ในชีวิตประจำวัน เรามักจะเจอกับอุบัติตามท้องถนน หรือเจอเหตุการณ์วินาทีชีวิตจากการใช้ชีวิตประจำวันบ่อย ๆ บางคนเป็นลมหน้ามืดทั้งที่ยืนอยู่ บางคนเป็นตะคริวตอนที่ว่ายน้ำ หรือบางคนก็หลงป่า แต่ก็มีไม่กี่คนที่รู้ว่าควรทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ สำหรับลูก ๆ ของเราเอง วันดีคืนดีเขาอาจจะต้องพบเจอกับเหตุการณ์เหล่านี้อย่างไม่คาดฝัน ซึ่งการสอนให้เขารับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดในชีวิตประจำวันนั้น ถือเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง วันนี้ theAsianparent Thailand ได้รวบรวม 8 ทริค เอาตัวรอด ที่คุณแม่เอาไปสอนน้อง ๆ ได้ จะมีทริคอะไรบ้างนั้น ไปดูพร้อม ๆ กันเลย
1 . หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม
เมื่อรู้สึกจะเป็นลมหรือหน้ามืด ให้กำชับให้เด็กขอความช่วยเหลือจากคนที่อยู่ใกล้มากที่สุด แต่ถ้าตอนนั้นไม่มีใครอยู่ข้าง ๆ ก็ให้ยืนพิงกำแพงหรือวัตถุที่แข็งแรง เพื่อไม่ให้ล้มลงไปที่พื้น หากเป็นไปได้ให้นอนลงและเหยียดขาขึ้นที่สูง หรือนั่งกอดเข่า โดยเอาหน้าแนบที่เข่า เพราะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี จากนั้นให้สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ โดยห้ามอ้าปาก
2. ฝนตก ฟ้าผ่า
ให้ลูก ๆ หมั่นสังเกตอยู่เสมอ ว่าตนเองขนลุกชันผิดปกติ หรือรู้สึกเสียวซ่าที่บริเวณผิวหนังหรือไม่ เมื่อพบว่าตนเองอยู่ในบริเวณที่มีฟ้าผ่า ให้ก้มตัวลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ไม่ควรนอนราบที่พื้น จากนั้นให้แนบศีรษะไว้ระหว่างเข่าของตัวเอง และใช้มือปิดหูทั้งสองข้าง เพื่อไม่ให้สูญเสียการได้ยิน หากเดินอยู่ให้เขย่งเท้าเดิน โดยให้อุ้งเท้าสัมผัสพื้นเพียงอย่างเดียว และให้วางเท้าอีกข้างไว้บนเท้าอีกหนึ่งข้าง เพื่อไม่ให้ไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายเยอะเกินไป
บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำร้อนลวก ไฟไหม้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ง่ายสำหรับเด็กๆ ภายในบ้าน คุณแม่ควรระวัง
3. เป็นตะคริวตอนที่ว่ายน้ำ
สิ่งนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน และเด็กหลาย ๆ คนก็คงชอบเล่นน้ำกัน เพื่อช่วยให้เด็กเอาตัวรอดและรับมือกับเหตุการณ์นี้ได้ ควรสอนให้เขานอนหงาย และงอขาข้างที่เป็นตะคริวขึ้นมาแนบกับหน้าท้อง จากนั้นให้เริ่มนวดคลึงบริเวณที่เป็นตะคริวเบา ๆ และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นตะคริวได้ง่าย ควรให้เด็กดื่มน้ำก่อนลงเล่นน้ำทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำจนอาจเป็นตะคริว
4. หลงป่า
สิ่งแรกที่ควรสอนให้เด็ก ๆ ทำเมื่อหลงป่า คือให้เด็กสำรวจบริเวณรอบ ๆ ว่ามีแหล่งแม่น้ำ หรือลำธารหรือเปล่า หากหลงทางอยู่ในภูเขา ให้มองหาน้ำที่บริเวณเชิงหน้าผา หรือจะลองมองหารอยเท้าของสัตว์ เพื่อช่วยให้ตามหาแหล่งน้ำหรืออาหารได้ง่ายขึ้น และเมื่อตามหาแหล่งน้ำจนเจอ ให้เก็บน้ำไว้ในกระบอกน้ำ และเปลี่ยนน้ำทุก ๆ วัน แต่หากมีเครื่องช่วยกรองน้ำ สามารถเก็บน้ำไว้ดื่มได้เรื่อย ๆ จากนั้น ให้ก่อกองไฟให้ขอความช่วยเหลือจากคนอื่น โดยใช้กิ่งไม้ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ปน ๆ กัน หากมีหม้อ ก็ให้ใช้หม้อคลุมกองไฟไว้ประมาณ 3-4 วินาที แล้วเอาหม้อออก เพื่อให้ควันลอยสู่ท้องฟ้าได้มากยิ่งขึ้น
5. ติดอยู่ในที่แห้งเเล้ง
ควรสอนเด็ก ๆ ว่าไม่ควรเคลื่อนไหวร่างกายในช่วงตอนกลางวัน และให้อยู่ในที่ร่ม เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ หากต้องการออกไปหาอาหารหรือน้ำ ให้ออกไปในช่วงตอนกลางคืนแทน และเมื่อต้องออกไปหาน้ำหรืออาหาร ก็ให้ลองมองหารอยเท้าสัตว์ หรือดูว่าตรงไหนที่ต้นไม้ขึ้นเยอะ เพราะบริเวณดังกล่าวมักมีน้ำอยู่ ทั้งนี้ ไม่ควรเข้าใกล้พืชที่มีหนาม เพราะอาจทำให้เป็นแผลจนติดเกิดการติดเชื้อได้ และหากเดินจนเหนื่อยแล้วก็ให้กลับมาพักก่อน ไม่ควรฝืนตัวเอง
6. เอาตัวรอดจากนกกระจอกเทศ
หากวันไหนบังเอิญไปเดินป่าแล้วเจอนกกระจอกเทศ ห้ามวิ่งหนีโดยเด็ดขาด เพราะนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ที่วิ่งได้ไว สิ่งที่ต้องทำคือหาที่หลบก่อนเป็นอันดับแรก หรือจะปีนขึ้นต้นไม้ก็ได้ แต่หากบริเวณนั้นไม่มีที่กำบังหรือต้นไม้ให้ปีนป่าย ให้นอนราบที่พื้น และใช้มือกำบังศีรษะและคอเอาไว้
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน ลูกเล็ก เด็กวัยซน ห้ามลูกเล่นไม่ได้! พ่อแม่ต้องปกป้องลูก
7. กระโดดจากที่สูง
แม้จะเป็นเหตุการณ์ที่ฟังดูแล้วเกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็ควรให้เด็ก ๆ เรียนรู้ไว้เพื่อป้องกันตัวเอง หากเด็ก ๆ บังเอิญไปอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องกระโดดจากที่สูง ให้หามุมกระโดดลงไป โดยอาจเป็นพุ่มไม้หรือพุ่มหญ้าก็ได้ เพื่อรองรับน้ำหนักตัว จากนั้นให้กระโดดลงมา พร้อมกับหันหน้าและอกขนานกับพื้นโลก ขณะกระโดดให้กางแขนและขาออกทำมุม 90 องศา เมื่อใกล้จะร่วงลงสู่พื้น ก็ให้ใช้แขนและมือล็อคป้องกันศีรษะตัวเองเอาไว้ เพื่อไม่ให้ศีรษะกระแทกพื้นอย่างรุนแรง ทั้งนี้ หากที่ที่กระโดดลงมาสูงห่างจากพื้นดินไม่เกิน 150 ฟุต สามารถกระโดดลงสระน้ำได้ แต่ถ้าตึกสูงมากกว่านั้น ไม่แนะนำให้กระโดดลงน้ำ
บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 อุบัติเหตุพบบ่อยในลูกวัยเตาะแตะที่ไม่ควรมองข้ามอย่างแรง!
แต่หากต้องกระโดดหรือตกลงมาจากไหล่เขา ให้มองหาพุ่มไม้หรือกิ่งไม้เกาะไว้เป็นระยะ ๆ ในช่วงที่ร่วงลงมา เพื่อไม่ให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บมากเกินไป ทั้งนี้ ห้ามเกร็งตัวโดยเด็ดขาด เพราะจะให้อวัยวะภายในได้รับความเสียหายได้ ให้ใช้แขนและมือรัดรอบ ๆ หัวเพื่อกันการกระแทก และงอขาเล็กน้อย ตอนที่ไถลลงมา รวมทั้งให้ใช้อุ้งเท้ารับน้ำหนัก เมื่อร่วงลงสู่พื้น เพื่อให้ทรงตัวได้อยู่
เป็นยังไงกันบ้างคะ ได้อ่านทริคที่ช่วยให้เด็ก ๆ เอาตัวรอด จากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน หรือเหตุการณ์อันตรายถึงชีวิตไปแล้ว ชอบกันไหมคะ คุณแม่สามารถนำวิธีเหล่านี้ไปสอนน้อง ๆ ได้ง่าย ๆ แถมบางเหตุการณ์ ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อยในชีวิตประจำวันอีกด้วย เราไม่มีทางรู้ได้ว่าวันไหนลูก ๆ จะบังเอิญไปเจอเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ดังนั้น การสอนให้เขารับมือล่วงหน้ากับสิ่งเหล่านี้ก็ถือว่าไม่เสียหายค่ะ ป้องกันไว้ดีกว่าแก้นะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง :
เด็กจมน้ำ วิธีป้องกันเด็กไม่ให้จมน้ำ และขั้นตอนการช่วยเหลือ
ประสบการณ์ลูกจมน้ำ วิธีปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำ แบบไหนที่ห้ามทำเด็ดขาด
ไฟไหม้!!! รู้วิธีเอาตัวรอด ก่อนจะถูกไฟคลอกทั้งแม่ทั้งลูก
ที่มา : brightside