ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ในทารกแรกเกิด อันตรายหรือไม่? เกิดขึ้นได้อย่างไร?

แม่เครียด ลูกเกิดมาแล้วระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรทำอย่างไรดี เป็นอันตรายไหม มาหาคำตอบกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นหนึ่งในภาวะที่เรามักจะเคยได้ยินสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน แต่สำหรับทารกแรกเกิดแล้ว ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง และเป็นอันตรายต่อทารกแรกเกิดมากหรือไม่ สามารถรักษาภาวะนี้ได้อย่างไร ไปติดตามกันค่ะ

 

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิด คืออะไร

Hypoglycemia หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นการที่ทารกแรกเกิดนั้นมีระดับน้ำตาลในเลือด หรือกลูโคสในเลือดต่ำจนเกินไป โดยเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทารกแรกเกิด หลังจากการคลอดไม่ว่าจะด้วยการคลอดเองตามธรรมชาติ หรือการผ่าคลอดก็ตาม ซึ่งกลูโคสนั้นเป็นเหมือนพลังงานหลักที่ช่วยในการทำงานของระบบสมอง และร่างกายของทารก ทั้งนี้ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย จนทำให้ทารกนั้นตกอยู่ในอันตราย หรือเข้าสู่สถานการณ์วิกฤตหลังจากลืมตาดูโลกได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือไม่กี่วัน

บทความที่น่าสนใจ : เบาหวาน ในเด็ก ภัยเงียบที่ผู้ปกครองต้องระวัง และดูแลอย่างใกล้ชิด

 

 

สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิด คืออะไร

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิดนั้นเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับทารกแรกเกิด แต่อย่างไรก็ตามสาเหตุของการเกิดภาวะนี้ไม่ได้เกิดจากตัวทารกเพียงอย่างเดียว แต่สามารถเกิดจากคุณแม่ตั้งแต่ช่วงของการตั้งครรภ์ที่ส่งผลต่อทารกด้วย โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • คุณแม่ได้รับอาหาร หรือคุณค่าทางโภชนาการน้อยเกินไป หรือได้รับอาหารไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายในช่วงของการตั้งครรภ์ จึงส่งผลทำให้ทารกไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์มาเพียงพอ
  • การใช้อินซูลินขณะตั้งครรภ์ สำหรับคุณแม่ที่เป็นเบาหวานก่อนตั้งครรภ์ หรือเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
  • การไม่เข้ากันของกรุ๊ปเลือดระหว่างทารก และคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจส่งผลทำให้เกิดภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงในทารกแรกเกิด ร่วมกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • การเพิ่มจำนวนของอินซูลินที่ถูกสร้างขึ้นโดยทารก หรือไม่ได้รับจากคุณแม่ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากเนื้องอกในตับอ่อน
  • พิการตั้งแต่กำเนิด
  • ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic syndrome) แต่กำเนิด เป็นภาวะที่เกี่ยวกับการเผาผลาญพลังงานของร่างกายทารก
  • การได้รับออกซิเจนแรกเกิดไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้เกิดภาวะขาดอากาศหายใจในช่วงระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
  • โรคตับ
  • การติดเชื้อบางอย่างที่อาจเกิดจากคุณแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาทิ ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย(sulfonylurea) ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หรือติดเชื้อรุนแรงอื่น ๆ

 

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิดมักจะเกิดขึ้นประมาณ 1 ใน 3 ในทุก ๆ ทารกแรกเกิด 1000 คน และมักจะเกิดในช่วงแรกหลังจากคลอดบุตร ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ของทารกและ และสุขภาพร่างกายของคุณแม่แต่ละท่านด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีอาการอย่างไรบ้าง?

สัญญาณของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกนั้นเป็นอาการที่สามารถสังเกตได้ยาก เพราะว่าทารกแรกเกิดที่มักจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมักจะมีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อนเพิ่มเติมด้วย  แต่อาการที่พบได้บ่อย ๆ มีดังต่อไปนี้

  • ตัวสั่น เหงื่อออก
  • ริมฝีปากมีสีเขียว สีฟ้า หรือสีซีด
  • หยุดหายใจ หรือหายใจเร็ว
  • อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ไม่มีความอยากอาหาร หรืออาเจียน
  • เซื่องซึม เคลื่อนไหวร่างกายน้อย
  • อาการชัก
  • ร้องไห้ด้วยเสียงเบา ๆ หรือเสียงสูง

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นเหมือนกับภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพอื่น ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทารกแรกเกิด ดังนั้นหากพบอาการ และไม่มั่นใจว่าสัญญาณเหล่านั้นเป็นการบ่งบอกถึงอะไรให้รีบพาทารกไปพบแพทย์จะดีที่สุด

บทความที่น่าสนใจ : โครโมโซมผิดปกติ อันตรายต่อทารกในครรภ์มากน้อยแค่ไหน คุณแม่ควรรู้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกแบบไหนที่จะเป็นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

สำหรับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิดนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทารกทุกคน หรือเกิดขึ้นกับทารกที่มีคุณแม่ที่ดูแลตนเองเป็นอย่างดีในช่วงของการตั้งครรภ์ และไม่มีโรคประจำตัว โดยทารกที่จะเป็นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีดังต่อไปนี้

  • ทารกที่เกิดกับคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ทารกที่มีขนาดเล็ก หรือทารกที่มีการจำกัดของการเจริญเติบโต
  • การที่ทารกคลอดก่อนกำหนด ทำให้มีน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์ หรือร่างกายมีขนาดที่เล็กมาก
  • การเกิดภายใต้ความเครียด และความวิตกกังวลของคุณแม่
  • เกิดจากคุณแม่ที่ได้รับการรักษาด้วยยาบางชนิด อาทิ เทอร์บูทาลีน (Terbutaline) หรือยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย(sulfonylurea) เป็นต้น
  • เกิดจากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก

 

 

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีวิธีการตรวจอย่างไร

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดของทารกที่คาดว่าน่าจะเป็นนั้นจะถูกตรวจสอบด้วยเลือดของทารกเพียงไม่กี่หยด ซึ่งแพทย์มักจะนำมาจากบริเวณเท้าของทารก หากทารกอยู่ในภาวะเสี่ยงจะทำการตรวจภายใน 2 ชั่วโมงหลังที่คุณแม่คลอดบุตร และจะเริ่มตรวจอีกครั้งหลังทารกได้รับการดื่มนมแล้ว ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจในช่วง 1-2 วันหลังจากคลอดบุตร หรือ 3-5 ครั้งโดยประมาณ ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดของทารกที่ควรจะเป็นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • หลังคลอดควรมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 2.6 มิลลิโมลต่อลิตร
  • หลังคลอด 72 ชั่วโมงควรมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 3.3 มิลลิโมลต่อลิตร

ทั้งนี้หากทารกไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่คาดว่าน่าจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตั้งแต่เกิด ระดับน้ำตาลในเลือดของทารกจะอยู่ในเกณฑ์ปกติภายใน 12-72 ชั่วโมงนั่นเอง

 

ผลกระทบระยะยาวของทารกที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

การที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิดนั้นเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เพิ่มเติม ถ้าหากคุณแม่ไม่สังเกตเห็น หรือไม่ได้รับการรักษานานเกินไป อาจมีโอกาสที่ทารกจะได้รับผลกระทบกับภาวะดังกล่าวในระยะยาว ได้แก่

  • สมองของทารกถูกทำลาย
  • สมองพิการ
  • ทารกมีความบกพร่องทางการเรียนรู้
  • การพัฒนาการทารกของทารกบกพร่อง
  • โรคลมบ้าหมู หรือมีอาการชัก
  • ปัญหาด้านการมองเห็น
  • เกิดความผิดปกติในการทำงานของระบบประสาท

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีป้องกันและรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมีอะไรบ้าง?

สำหรับวิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของทารกแรกเกิดนั้นอาจไม่มีวิธีป้องกันสำหรับทารกที่มีความเสี่ยงสูง ทางที่ดีที่สุดคือการเฝ้าสังเกตการณ์อย่างระมัดระวัง และรักษาให้เร็วที่สุด ทั้งนี้หากคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน ในช่วงของการตั้งครรภ์ควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติให้ได้มากที่สุด ซึ่งอาจจะลดความเสี่ยงของทารกในครรภ์ได้ ทั้งนี้วิธีการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของทารกแรกเกิดนั้นสามารถรักษาได้ด้วย 2 วิธีคือ การให้นมแก่ทารกเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และการเสริมกลูโคสให้กับทารกที่ไม่คลอดก่อนกำหนด หรือไม่สามารถดื่มนมแม่ได้ โดยการรักษาด้วยกลูโคสมีวิธีการดังต่อไปนี้

 

  • นำกลูโคสป้อนให้กับทารกทางปาก เป็นวิธีที่ดีที่สุด
  • ให้กลูโคสแก่ทารกด้วยการฉีดเข้าไปในเส้นเลือดของทารกโดยตรง
  • ให้กลูโคสผ่านท่อช่วยหายใจที่ถูกส่งผ่านจากจมูกของทารกเข้าไปยังช่องท้อง

โดยการรักษาแบบการใช้กลูโคสนั้นจะถูกใช้เพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น เมื่อทารกมีระดับน้ำตาลในเลือดปกติแล้วก็จะเริ่มให้นมแก่ทารกได้ เพื่อรักษาระดับของน้ำตาลในเลือดของทารกให้คงที่ต่อไป

 

สำหรับคุณแม่ที่กำลังเป็นกังวลเรื่องนี้อยู่ก็ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ ทั้งนี้หากมีการฝากครรภ์ หรือได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็หายห่วงได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าการฝากครรภ์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญกับการตั้งครรภ์มากนะคะ ควรเลือกโรงพยาบาลที่ฝากครรภ์ให้เหมาะสมที่สุด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ด้วยนะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ :

เช็คแพ็คเกจฝากครรภ์ 64 คุณแม่ควรเลือกฝากครรภ์ที่ไหนดี

อ้วนหลังคลอด เช็คสาเหตุคุณแม่ผอมช้า คลอดลูกแล้วแต่ยังเหมือนท้องอยู่เลย

แผลฝีเย็บ หลังคลอด รู้สึกเจ็บจี๊ด คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างไร?

ที่มา : Hypoglycemia in a Newborn Baby, babycentre, childrenswi, caringforkids., abclawcenters

บทความโดย

Siriluck Chanakit