เมื่อลูกไม่สบายมีไข้สูง พ่อและแม่ก็แทบจะไม่ได้นอนทั้งคืน เพราะเกรงว่าจะต้องเจอประสบการณ์ ลูกชัก จากไข้สูง แต่ฉันยังโชคดีที่มีเพื่อนเป็นคุณหมอเด็ก คอยให้คำปรึกษา ซึ่งคุณหมอบอกว่า โดยปกติแล้วเด็กเพียงร้อยละ 3 – 5 เท่านั้น ที่จะสามารถชักจากไข้สูง ทั้งนี้ต้องดูประวัติของพ่อ และแม่ด้วยว่า เคยชักจากไข้สูงมาก่อนหรือไม่ ถ้าเคยชักมาก่อน ลูกอาจจะมีโอกาสชักได้ แต่ต้องดูว่าลูกได้ยีนส์ชักจากคุณพ่อ หรือคุณแม่ จริงหรือเปล่า
ลูกชัก จากไข้สูง-01
เด็กแต่ละคนชักที่อุณหภูมิร่างกายต่างกัน บางคนอุณหภูมิไม่สูงมากก็ชักได้ เด็กอายุต่ำกว่า 3 เดือน อุณหภูมิร่างกายไม่ควรสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส แต่เด็กที่มีอายุมากกว่านั้น ต้องหมั่นสังเกตอาการอื่น ๆ ของลูกว่าซึมไหม กินนมแม่ หรือน้ำได้ไหม อาเจียนประกอบด้วยหรือเปล่า ช่วงอายุที่พบบ่อยว่า มีอาการชักจากไข้สูงคือ 6 เดือน – 6 ปี
ช่วงเวลาที่จะพบว่าลูกชักมากที่สุดคือ ช่วงประมาณ เที่ยงคืนถึงตีสอง เนื่องจากเป็นช่วงที่พ่อแม่เหนื่อยล้าจากการทำงานมาทั้งวันจนอาจเผลอหลับไป หรืออาจจะวางใจว่าลูกไข้ลดแล้วทั้ง ๆ ที่ไข้นั้นจะขึ้น ๆ ลง ๆ และคงที่ประมาณวันที่ 3 หลังจากป่วย
ลูกชัก จากไข้สูง-02
วิธีการป้องกันลูกชักจากไข้สูงมีดังนี้ค่ะ
- เช็ดตัวให้ลูกบ่อย ๆ ด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัดเพราะจะทำให้ร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทันและอาจเกิดการช็อกได้ ส่วนน้ำที่มีอุณหภูมิสูงก็จะไม่ช่วยให้ร่างกายลดอุณหภูมิลง
- การเช็ดตัวที่ถูกวิธีคือ ควรเช็ดย้อนขึ้น เช่น เช็ดจากมือย้อนขึ้นไปที่ต้นแขน
- หากเป็นเด็กเล็กจะเลือกวิธีอาบน้ำให้เด็กนั่งแช่ในอ่างอาบน้ำเด็กหรือกะละมังก็ได้ ไม่ต้องฟอกสบู่ คุณควรใช้ฟองน้ำหรือผ้าเปียกเช็ดหัวด้วย ไม่ใช่แค่ตัวอย่างเดียว วิธีนี้จะช่วยให้ร่างกายลดอุณหภูมิได้เร็วขึ้น แต่ควรใช้น้ำแตะ ๆ ที่ปลายเท้าก่อนร่างกายจะได้ปรับอุณหภูมิได้
- หากเป็นเด็กโต ถ้าอาบน้ำได้ก็ควรพาไปอาบน้ำ
- หลังเช็ดตัวเสร็จไม่ต้องทาครีม หรือแป้งเพื่อให้ร่างกายระบายความร้อนได้
- ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหนา หรือห่มผ้าห่ม เพราะเมื่อลูกไข้ขึ้น เสื้อผ้าและผ้าห่มที่คลุมร่างกายลูกอยู่คือสาเหตุที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายอุณหภูมิได้ จึงเกิดอาการชัก
- หากคุณเหนื่อยล้าจนตาจะปิดดูแลลูกไม่ไหว ควรพาไปโรงพยาบาลเพื่อค้างคืน ให้พยาบาลคอยดูแล เพื่อป้องกันการชักจากไข้สูง
- คนที่ฉันรู้จักบอกเคล็ดลับว่า สมัยที่ลูกเขายังเล็ก เขาเลือกที่จะนอนถอดเสื้อและนอนกอดลูกเพื่อคอยสังเกตอุณหภูมิร่างกายของลูกตลอดคืน
ลูกชัก จากไข้สูง-03
สิ่งที่พ่อแม่ต้องระวังอย่างยิ่ง เมื่อลูกเป็นไข้
บทความ : ควรทำไม่ควรทำ เมื่อลูกเป็นไข้ แม่รู้มั๊ยบางอย่างอันตรายกว่าที่คิด
- ไม่ควรให้ลูกกินยาไอบูโพรเฟน จนกว่าคุณจะมั่นใจว่าอาการไข้ของลูกไม่ได้เกิดจากไวรัสเดงกี่ ที่เป็นต้นเหตุของโรคไข้เลือดออก เพราะไอบูโพรเฟนจะทำให้เกล็ดเลือดไม่แข็งตัว และทำให้อาการแย่ลงได้
- ไม่ควรให้ลูกกินยาแอสไพริน นอกจากคุณหมอเป็นผู้แนะนำ เนื่องจากอาจเกิดอาการแพ้ยาแอสไพริน ที่เรียกว่า กลุ่มอาการราย (Reye’s syndrome)
- หากลูกอายุต่ำกว่า 2 เดือน ไม่ควรให้ลูกกินยาลดไข้พานาดอล หรือไอบูโพรเฟน นอกจากจะได้รับคำแนะนำจากกุมารแพทย์
- ไม่ควรใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็ง แต่ควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดให้ทั่วร่างกายเพื่อให้อุณหภูมิร่างกายลดลง
- หากไข้ยังไม่ลด ไม่ควรให้ยาซ้ำเร็วเกินไป ควรอ่านฉลากยาอย่างระมัดระวัง และทำตามอย่างเคร่งครัด
- ไม่ควรงดอาหาร หากเจ้าตัวน้อยถึงวัยกินอาหารเสริมได้นอกจากนมแม่ ควรให้ลูกได้กินอาหารเขาอยากกิน เพราะร่างกายลูกต้องการพลังงานเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค แต่หากลูกไม่ยอมกินอาหาร คุณแม่ไม่ต้องกังวลมากเกินไป หากลูกดื่มน้ำหรือนมอย่างเพียงพอ และปัสสาวะปกติ
- ไม่ควรให้ลูกไปโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็กในระหว่างที่ลูกเป็นไข้ ควรรอให้ลูกหายไข้ครบ 24 ชั่วโมงก่อน
เมื่อลูกเป็นไข้ หมายความว่าระบบภูมิคุ้มกันของเจ้าตัวน้อยกำลังทำงาน เพื่อต่อสู้กับความผิดปกติในร่างกาย คุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกมีไข้สูงเกินไป (มากกว่า 40-41 องศา) เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะมีอาการชักจากไข้สูงได้ รีบพาลูกไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อความปลอดภัยดีกว่าค่ะ
_________________________________________________________________________________________
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
source : www.nhs.uk
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
โรคหน้าหนาว ต้องระวังลูกป่วย ทารก เด็กเล็ก เสี่ยงโรคร้าย แถมมีโรคแทรกซ้อนรุนแรงถึงชีวิต!
6 วิธีแก้ปัญหาลูกป่วยบ่อย ลูกไม่สบายบ่อย ป้องกันไม่ให้ลูกป่วยได้อย่างไรบ้าง
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บี ระบาดในไทย พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ เสียชีวิตแล้ว 6 ราย พาลูกฉีดวัคซีนด่วนๆ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!