คาราเต้ (Karate) เป็นการต่อสู้ที่ผสมผสานระหว่างศิลปะการต่อสู้แบบจีน และญี่ปุ่นเข้าด้วยกันอย่างลงตัว สามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่เด็ก ๆ ด้วยความที่มีต้นกำเนิดครั้งแรกจากประเทศญี่ปุ่น จะทำให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ความเคารพ และความรอบคอบใจเย็นไปพร้อม ๆ กับความแข็งแรงของร่างกายได้เป็นอย่างดี
ประวัติศิลปะป้องกันตัวคาราเต้
“คาราเต้” เป็นกีฬาที่กำเนิดขึ้นมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยมีการปรับเปลี่ยนมาจากมวยจีนในอดีต ผ่านการติดต่อค้าขายกัน พบครั้งแรกในเมืองโอกินาวะ (Okinawa) ประมาณ พ.ศ.2464 ในครั้งแรกถูกเรียกว่า “โทเต้ (Tode)” ซึ่งเป็นภาษาของเมืองโอกินาวะ หรือ “คาราเต้โด” ในภาษาญี่ปุ่น รูปแบบการต่อสู้จะใช้มือเปล่า เช่น กำปั้น, สันมือ, นิ้ว, เท้า และศอก เป็นต้น ในเวลานั้นจะมีสำนักหลักเกิดขึ้นมาถึง 3 สำนัก คือ นาฮาเต้ (Naha Te), ชูริเต้ (Shuri Te) และโทมาริเต้ (Tomari Te) โดยจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้
- นาฮาเต้ เมืองนาฮา : เป็นการศึกษารูปแบบมวยของจีนด้วยการเดินทางไปศึกษา ก่อนจะกลับมาปรับเปลี่ยนกับมวยของสำนักตน ต่อมามีการปรับเปลี่ยนชื่อเป็น “โกจูริวคาราเต้” ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ โกจูริวที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบท่าใหม่ ๆ ออกมา ผ่านการผสมมวยจีน และโกจูไกที่ยึดหลักการฝึกแบบดั้งเดิมมากกว่า
- ชูริเต้ เมืองชูริ : วิชาศิลปะการต่อสู้คาราเต้จากเมืองนี้น่าจะเป็นที่รู้จักมากที่สุด เพราะนอกจากจะมีการไปศึกษาก่อนที่จีนแล้ว ยังมีชาวจีนอพยพมาอยู่ที่นี่ และทำการสอนมวยจีนกันอย่างใกล้ชิด มีการเผยแพร่เข้าสู่แผ่นดินญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ และได้รับการผลักดันอย่างเต็มที่จาก “จิกาโร่ คาโน” ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งยูโดโคโดกัน
ในส่วนของโทมาริเต้นั้นไม่ได้มีข้อมูลมากนักในญี่ปุ่น โดยมีความหมายว่า “ฝ่ามือจีนการต่อยมวยแบบถัง” หรือ “ความว่างเปล่า” และด้วยความนิยมที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา ทำให้ปัจจุบันได้รับการสนใจ และมีการผลักดันให้มีการแข่งขันอย่างเป็นทางการอยู่เรื่อยมา ปัจจุบันมีการฝึกอยู่ทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ การฝึกพื้นฐานการใช้แรงที่ถูกต้อง (Kihon), ท่ารำมวย หรือ มวยเส้น (Kata) และ การต่อสู้ (Kumite)
บทความที่เกี่ยวข้อง : ยูโด (Judo) ศิลปะการต่อสู้แห่งความคิด และพัฒนาจิตใจสำหรับเด็ก
วิดีโอจาก : KRUPHALA CHANNEL
โดยในประเทศไทยเองได้มีการจัดตั้งสมาคมสหพันธ์คาราเต้-โดแห่งประเทศไทย (The Federation of All Thailand Karate-do Organizations -FATKO) ขึ้นใน พ.ศ. 2530 จนได้รับการรับรองใน พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา
คาราเต้มีประโยชน์กับเด็กอย่างไร
ด้วยเอกลักษณ์จากการผสมผสานการต่อสู้จากมวยจีน และญี่ปุ่นเข้าด้วยกัน รวมถึงการใช้ร่างกายเป็นอาวุธในการฝึกฝนนั้น สามารถส่งผลดีต่อร่างกายในภาพรวมได้หลายต่อหลายข้อ ยกตัวอย่างเช่น
- ได้ฝึกสมาธิ และใช้สติ : ขึ้นชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากศิลปะป้องกันตัว ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนเมื่อกลายมาเป็นกีฬาด้วยแล้ว ต้องใช้ความตั้งใจ และการสังเกตในระหว่างการฝึก หรือการแข่งขันอยู่ตลอด เนื่องจากมีเพียงแค่ตัวของเราเท่านั้นที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์การตัดสินแพ้ หรือชนะ ดังนั้นการตัดสินใจทุกอย่างต้องคิดไตร่ตรองมาอย่างดีที่สุด
- ฝึกให้มีน้ำใจนักกีฬา : ส่วนมากแล้วกีฬาที่มาจากประเทศญี่ปุ่น มักมีแก่นหลักคือความเคารพซึ่งกันและกัน รวมไปถึงการให้เกียรติกับผู้อื่น แม้แต่คู่ต่อสู้ สามารถทำให้เด็กสามารถแยกเยอะได้ว่าเป็นเพียงกีฬา ไม่ได้แสดงออกด้วยการใช้อารมณ์ มีเหตุผล และสามารถยอมรับผลการตัดสินได้ทุกรูปแบบ
- ความแข็งแรงของร่างกาย : สิ่งพื้นฐานที่จะได้รับจากการเล่นกีฬาทุกชนิด คือ ความแข็งแรงของร่างกาย ซึ่งสำหรับ คาราเต้ นั้นสามารถช่วยในเรื่องของกล้ามเนื้อ, การทรงตัว หรือการไหลเวียนของเลือดได้ ผ่านการออกท่าทางต่าง ๆ
กติกาเบื้องต้นของคาราเต้
การต่อสู้นั้นจะให้ความสำคัญของความถูกต้องในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ ท่ายืน, มีความเข้าใจในเทคนิคที่นำมาใช้หรือไม่, ความยากของท่าคาราเต้, การกำหนดลมหายใจระหว่างการต่อสู้ และองค์ประกอบทั่วไป คือ ความแข็งแกร่ง, ความเร็ว, พละกำลัง, จังหวะ และความสมดุล ซึ่งต้องโจมตีโดนคู่ต่อสู้ตามกฎต่าง ๆ เช่น การได้คะแนนจากการโจมตีโดนคู่ต่อสู้ 1 คะแนน, การได้รับคะแนนแบบไม่เต็มจากการโจมตีพลาด หรือคู่ต่อสู้หลบการโจมตีได้ โดยจะเน้นที่การโจมตีแขน และขา ห้ามจู่โจมจุดอันตราย หรือใช้การโจมตีที่มีความรุนแรง รวมไปถึงการออกนอกพื้นที่ด้วยเช่นกัน กรณีมีผู้ที่ทำผิดกติกา หรือได้รับการบาดเจ็บ การแข่งขันจะหยุดลงชั่วคราว โดยจะใช้เวลาในการแข่งขัน 2-5 นาที
กติกาสำหรับกีฬาชนิดนี้นั้นมีการบัญญัติไว้อย่างละเอียดมาก และมีข้อบังคับยิบย่อยค่อนข้างมาก หากมีความสนใจนั้นเด็ก ๆ จะต้องใช้เวลาในการปรับตัว และเรียนรู้กฎกติกา รวมถึงวัฒนธรรมของกีฬาประเภทนี้ด้วยความตั้งใจ จะเป็นผลดีต่อตัวของเด็กเอง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ฟันดาบ กีฬาแห่งความท้าทาย ฝึกวินัย และความมั่นใจในเด็ก
“ขี่ม้า” ศิลปะแห่งความงามและความท้าทายของเด็ก
“ฟุตซอล” เรียนรู้กีฬาแห่งจังหวะที่คู่ควรกับเด็กวัยเรียน
ที่มาข้อมูล : siamsporttalk wikipedia 3
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!