ผมเป็นคุณพ่อวัย 75 และตอนนี้ผมกับภรรยา กำลังใช้ชีวิตวัยเกษียณอย่างมีความสุขด้วยเงินออมที่มากพอให้ชีวิตอย่างมีสุข พอผมมองย้อนกลับไป ผมพอใจที่เราทำงานหนักแต่ก็ยังได้ทำสิ่งที่ชอบ และยังมีเงินเก็บพอสำหรับใช้จ่ายด้วย
พูดสั้น ๆ ก็คือ มันเป็นสมดุลของหยินหยาง และเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างการทำงานหนักกับการสนุกไปกับชีวิต ไม่ใช่เรื่องบังเอิญเลยที่เราเป็นแบบผู้รักสมดุล เป็นพ่อแม่ผู้ปกครองที่หาทางมีสมดุลในชีวิตตัวเองและลูก (อยากรู้รูปแบบการสอนลูกเรื่องเงินของคุณไหม ลองทำแบบทดสอบนี้ดู)
ที่สำคัญที่สุดก็คือ ผมดีใจที่เราส่งต่อความรู้เรื่องเงินที่สำคัญให้กับลูก โดยมุ่งเน้นเรื่องความสมดุล ตอนนี้ลูกชายของเราอายุ 30 กลาง ๆ ใช้ชีวิตอย่างสบายและมีเงินเก็บเยอะพอตัว
พ่อแม่แบบผู้รักสมดุลจะทำได้แบบเดียวกันไหม ทำไมล่ะ
บทเรียนเรื่องเงินที่เราสอนลูกชาย
1. การออม
ตอนลูกชายผมอายุสามขวบ ผมให้กระปุกออมสินกับลูก เขาตื่นเต้นดีใจกับเสียงเหรียญกระทบกับพลาสติกมาก และนี่ก็เป็นบทเรียนเรียนเรื่องเงินครั้งแรกของเขา ยิ่งมีเงินอยู่ข้างในมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีเสียงก๊องแก๊งน้อยลง ในขณะที่เสียงก๊องแก๊งตอนที่กระปุกมีเหรียญอยู่น้อย มันจะฟังดูน่าสนุก แต่จริงๆ แล้ว มันคือเสียงเตือนต่างหาก
จากนั้นเป็นต้นมา เขาก็ตั้งใจหยอดเงินใส่กระปุกเสมอ มันกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวเขาไปตลอดชีวิต
แต่แน่นอน ความสมดุลคือสิ่งสำคัญ เราย้ำเตือนเขาว่าอย่าลืมความสุขง่ายๆ ในชีวิต ตอนที่เราพาเขาออกไปข้างนอก เราก็สนับสนุนให้เขาซื้อยางลบหรือขนมเพื่อเป็นรางวัลกับตัวเอง คำขวัญสำหรับผู้รักสมดุลอย่างเราก็คือ “อดออมไม่ใช่อดอยาก ใช้ชีวิตให้มีสุขด้วย”
2. การลงทุน
ตอนลูกชายอายุได้หกขวบ ผมสอนบทเรียนแรกเกี่ยวกับดอกเบี้ย ผมบอกลูกว่าทุกๆ สิบดอลลาร์ที่ลูกเก็บออมจากค่าขนม พ่อจะเพิ่มให้อีกหนึ่งดอลลาร์
เข้าใจแนวคิดนี้ได้อย่างรวดเร็ว และออมเงินทุกครั้งเมื่อมีโอกาส เพื่อให้ผมเติมเงินเข้าไปในกองเงินนี้ ตัวผมเองช่วยออกเงินซื้อของหลายอย่างในช่วงวัยรุ่นของลูก และเขาก็เริ่มลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อย
ผมประหลาดใจมากที่รู้ว่า ความกล้าที่จะเสี่ยงของลูก เยอะกว่าผมซะอีก ผมอยู่ในฝั่งที่ไม่กล้าเสี่ยงมาตลอด แต่ลูกก็สอนผมเรื่อยมา เรื่องความจำเป็นของการคำนวณความเสี่ยง ตั้งแต่เขายังเป็นวัยหนุ่มสาวเลย
3. ไม่เห็นในรูปแบบตัวเงินเสมอไป
ตอนลูกอายุหกขวบ ผมสอนลูกว่าบัญชีธนาคารคืออะไร เพราะเขาคอยถามอยู่เรื่อยว่า “พอกระปุกเต็มแล้ว จะเอาเหรียญไปเก็บที่ไหน” และก็ถามอีกว่า “เงินอั่งเปาที่ได้ ไปอยู่ไหนล่ะ”
ผมอธิบายไปว่า “ลูกอาจจะไม่เห็น แต่มันมีอยู่ และค่อยๆ เพิ่มพูนขึ้น ยิ่งไม่เห็นนานเท่าไหร่ มันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นนะ”
แน่นอนว่าเขาไม่เข้าใจความจำเป็นในการเอาเงินเก็บไปฝากธนาคารในทันที ตอนอายุหกขวบเขาก็เก่งเรื่องการต่อรองแล้ว เขามีข้อโต้แย้งที่สร้างสรรค์ว่าทำไมต้องใช้เงิน ก่อนที่จะฝากเงินทั้งหมดนั่น ฝากนานจนลืมไปเลย
และเราไม่เคยให้เขาเก็บเงินทั้งหมด เรามองว่าชีวิตไม่ได้มีแต่เรื่องเงิน ตอนที่ลูกอยากได้อะไร เขาก็ควรซื้อด้วยเงินที่เราให้เขาเก็บออมไว้
แน่นอนว่า ตอนนี้เขาแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปฝากประจำ และอีกส่วนไปลงทุนเพื่อให้มีรายได้โดยไม่ต้องออกแรง เราอาจจะเป็นคนปูพื้นให้เขา แต่เขาเป็นคนต่อยอดเอง ต่อยอดไปเยอะเลยแหละ แต่นั่นก็คือสิ่งที่เราอยากให้เขาทำ
4. รวมกันแล้วก็เยอะ
ในฐานะที่เป็นลูกเก่งคณิตศาตร์ ลูกผมเข้าใจตัวเลขอย่างดี ผมเลยใช้ตัวอย่างในชีวิตจริงเพื่อสอนเขาให้เข้าใจเรื่องรายจ่าย โดยการนำมารวมกัน จะมีวิธีไหน ที่ดีเท่ากับการเรียนรู้จากบริบทในชีวิตจริงอีกล่ะ
ตัวอย่างเช่น ตอนเราฉลองด้วยแมคโดนัลด์เป็นครั้งคราว ผมจะถามลูกว่า “ถ้าซื้อชุดแฮปปีมีลทุกวัน จะต้องใช้เงินเท่าไหร่” ลูกก็จะคิดคำนวณออกมา แล้วผมถามต่อว่าถ้าซื้อติดต่อกันเป็นเดือน เป็นปีล่ะ
การทำให้เขาเข้าใจว่าของแค่อย่างเดียว พอมารวมๆ ดูแล้วก็ถือว่าเยอะในแง่ของรายจ่าย สิ่งนี้เป็นบทเรียนสำคัญของผมกับลูก และยังเป็นสิ่งที่นำมาใช้ได้ในปัจจุบัน การทำให้เขาเห็นรายจ่ายแบบนี้ ทำให้เขาประหยัดไปได้เยอะเลย อันที่จริงแล้ว เขาทำได้เก่งกว่าผมอีก
5. เงินทองนั้นหายาก
ลูกของผมเริ่มทำงานหาเงินเองตอนที่เรียนวิทยาลัยชุมชน เขารับสอนพิเศษหารายได้เสริมเพื่อไปซื้อบัตรคอนเสิร์ต ตั๋วหนัง และอะไรก็ตามที่เขาอยากได้ ต่อมาเขาก็ทำงานเล็กๆ น้อยๆ ที่โกดังเก็บสินค้าเพื่อหาเงินเที่ยวกับเพื่อน โดยเขาทำจนถึงช่วงเข้ามหาวิทยาลัย
เราสนับสนุนให้เขาไขว่คว้าข้อดีของทั้งสองด้านมาตลอด ให้เขาเรียนรู้ว่าชีวิตการทำงานหาเงินมันเป็นยังไง (ถึงแม้มันจะเป็นมุมเดียวของแผนการดำเนินชีวิตก็ตาม) แต่ก็ไม่ลืมที่จะสร้างเสริมประสบการณ์ทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวด้วย
สำหรับเรา การใช้จ่ายเงินไปกับเรื่องพวกนี้ถือว่าเป็นการลงทุนเช่นกัน เราให้เงินลูกไปเที่ยวยุโรปสามเดือนเป็นของขวัญที่ลูกจบการศึกษา แต่ให้ครึ่งเดียวนะ เพราะลูกรู้ว่าเงินพวกนี้ต้องทุ่มแรงกายในการหามา และเขายืนยันที่จะออกเองครึ่งหนึ่ง
สำหรับผมแล้ว สิ่งนี้แหละคือตัวชี้วัดว่าเราประสบความสำเร็จในการสอนลูกเรื่องเงิน ลูกได้เรียนรู้คุณค่าของเงินแล้ว และเขาก็เรียนรู้ความสำคัญของการใช้จ่ายเงินซื้อของอย่างคุ้มค่า
การเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด
การสอนลูกเรื่องเงินก็เหมือนการเดินทาง และมันไม่มีแค่เส้นทางเดียว ผมพบว่าเมื่อก่อน ผมเป็นคนสอนลูก แต่ในวันนี้ ลูกสอนผมเรื่องการเกษียณ การออมเงิน ข้อมูลกรมธรรม์ การลงทุน สอนว่าควรเอาทรัพย์สินไปทำอะไร และอีกเยอะแยะเลย ผมชอบที่มันเป็นส่วนผสมที่ลงตัว ระหว่างบทเรียนในวัยเด็กที่ผมสอนกับสิ่งที่เขาค้นพบด้วยตัวเองจากประสบการณ์ชีวิต
ผมว่าการสอนลูกเรื่องเงินในแบบของผู้รักสมดุลอย่างเราก็เป็นแบบนี้แหละ มันคือการชี้แนะแนวทางโดยไม่ประคบประหงมเกินไป และสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับลูกของเรา เพื่อที่เขาจะได้พัฒนาต่อเติมยิ่งขึ้นไปอีก
เราพยายามสอนลูกเรื่องคุณค่าของเงินและวิธีใช้เงินอย่างชาญฉลาด การที่ได้รู้ว่าลูกของเราหาสมดุลได้ ทำให้เราเกิดความมั่นใจว่า ลูกของเราเตรียมพร้อมสำหรับชีวิตในอนาคตมาเป็นอย่างดี
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!