วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ ทารกเป็นไข้ ยามลูกมีไข้ดูแลอย่างไรให้ถูกวิธี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อลูกมีไข้ทารกน้อยมักจะงอแง โยเยมากกว่าปกติ เนื่องจากเจ้าหนูรู้สึกไม่สบายตัวนั่นเอง ซึ่งอาการไข้ในเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเด็กแรกเกิด หรือเด็กโตแล้วก็ตาม เป็นอาการที่พบบ่อยมาก และคอยเป็นความกังวลใจให้คุณพ่อ คุณแม่อยู่เสมอ วันนี้ theAsianparent มีบทความ วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ ทารกเป็นไข้ มาฝากให้อ่านกัน พร้อมแล้ว ไปติดตามกันค่ะ

 

ไข้ คืออะไร

ไข้ คือ อุณหภูมิของร่างกายขึ้นสูงกว่าปกติในเบื้องต้นทราบได้โดยคลำหน้าผาก ซอกคอ หรือบริเวณข้อพับของร่างกาย อาจมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว หนาว ๆ ร้อน ๆ ปากแห้ง คอแห้ง ปวดศีรษะ หนาวสั่นหรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย

 

สาเหตุของการมีไข้ ทารกมีไข้

1. เป็นโรคจากการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ปอดบวม เป็นต้น

2. มีปฏิกิริยาแพ้สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะเด็ก ๆ ภายหลังได้รับวัคซีน มักจะเป็นไข้

3. จากการเป็นแผล หรือจากการผ่าตัด

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการไข้

การมีไข้สูงหรือต่ำไม่ได้หมายความว่า โรคไหนจะรุนแรงมากน้อยกว่ากัน ไข้ต่ำ ๆ อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต ในขณะที่ไข้สูงอาจเป็นโรคที่หายเองได้ ดังนั้น  เมื่อลูกมีไข้ ควรจะพาไปหาคุณหมอ หากปล่อยให้หายเองอาจจะเป็นมากกว่าเดิม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีวัดปรอททางรักแร้

1. ซับรักแร้ให้แห้ง สลัดปรอทให้ต่ำลงถึง 35 องศาเซลเซียส

2. กางแขนลูกแล้ววางปรอทไว้ที่กึ่งกลางรักแร้ ต้องดูไม่ให้ปลายปรอทโผล่มาจากด้านหลัง

3. ทิ้งปรอทไว้นาน 3-5 นาที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการใช้ปรอทวัดไข้เมื่อลูกไม่สบาย

 

 

วิธีอ่านผลปรอท

1. ถือปรอทระดับสายตา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. อ่านค่าอุณหภูมิที่ได้ แล้วบวกเพิ่มอีก 0.5 องศาเซลเซียส

3. ถ้าค่าที่อุณหภูมิที่อ่านมากกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส แสดงว่าเจ้าหนูมีไข้แล้วค่ะ

 

การเช็ดตัวลดไข้ ทารกมีไข้

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเช็ดตัว

1. อ่างน้ำหรือกะละมังใบเล็ก

2. น้ำธรรมดา (น้ำก๊อก)

3. ผ้าเช็ดตัวผืนเล็ก 3 ผืน

4. ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ 1 ผืน

5. เสื้อผ้าเนื้อบาง 1 ชุด

 

เรื่องน่ารู้ อุณหภูมิของน้ำสำหรับการเช็ดตัวลดไข้

อุณหภูมิของน้ำ ก็มีผลต่อการลดไข้ด้วยเช่นกัน โดยปกติเราจะใช้น้ำที่มีอุณหภูมิต่าง ๆ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. น้ำอุ่น ( Warm Sponge )

การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 40 C โดยเชื่อว่าน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว หลังการเช็ดตัวอุณหภูมิร่างกายจะค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการให้การเช็ดตัว ดังนั้นการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น จะไม่ได้หวังผลในการลดอุณหภูมิ แต่เป็นการกระตุ้นให้กระบวนการขับพิษในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น

2. น้ำธรรมดาที่อุณหภูมิปกติ ( Tepid Sponge )

การเช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาที่อุณหภูมิประมาณ 27-37 C จะกระทำเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงประมาณ 38.5 C ขึ้นไป ในขณะเช็ดตัวด้วยผ้าเปียกจะทำให้หลอดเลือดบริเวณผิวหนังขยายตัว ความร้อนภายในร่างกายออกมาสู่ผิวหนังมากขึ้นโดยการถ่ายเทความร้อนจากผิวหนังมาสู่ผ้าเปียก

 

วิธีการเช็ดตัว

1. ห้องที่ใช้เช็ดตัวไม่มีควรมีลมโกรกและควรปิดพัดลมหรือแอร์ เพื่อไม่ให้ลูกหนาวสั่นระหว่างเช็ดตัว

2. การเตรียมเด็ก ถอดเสื้อผ้าให้ลูกออก หากเป็นเด็กโตให้ใช้ผ้าคลุมตัวขณะเช็ดตัวเพื่อความสะดวกในการเช็ด

บทความที่เกี่ยวข้อง : การเช็ดตัวลดไข้ ลูกเป็นไข้ อยากให้ลูกหายไว ต้องเช็ดให้ถูกวิธี

 

 

เทคนิคการเช็ดตัวเมื่อมีไข้

1. ใช้ผ้าชุบน้ำที่เตรียมไว้บิดหมาด ๆ เริ่มเช็ดที่หน้า และวางพักที่คอ นำผ้าอีกผืนเช็ดที่หน้าอกและลำตัวให้ทั่ว หลังจากนั้นเช็ดแขนด้านไกลตัวของคุณแม่ เช็ดตัวเริ่มจากปลายแขนค่อย ๆ เข้าสู่ช่วงบริเวณหัวใจ แล้ววางพักที่ข้อพับ รักแร้ จากนั้นเช็ดแขนด้านใกล้ตัวด้วยวิธีเดียวกัน ต่อไปพลิกตะแคงตัวเพื่อที่จะเช็ดด้านหลัง เช็ดขา 2 ข้าง โดยเช็ดเข้าหาหัวใจเช่นเดียวกัน

2. ผ้าที่ใช้เช็ดตัวแล้ว ควรเปลี่ยนชุบน้ำใหม่บิดหมาด ๆ ทุกครั้ง นอกจากนี้ผ้าบิดหมาดให้นำมาวางตามข้อพับต่าง ๆ ด้วย และเปลี่ยนทุก 3 – 5 นาที เช่นกัน

3. ระยะเวลาในการเช็ดตัวใช้เวลาประมาณ 15 – 20 นาที

4. หลังเช็ดตัว 30 นาที ควรวัดปรอทซ้ำ เพื่อประเมินว่าเด็กมีไข้ลงหรือไม่

5. หลังเช็ดตัวให้แห้งแล้ว ให้เด็กสวมเสื้อผ้าเนื้อบาง ๆ แล้วนอนพัก

 

คุณหมอฝากบอก

1. ให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยระบายความร้อนออกให้มากขึ้นทางเหงื่อและปัสสาวะ

2. เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ให้ลูกสวมเสื้อผ้าที่เหมาะกับฤดูกาล ไม่จำเป็นต้องสวมเสื้อผ้าหนา ๆ ให้จนกว่าตัวจะเย็นลง เพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้ความร้อนระบายออกได้ยาก

3. การให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาสามัญประจำบ้าน เช่น พาราเซตามอล ถ้าสงสัยว่าเด็กจะเป็นไข้เลือดออก ห้ามให้ยาแอสไพรินเด็ดขาดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต 

4. ถ้ามีอาการชัก ให้จับนอนหงายศีรษะตะแคงไปด้านหนึ่ง ห้ามกรอกยาหรือน้ำเข้าปากจะทำให้สำลักลงหลอดลมได้

ข้อควรระวัง : ห้ามนำช้อนหรือไม้สอดเข้าในปากหรืองัดปากเด็กเด็ดขาด  อาจทำให้ฟันหักและหลุดลงไปในหลอดลมได้

 

เมื่อทารกเป็นไข้ คุณพ่อคุณแม่สามารถนำวิธีการดูแลลูกข้างต้นไปปฏิบัติตามกันได้นะคะ หากดูแลลูกไม่ถูกวิธี ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอยู่ตลอดเวลา หากอาการไข้ของลูกยังไม่ดีขึ้น ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างปลอดภัย

ร่วมบอกเล่า และแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีลดไข้เด็ก เช็ดให้ลูกน้อยไข้ลดอย่างมีประสิทธิภาพต้องทำยังไง

ยาลดไข้เด็ก ยาแก้ไข้เด็ก ใช้ยังไงให้ถูกวิธี ให้ลูกหายป่วยอย่างรวดเร็ว

เมื่อลูกเป็นไข้ ซื้อยาลดไข้ให้กินได้มั้ยหรือมีอาการแค่ไหนถึงพาลูกไปหาหมอ?

ที่มา : paolohospital