ลูกแพ้นมวัว ทำอย่างไรดี พร้อมไขข้อข้องใจวิธีรับมือ สำหรับคุณแม่มือใหม่ทั้งหลาย!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะอาการของภูมิแพ้เป็นเรื่องน่ากลัว ที่อาจจะส่งผลต่อถึงลูกน้อยได้ ใช่ค่ะ เรากำลังหมายถึงอาการที่ ลูกแพ้นมวัว นั่นเองค่ะ! เพราะในครอบครัวที่มีพันธุกรรมเกี่ยวกับเรื่องภูมิแพ้ ที่รวมไปถึงเรื่องหอบหืด อาจส่งผลให้ลูกแพ้นมได้ ซึ่งการแพ้ในข้อนี้อาจจะทำให้ลูกได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต วันนี้ theAsianparent จะพาไปไขข้อสงสัยกับวิธีรับมือ ที่ลูกแพ้โปรตีนในนมวัว กับคุณหมอแอนนี่ พญ.วราลี ผดุงพรรค กุมารแพทย์ด้านภูมิแพ้ ในรายการ TAP Ambassador กันค่ะ

 

ต้องบอกก่อนว่าการแพ้นมวัว ชื่อที่ถูกต้องของโรคนี้ก็คือ โรคแพ้โปรตีนในนมวัว ในทารกเมื่อให้ดื่มนมวัวช่วงขวบปีแรก อาจจะเกิดอาการแพ้โปรตีนในนมวัวอย่างฉับพลันได้ หรือในเด็กบางคนอาการอาจจะค่อย ๆ แสดงออกใน 2-3 สัปดาห์หลังจากการทานนมวัวเข้าไป โดยในประเทศไทยมีเด็กที่แพ้โปรตีนนมวัวอยู่ที่ 20,000 คนต่อการเกิดใหม่ 700,000 คนค่ะ!

 

 

 

สาเหตุที่ ลูกแพ้นมวัว

พันธุกรรมเป็นสาเหตุเด่น โดยเฉพาะเด็กที่มีพ่อแม่เป็นภูมิแพ้ใด ๆ ก็ตาม เพราะอาการนี้ถ่ายทอดทางสายเลือด สาเหตุอีกประการ คือการถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้อยู่เป็นประจำ เช่น ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่กินนมวัวมากเกินกว่าปกติ ทำให้ลูกในท้องมีโอกาสที่จะแพ้ได้ง่าย การไม่ได้รับนมแม่ก็มีส่วนทำให้ลูกแพ้โปรตีนนมวัวง่ายขึ้น นอกจากนั้นลำไส้ของเด็กทารกที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้แพ้นมวัวได้เช่นกันค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การแพ้แล็กโทสที่อาจเกิดขึ้นได้ในเด็ก แท้จริงแล้วไม่ใช่อาการแพ้ที่น่าห่วง เพียงแต่ว่าในลำไส้อาจจะไม่มีเอนไซม์มากพอ ที่จะไปย่อยน้ำตาลแล็กโทส ทำให้บางคนมีอาการท้องอืด ท้องเสีย หรือถ่ายเหลว ซึ่งนี่ไม่ใช่อาการของการแพ้นมวัวที่มาจากพันธุกรรม และเป็นภาวะที่ทำให้คนเข้าใจผิด

บทความที่เกี่ยวข้อง : นม UHT ยี่ห้อไหนดี วิธีเลือกให้ดีกับพัฒนาการของลูกรักมากที่สุด ควรเลือกอย่างไร

 

วิธีสังเกตลูกแพ้นมวัว

  • คุณพ่อหรือคุณแม่มีประวัติโรคภูมิแพ้ เช่น แพ้อากาศ แพ้อาหาร หอบหืด เป็นต้น
  • ลูกคนก่อนเคยมีประวัติแพ้นมวัว
  • คุณแม่ดื่มนมวัวมากเป็นพิเศษระหว่างตั้งครรภ์
  • คุณแม่ดื่มนมวัวเป็นประจำขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ลูกดื่มนมวัวตั้งแต่แรกเกิด
  • ลูกได้รับนมแม่ในระยะสั้น
  • ลูกปวดท้องร้องกวนแบบโคลิก
  • ลูกมีอาการป่วยแบบเป็น ๆ หาย ๆ ท้องเสียเรื้อรัง

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการแพ้นมวัวมีอะไรบ้าง ?

โดยทั่วไปมี 3 อาการหลัก โดยอาจเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ และจะเกิดขึ้นไม่เกิน 4 สัปดาห์หลังได้รับนมวัว รวมไปถึงโยเกิร์ต ไอศกรีม ช็อกโกแลต หรือชีส ด้วย โดยแบ่งได้ดังนี้

  1. อาการทางผิวหนัง : จะพบได้ทั้งแบบผื่นลมพิษ โดยจะเป็นผื่นแดง คัน ทั้งตัว หรือเป็นบางส่วนของร่างกาย หรืออาจเป็นผื่นคัน ฝ้าขาว นูน ก็ได้ เป็นกลุ่มอาการที่พบมากที่สุด อาการจะเกิดขึ้นหลังกินนมไปแล้วภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงจนถึงนานเป็นสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับลักษณะของผื่น
  2. อาการทางเดินหายใจ : อาจมีอาการคัดจมูกเรื้อรัง น้ำมูกไหลเรื้อรัง มีเสมหะในลำคอหรือหลอดลม จนกระทั่งเป็นปอดอักเสบ ถือว่าเป็นภาวะภูมิแพ้ชนิดรุนแรง ถ้าไม่รักษาให้ทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้
  3. อาการทางเดินอาหาร : พบได้ตั้งแต่การสำรอกนมหรืออาเจียนบ่อย ร้องกวนโคลิกทุกคืน ถ่ายเหลวเรื้อรัง หรือแม้กระทั่งท้องผูกรุนแรง ส่วนใหญ่จะวินิจฉัยได้ยากอาจเป็นเรื้อรัง และไม่ได้เป็นทันทีหลังจากกินนมเข้าไป

 

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการแพ้นมวัว

ความเชื่อที่ว่าให้กินอาหารทีละน้อย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเป็นความคิดผิด เพราะการกินทีละน้อยแบบนี้เหมือนเป็นการสะสม จะทำให้ร่างกายแพ้รุนแรงมากขึ้น เช่น เดิมทีอาจแพ้โดยมีอาการทางผิวหนังอย่างเดียว แต่พอให้กินไปเรื่อย ๆ อาจทำให้ลูกแพ้ถึงขั้นช็อกได้ เพราะหลักการของผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ ร่างกายจะไวต่อสิ่งกระตุ้น ถ้ายิ่งได้รับสิ่งที่แพ้ไป ยิ่งไปกระตุ้นอาการแพ้ให้เป็นมากขึ้น วิธีแก้คือต้องทำให้ร่างกายลืมว่าเคยแพ้อะไร เช่น ถ้าลูกแพ้นมวัวลองให้ลูกหยุดกินไป 3-5 ปี ก็จะหาย และสามารถกลับมากินนมวัวได้ แต่อาหารบางชนิดอย่างถั่วอาจแพ้ตลอดชีวิต ดังนั้นระยะเวลาในการงดอาหารแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

หากลูกแพ้นมวัวต้องดูแลรักษาอย่างไร

เมื่อสงสัยว่าลูกแพ้โปรตีนนมวัว ให้เปลี่ยนเป็นนมพิเศษ ในประเทศไทยมีนมพิเศษอยู่ 4 ชนิด และเมื่อเปลี่ยนจนทราบว่าลูกเหมาะกับนมชนิดใด ก็ให้ลูกดื่มนมชนิดนั้นต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน จึงค่อยหาทางเปลี่ยนนมวัวภายหลัง

  • นมที่มีโปรตีนนมวัวย่อยละเอียด
  • นมที่มีโปรตีนเป็นกรดอะมิโน
  • นมจากเนื้อไก่
  • นมข้าวอะมิโน เป็นนมที่มีโปรตีนเป็นกรดอะมิโน และน้ำตาลที่มาจากแป้งข้าวเจ้า

 

ลูกสามารถหายขาดจากการแพ้โปรตีนนมวัวหรือไม่

จากข้อมูลการแพ้นมวัวของเด็กในประเทศไทย พบว่ามีเพียง 1% เท่านั้น ที่จะมีอาการแพ้นมวัวจนอายุ 10 ขวบ ในเด็กตั้งแต่อายุ 1 ขวบปีขึ้นไป จะมีโอกาสหายได้ในร้อยละ 70 และจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเมื่อเด็กอายุครบ 3 ปี ที่มีอาการแพ้นมวัวนั้น มีโอกาสหายได้ถึง 90% เลยทีเดียว

 

 

นมถั่วเหลืองสำหรับเด็ก โปรตีนทางเลือกสำหรับเด็กแพ้นมวัว

เพราะการขาดโปรตีนและสารอาหารสำคัญอื่น ๆ ในนมวัว อาจส่งผลให้ลูกเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่หรือสุขภาพ อ่อนแอเพื่อช่วยให้ลูกเติบโตตามวัย สามารถเลือกนมถั่วเหลืองสำหรับเด็ก เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มเสริมโภชนาการได้ เพราะนมถั่วเหลืองเป็นแหล่งของโปรตีนจากพืช (Plant-based Protein) และเป็นหนึ่งในพืชไม่กี่ชนิดที่สามารถมอบกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 9 ชนิด ซึ่งมีจำนวนชนิดครบเท่ากับที่มีในโปรตีนของนมวัวและไข่ขาว

 

วิธีเลือกนมถั่วเหลือง สำหรับลูกที่มีอาการแพ้นมวัว

  1. ตรวจดูฉลากข้างกล่อง : เพราะในฉลากจะมีรายละเอียดของสารอาหารอย่างครบถ้วน
  2. ไม่ผสมนมผง : เด็กที่มีปัญหาแพ้นมวัว ไม่ได้แปลว่าจะทานยี่ห้อไหนก็ได้ ต้องเลือกสูตรที่ไม่ผสมนมผงเท่านั้น เพราะนมผงก็คือนมวัว
  3. เป็นชนิดที่ผลิตเพื่อเด็ก : เด็กต้องการสารอาหารที่ครบถ้วนมากกว่าผู้ใหญ่
  4. แคลเซียมสูง : ตามธรรมชาติของนมถั่วเหลืองมีแคลเซียมน้อยกว่านมวัว ดังนั้นต้องเช็กทุกครั้งว่าปริมาณแคลเซียมเพียงพอหรือไม่
  5. รสจืดหรือหวานน้อย : เพื่อไม่ให้เด็กติดหวานและมีปัญหาฟันผุ หรือโรคอ้วนตามมา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ถ้าแม่ให้นมยังมีการดื่มนมวัว แต่ลูกแพ้โปรตีนนมวัว จะส่งผลถึงลูกจริงหรือ ข้อนี้เป็นเรื่องที่สามารถเป็นไปได้ โดยเฉพาะในเด็กบางคนที่มีความไวต่อการแพ้นม เพราะในความเป็นจริงแล้วน้ำนมแม่ที่ให้ลูกดื่ม ก็มาจากสารอาหารที่แม่ทานเข้าไป หากคุณแม่ที่ทานนมวัวเข้าไป สารอาหารนั้นก็จะเข้าไปในทางเดินอาหาร และจะผ่านกระบวนการสร้างน้ำนมของแม่ได้ ซึ่งตรงนี้เราเรียกว่าการแสดงอาการแพ้นมวัวผ่านนมแม่นั่นเองค่ะ หากใครที่ต้องการรับฟังคำตอบของหมอแอนนี่แบบเต็ม ๆ สามารถเข้าไปรับชมต่อได้ที่ Facebook : theAsianparent Thailand ต่อได้เลยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คราบฟันเหลือง ปัญหาเริ่มต้นสำหรับสุขภาพช่องปาก พร้อมวิธีดูแลฟันลูกน้อย

โรคยอดฮิตหน้าฝน ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง อย่าให้ลูกน้อยติด!

ความเครียดกับผู้หญิง เพราะผู้หญิงอย่างเราเป็นทุกอย่างก็เครียดนะ

ที่มา : theAsianparentTH, mamastory.net

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn