4 วิธี สอนลูกจัดที่นอน สิ่งเล็ก ๆ ที่สำคัญ และควรทำทุกวัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อลูกนอนแล้วลุกออกจากเตียง อาบน้ำ ไปโรงเรียน แล้วไม่ได้เก็บที่นอน เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองตลอดมา สอนลูกจัดที่นอน สามารถทำได้ไม่ยาก รีบฝึกตั้งแต่ตอนนี้จะช่วยให้ลูกมีนิสัยที่รักความสะอาด มีความเป็นระเบียบ และมีความรับผิดชอบมากขึ้นได้

 

สอนลูกจัดที่นอน สำคัญอย่างไร

อาจดูเหมือนเป็นกิจวัตรประจำวันที่ง่าย ใช้เวลาในการทำไม่นาน แต่ต้องทำทุกวัน อาจดูไม่ค่อยสำคัญในความคิดของใครบางคน แต่สำหรับตัวของเด็ก ๆ นั้น ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะเป็นการฝึกความรับผิดชอบแม้ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงแม้จะไม่จัดที่นอนหลังจากลุกจากเตียงจะดูเป็นเรื่องปกติของหลายคน เพราะคิดว่าเมื่อถึงเวลานอนก็ต้องเละเทะอยู่ดี แต่นอกจากการฝึกความรับผิดชอบแล้ว การจัดที่นอนยังเกี่ยวกับเชื้อโรคอีกด้วย

หากไม่จัดที่นอนจะทำให้มีโอกาสที่เครื่องนอนอาจกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้ในภายหลัง โดยเฉพาะแบคทีเรีย และไรฝุ่นต่าง ๆ ที่อาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงต่อภูมิแพ้ได้ ด้วยเหตุนี้การจัดที่นอนจะทำให้อากาศถ่ายเท ไม่เกิดการอับชื้น เพิ่มโอกาสให้เนื้อผ้าโดนแดดเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการสะสมเชื้อโรคได้นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ที่นอนกันกรดไหลย้อน สำหรับทารกน้อย ช่วยให้ลูกน้อยไม่สะดุ้งตื่นหรือแหวะนม

 

วิดีโอจาก : Wealth Me Up

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ควรสอนลูกจัดที่นอนเองตอนอายุเท่าไหร่

โดยทั่วไปแล้ว การเรียนรู้ หรือฝึกฝนทักษะใด ๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ต้องใช้ความเข้าใจร่วมด้วย มักจะเริ่มฝึกตั้งแต่ลูกมีอายุ 7 ปีขึ้นไป หรืออยู่ในช่วงประถมศึกษาปีที่ 2 ขึ้นไป การฝึกเก็บที่นอนด้วยตนเองเช่นกัน จริง ๆ แล้วช่วงที่ลูกมีอายุ 6 ปีก็สามารถฝึกได้แล้ว เนื่องจากการเก็บที่นอนด้วยตนเอง ไม่ใช่เรื่องยากอะไร ไม่ได้ใช้แรงมาก เพราะเป็นการเน้นย้ำให้ลูกเข้าใจถึงความรับผิดชอบ ในหน้าที่ และสิ่งของที่ลูกเป็นเจ้าของเท่านั้น หากผู้ปกครองมีลูกแล้วอายุเกินตามเกณฑ์ที่เราแนะนำ แต่ยังไม่ได้ฝึกลูกเลย เราแนะนำให้เริ่มฝึกเลยตั้งแต่วันนี้ จะเป็นผลดีต่อตัวของลูกเองแน่นอนในอนาคต

 

4 ประโยชน์ของการจัดที่นอน

  • ฝึกวินัย ความรับผิดชอบ : เป็นสิ่งสำคัญที่ควรฝึกแต่เด็ก ๆ มีแนวโน้มว่าเด็กที่เก็บที่นอนทุกเช้า จะมีนิสัยรักสะอาด และความเป็นระเบียบมากกว่า หากมาฝึกตอนโตอาจฝึกได้ยาก เพราะมีความเคยชินว่าที่ผ่านมาไม่ต้องจัดที่นอนก็สามารถมานอนต่อได้ทุกคืน
  • ลดการสะสมของเชื้อโรค : การจัดเตรียมที่นอนให้ไม่ทับกัน ไม่เป็นก้อน จะทำให้เกิดการระบายอากาศของเครื่องนอนมากกว่าเดิม เมื่ออากาศระบายได้ดีมากยิ่งขึ้น จะส่งผลให้เชื้อแบคทีเรีย หรือไรฝุ่นมีปริมาณลดลงได้ ส่งผลดีต่อสุขภาพการนอนของลูกรัก
  • ช่วยให้นอนหลับสบายมากขึ้น : จากการศึกษาของ National Sleep Foundation พบว่าประมาณ 19 % ของคนที่เก็บที่นอนในตอนเช้าเป็นประจำ จะมีแนวโน้มที่จะนอนหลับฝันดีมากกว่าคนทั่วไป เพราะมีผลต่อการจดจำของร่างกาย ให้รู้ถึงเวลาในการพักผ่อนในแต่ละวันผ่านพฤติกรรม เช่น การตบหมอนเบา ๆ เป็นต้น
  • ส่งผลดีต่อสุขภาพจิต : เด็ก ๆ ก็มีเรื่องให้คิดมากเหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องเรียนที่ไม่เคยง่ายในทุกช่วงวัย แม้จะเด็กมากก็ตาม หากลูกกลับมาที่ห้อง ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนตัว แล้วพบว่าห้องดูสะอาด มีความเป็นระเบียบ จะส่งผลให้รู้สึกดีตามไปด้วย ตรงกันข้ามหากห้องเลอะ ไม่เป็นระเบียบ จะทำให้ลูกรู้สึกไม่ค่อยดีได้เช่นกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4 วิธีฝึกลูกจัดที่นอนด้วยตนเอง

การฝึกให้ลูกเก็บที่นอนด้วยตนเอง ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องพึ่งความพยายามที่จะทำอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะติดเป็นนิสัยในอนาคต โดยมีวิธีที่สามารถทำได้ ดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ผู้ปกครองต้องทำให้เห็นเป็นประจำ

เด็กเล็กจะเรียนรู้ผ่านการจดจำ การเห็นบ่อย ๆ จะทำให้ลูกเริ่มที่จะเรียนรู้ได้เองว่า สิ่งที่เห็นเป็นประจำ เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ และเป็นสิ่งที่ควรทำ ส่งผลให้ลูกอยากที่จะเลียนแบบมากขึ้น นอกจากนี้หากผู้ปกครองไม่ได้ทำให้ลูกเห็น และมีการแยกนอนกับลูก ในเวลาต่อมาหากลูกรู้ว่าพ่อแม่ก็ไม่ได้ทำ ลูกจะเกิดข้อสงสัยขึ้นมาทันที และจะมีข้อโต้แย้งตามมาได้ว่าตัวของเขาจะทำไปทำไป เพราะขนาดพ่อกับแม่ยังไม่ทำเลย

 

2. บอกให้รู้ถึงประโยชน์เสมอ

เมื่อการเก็บที่นอนด้วยตนเองมีประโยชน์หลายอย่าง กลับกันอาจมีโทษด้วยซ้ำหากไม่เก็บทุกวัน โดยเฉพาะเรื่องของเชื้อโรค ในเรื่องนี้ถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะนำข้อเท็จจริงมาบอกลูก แต่ไม่ควรพูดคุยแบบวิชาการ เพราะจะทำให้เด็กไม่เข้าใจ อาจจะบอกกับลูกด้วยถ้อยคำง่าย ๆ ตัวอย่างเช่น “รู้ไหมว่าถ้าไม่เก็บที่นอนทุกวัน จะทำให้มีเชื้อโรคนะ แล้วเชื้อโรคจะทำให้หนูไม่สบาย ป่วยบ่อย จะไม่มีแรงเล่นนะ” เป็นต้น

 

3. อย่ากดดัน เมื่อลูกลืมเก็บที่นอน

การฝึกลูกเก็บที่นอน อาจไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในทันที ลูกอาจลืมบ้างบางวัน หรือเก็บมาเป็นระเบียบเท่าที่ควร แต่ผู้ปกครองจะต้องคำนึงตลอดเวลา มีเด็กหลายคนที่ไม่ได้เก็บที่นอนด้วยตนเอง การที่ลูกรู้และเข้าใจ พยายามที่จะทำ อาจบกพร่องไปบ้าง ไม่ควรใช้อารมณ์ หรือถ้อยคำดุด่า แต่เป็นการพูดบอกเพื่อเตือนลูกแทน เช่น “วันนี้หนูลืมเก็บที่นอนนะ แต่แม่เก็บให้แล้ว พรุ่งนี้อย่าลืมนะคะ” เป็นต้น หากลูกเก็บที่นอนไม่ดี ทำแค่ให้ผ่านไปเฉย ๆ ผู้ปกครองก็ควรสาธิตการเก็บให้ดูอีกครั้งหนึ่งด้วย

 

 

4. ให้รางวัลบ้างเพื่อเป็นแรงกระตุ้น

แม้เป็นวิธีที่อาจทำให้ลูกเคยตัว แต่ก็เป็นวิธีที่น่าลอง สำหรับเด็กที่มีความดื้อ หรือปฏิเสธที่จะทำ แต่ไม่ควรใช้วิธีให้รางวัลบ่อย ๆ ชนิดทุกวัน อาจเลือกตกลงกับลูกว่า ถ้าสามารถเก็บที่นอนได้ทุกวันตลอดทั้งเดือน จะซื้อของเล่นให้ ถ้าเก็บ 20 วันขึ้นไปตลอดทั้งเดือน จะได้ขนมของโปรด แต่ถ้าเก็บไม่ถึง 20 วัน จะไม่มีรางวัลอะไรให้เลย เป็นต้น นอกจากนี้เทคนิคนี้ยังนำไปใช้กับงานบ้านชนิดอื่น ๆ ได้ด้วย

 

งานบ้านหลายอย่างสามารถให้ลูกช่วยทำ หรือฝึกลูกทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นงานบ้านที่ไม่อันตราย ไม่มีของมีคม ใช้แรงไม่มาก เป็นเรื่องที่ดีต่อการฝึกวินัย ความรับผิดชอบ และส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ได้ในหลาย ๆ ด้าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

15 กิจกรรมก่อนนอน ช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย ไม่ตื่นกลางดึก

5 สัญญาณบอกว่า ลูกนอนน้อยไป นอนไม่พอ เสี่ยงพัฒนาการถดถอย

10 วิธี ฝึกลูกนอนเร็ว เทคนิคที่ทำให้ลูกนอนหลับง่ายขึ้น วิธีให้ลูกนอนง่าย ๆ

ที่มา : verywellfamily, samitivejhospitals, brandthink

บทความโดย

Sutthilak Keawon