้าชั่วโมง!
และ จากการศึกษาล่าสุดของ Harvard ก็พบว่าถึง แม้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มส่วนใหญ่ ๆ จะกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ใช้งานที่ 13 ปี แต่ 68% ของ พ่อแม่ ในการสำรวจนี้บอกว่าพวกเขาช่วยลูก ๆ ที่อายุต่ำกว่านี้สร้างบัญชีโซเชียล
และโซเชียลมีเดียยังทำให้เด็กๆหรือวัยรุ่นติดได้ และ ยังเป็นช่องทางสู่หลาย ๆ ยอย่าง เช่น การกลั่นแกล้งบนโลกอินเตอร์เน็ต (cyberbullying), การแชร์สิ่งที่ไม่เหมาะสม, และ การพูดคุยกับคนแปลกหน้า (ซึ่งเราจะพูดถึงเรื่องนี้ในส่วนถัดไป)
การใช้งานโซเชียลมีเดียนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างตัวตนทางสังคมของเด็ก ๆ และ ยังเป็นช่องทางในการเชื่อมต่อกับเพื่อน ๆ และ ยังอาจเป็นวิธีที่ดีในการใช้เวลากับเพื่อนๆเหล่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญก็คือการที่ต้องทราบขอบเขตของการใช้งานเพื่อให้การใช้โซเชียลมีเดียเป็นประสบการณ์ที่ดี
ปกป้องลูกจากภัยร้ายทางอินเตอร์เน็ต-03
ที่มาอ้างอิง https://th.vpnmentor.com
theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดีจะช่วยเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาะแวดล้อมในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย และ เป็นไปตามที่ พ่อแม่ต้องการการเลือกโรงเรียนให้กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี่ การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกได้ เช่น มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรวิชาการที่พอดีกับการเรียนรู้ การใช้ Play Base Learning เพื่อเสริทสร้างพหุปัญญษทั้ง 8 ด้าน หรือ EF ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill อย่างสมดุลย์ เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และ ทำให้เด็กค้นพบตัวตน และมีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
ตามลูกให้ทันยุคโซเชียลมีเดียครองโลก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!