ลูกหิว จะฝึกลูกให้กินข้าวได้ด้วยตนเอง สามารถช้อนส้อมเอามาฝึกได้ วิธีการเลือกช้อนส้อมสำหรับเด็ก ที่ผู้ปกครองไม่ควรพลาด เพราะไม่ใช่ว่าลูกรักจะสามารถใช้ได้แบบเดียวกับผู้ใหญ่ เราจะพามาดูว่าการเลือกให้เหมาะกับแต่ละช่วงอายุ ควรเลือกแบบไหนจะดีที่สุด
ทำไมต้องเลือกช้อนส้อมที่เหมาะสมให้กับลูก
เนื่องจากเด็ก ๆ จะมีพัฒนาการช้า หรือเร็วที่ไม่เท่ากันในทุก ๆ ด้าน สำหรับการใช้ช้อนส้อม หรือการหยิบจับสิ่งต่าง ๆ เองก็ด้วยเช่นกัน เป็นสิ่งที่ลูกน้อยอาจไม่สามารถทำได้อย่างถนัด จนกว่าจะมีอายุที่เหมาะสมต่อพัฒนาการ ซึ่งตัวเลขอายุเฉลี่ยที่เด็ก ๆ จะสามารถหยิบจับสิ่งของได้มั่นคงมากขึ้นอยู่ที่ราว ๆ 2 – 4 ปี ดังนั้นก่อนที่จะถึงช่วงเวลานั้น ผู้ปกครองจะต้องมั่นใจช้อนส้อมที่นำมาใช้กับลูก หรือนำมาฝึกให้ลูกจับ ฝึกสัมผัส จะมีความปลอดภัยต่อตัวของลูกรัก สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม และถูกออกแบบมาให้เหมาะกับช่วงวัยของเด็กแต่ละช่วงอายุด้วยนั่นเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ช้อนทารก ยี่ห้อไหนดีที่สุดสำหรับลูกน้อย แนะนำช้อนป้อนข้าวทารก
วิธีการเลือกช้อนส้อมสำหรับเด็ก เลือกอย่างไรให้ถูกวัย
หลังจากทารกน้อยคลอดออกมา ในช่วง 6 เดือนแรก เป็นช่วงที่ต้องกินนมแม่ ยกเว้นกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ว่าแม่ไม่สามารถให้นมลูกได้ ซึ่งควรปรึกษากับแพทย์ แต่สำหรับโดยปกติแล้วที่คุณแม่สามารถให้นมได้ ก็ควรให้อย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนแรก เพื่อพัฒนาการของลูกน้อยเอง ดังนั้นหลังผ่านไป 6 เดือนแล้ว ทารกจะเข้าสู่การทานอาหารต่าง ๆ เสริมเข้าไปด้วย การเริ่มเลือกซื้อช้อนส้อมให้กับลูกรักจึงเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุนี้
1. ทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป
ในวัยนี้ทารกยังตัวเล็ก ไม่ได้มีการเติบโตมาก จึงต้องระมัดระวังการเลือกช้อนสำหรับลูก ต้องเลือกให้มีความสัมพันธ์กับขนาดของปากทารกด้วย ดังนั้นช้อนจึงควรมีรูปร่างที่เล็กเรียวเป็นวงรี ด้ามจับก็ควรเล็กเรียวด้วยเช่นกัน เพื่อให้สามารถป้อนอาหารเข้าปากลูกได้อย่างสะดวก ไม่หกเลอะเทอะ และไม่ต้องให้ลูกอ้าปากมากเกินไปเพื่อทานอาหาร อาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อของลูกได้
2. ทารกอายุ 9 – 10 เดือนขึ้นไป
ในช่วงวัยนี้ทารกจะเริ่มโตขึ้น ช้อนแบบเดิมอาจจะยังใช้ได้อยู่ หากเทียบขนาดของช้อนกับปากของทารก แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยทารกน้อยมีขนาดตัวที่โตขึ้น ปากที่กว้างมากขึ้นตามนั้น อาจเหมาะกับช้อนที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดที่ใหญ่มากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นช้อนที่เหมาะกับเด็กในช่วงวัยนี้ จึงควรเป็นช้อนที่มีความกว้างเพิ่มมากกว่าตอนแรกระดับหนึ่ง คล้ายทรงรูปไข่ รวมถึงด้ามจับก็ควรใหญ่ขึ้นระดับหนึ่งด้วย
3. ทารกอายุ 1.5 ปีขึ้นไป
ลูกรักในช่วงวัยนี้ยังไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้สะดวก แต่เป็นช่วงวัยที่ควรได้รับการฝึกฝนให้หยิบจับสิ่งของในเบื้องต้น รวมไปถึงการตักอาหารทานด้วยมือของตนเองบ้าง ดังนั้นช้อนส้อมที่เลือกในช่วงนี้ จึงต้องถูกออกแบบมาสำหรับการจับของเด็กด้วย สังเกตจากด้ามจับที่ควรมีขนาดพอดีกับมือของเด็ก ๆ และช้อนส้อมสำหรับเด็กหัดกิน ควรมีลักษณะโค้งงอเล็กน้อย เพื่อให้สะดวกต่อการตักเข้าปากนั่นเอง ในช่วงนี้ทารกจะจับได้ทีละมือ ดังนั้นผู้ปกครองจะต้องใจเย็น ค่อย ๆ ฝึกให้ลูกไปเรื่อย ๆ อย่ารีบร้อนจนเกินไป
4. เด็กอายุ 1.8 ปีขึ้นไป
ช่วงวัยนี้เด็ก ๆ จะสามารถฝึกใช้ 2 มือในการจับสิ่งของพร้อมกันได้แล้ว จึงสามารถใช้ช้อนและส้อมได้ ผู้ปกครองควรเลือกซื้อชุดช้อนส้อมที่ด้ามจับจะโค้งงอเล็กน้อยไปกันคนละทาง เพื่อให้สะดวกต่อทิศทางในการจับ หมุนทิศทางเข้าสู่ปากของลูกรักได้ง่ายมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากเด็กบ้านไหนที่ยังไม่สามารถจับช้อนส้อม 2 มือได้ ผู้ปกครองก็ต้องใจเย็น ๆ เพราะพัฒนาการของเด็กแต่ละคนนั้นช้าเร็วแตกต่างกัน
5. เด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป
ตามที่เราได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ ในช่วงวัย 2 – 4 ปี เด็ก ๆ จะสามารถใช้มือหยิบจับสิ่งของได้ดียิ่งขึ้นแล้ว ในช่วงอายุนี้สามารถใช้ช้อนส้อมที่มีลักษณะคล้ายผู้ใหญ่มากขึ้นแล้ว เพียงแต่จะมีขนาดที่เล็กกว่าเท่านั้น และยังมีจุดสังเกต คือ ตัวส้อมจะมีความโค้งมนไม่คม เพราะส่วนที่คมแบบของผู้ใหญ่ อาจทำอันตรายกับเด็กได้ ผู้ปกครองจึงต้องคำนึงเรื่องความปลอดภัยในการเลือกซื้อช้อนส้อมให้เด็กร่วมด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีฝึกลูกกินข้าวเอง แบบง่าย ๆ บ้านไหนลูกไม่ยอมกินข้าวต้องลอง !!
5 เทคนิคช่วยเลือกซื้อช้อนส้อมให้กับเด็กได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากวิธีการเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย ตามที่เราได้บอกไปแล้ว ยังมีเทคนิคอื่น ๆ ที่สามารถนำมาพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อช้อนส้อมสำหรับเด็กแต่ละคู่ด้วย ได้แก่
- ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อ หากไม่มั่นใจ ไม่ควรเลือกจากความอยากได้ หรือความน่ารักสวยงาม แต่ควรปรึกษารับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้คำตอบจากข้อสงสัย อย่างถูกต้องปลอดภัย
- เนื่องจากลูกจะถนัดมือซ้าย หรือขวาจะปรากฏให้เริ่มเห็นในช่วงอายุ 2 – 4 ปี ดังนั้นการเลือกซื้อช้อนส้อมให้เด็กไม่ควรคำนึงว่าจะต้องใช้มือไหน แต่ควรถูกออกแบบให้มีลักษณะที่สามารถหยิบจับได้ทั้ง 2 มือ เพื่อรองรับมือของลูกที่ยังไม่มีข้างที่ถนัด
- การเลือกความลึกของชื้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากในช่วงแรกทารกอาจไม่สามารถกินได้มากนัก จึงไม่ควรเลือกช้อนที่มีความลึกมากเกินไป จะทำให้ทานอาหารได้ไม่สะดวก เมื่อทารกสามารถทานอาหารได้มากขึ้นตามช่วงอายุ จึงค่อย ๆ เพิ่มความลึกของช้อนให้มากขึ้นนั่นเอง
- เมื่อลูกสามารถเริ่มฝึกจับช้อนได้แล้ว หากต้องพาลูกออกไปข้างนอก ควรมีชุดช้อนส้อมแยกเอาไว้เพื่อนำออกไปด้วย เพื่อให้การฝึกของลูกไม่ขาดช่วง สร้างคุ้นชินให้กับลูกได้บ่อยขึ้น จะช่วยให้ลูกปรับตัวตามพัฒนาการที่เหมาะสมได้ ซึ่งควรเลือกแบบมีกล่องใส่ เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ก่อนนำออกมาใช้จริง
- การเลือกลายการ์ตูน น่ารักสามารถทำได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับลูกรักได้ด้วย เมื่อได้ร้านที่ถูกใจแล้ว อาจชวนลูกมาเลือกลายด้วยตนเอง ก็เพิ่มความอยากใช้ อยากลองของลูกได้ดี
หากเลือกรูปแบบของช้อนส้อมให้กับลูกได้ถูกต้อง จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีตามวัย ไม่นานลูกก็จะเรียนรู้ และสามารถตักอาหารทานเองด้วยมือข้างที่ถนัดได้อย่างแน่นอน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
10 กล่องข้าวเด็ก กล่องอาหารกลางวัน ยี่ห้อไหนดี น่าซื้อ ราคาดีที่สุด
ของใช้บนโต๊ะอาหาร : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
ชุดอาหารเด็ก สำหรับมื้ออาหารของหนูน้อย เลือกแบบไหนให้ปลอดภัยที่สุด
ที่มา : amorbabythailand, beabathailand
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!