เด็ก ๆ กินเค็ม ได้มากแค่ไหน กินเค็มอย่างไรให้พอดี ปลอดภัย ห่างไกลจากโรค

เด็ก ๆ กินเค็มเท่าไหร่จึงจะพอดี มาดูกัน (รูปโดย tirachardz จาก freepik.com)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อะไรที่มากไปย่อมไม่ดี เช่นเดียวกับการรับประทานอาหารที่รสจัด ไม่ว่าจะเผ็ด หวาน หรือเค็มไป ก็ย่อมไม่ดีต่อสุขภาพทั้งนั้น ซึ่งเด็ก ๆ หลายคน ก็คงชอบรับประทานอาหารรสเค็ม กินเค็ม และติดเค็มกัน หากคุณแม่ให้เด็กรับประทานอาหารที่รสเค็มเกินไป อาจทำให้เด็กมีปัญหาสุขภาพตามมาได้ วันนี้ เราจะมาดูกันดีกว่า ว่าคุณแม่จะจำกัดปริมาณเกลือที่เด็กควรได้รับในแต่ละวันได้อย่างไรบ้าง ควรให้เด็ก ๆ กินเค็มขนาดไหนจึงจะพอดี และห่างไกลจากโรค

 

เด็ก ๆ กินเค็มได้มากเท่าไหร่

ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาแนะนำว่า เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับโซเดียมเพียง 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน และเด็กอายุ 4-8 ปีนั้น ควรได้รับโซเดียมวันละ 1,900 มิลลิกรัม ส่วนเด็กอายุ 14 ปีขึ้นไป สามารถรับประทานโซเดียมได้ไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน จึงจะพอดี ซึ่งวิธีตวงหรือคิดปริมาณโซเดียมก็มีง่าย ๆ ดูได้ดังนี้

 

  • โซเดียม 1/4 ช้อนชา คิดเป็น 575 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 1/ 2 ช้อนชา คิดเป็น 1,150 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 3/4 ช้อนชา คิดเป็น 1,725 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 1 ช้อนชา คิดเป็น 2,300 มิลลิกรัม

 

อย่างไรก็ตาม หากเด็กคนไหนเป็นโรคความดันสูง เบาหวาน และโรคปอดเรื้อรังอยู่แล้ว ก็ไม่ควรรับประทานโซเดียมเกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะอาจทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นได้

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้อง ครรภ์เป็นพิษ ผ่าคลอดด่วน! หมอบอกต้องเลี่ยงอาหารรสเค็ม รสจัด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กกินเค็มแค่ไหนจึงจะดี ให้ห่างไกลจากโรคภัย (ภาพโดย tirachardz จาก freepik.com)

 

กินเค็ม ไม่ดียังไง

การรับประทานอาหารที่เค็มหรือมีโซเดียมเยอะเกินไป อาจทำให้เด็กมีความดันในเลือดสูง เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ รวมทั้งเด็กยังอาจเป็นโรคกระดูกพรุนได้เมื่อโตขึ้น เนื่องจากแคลเซียมในร่างกายจะถูกขับออกมากับปัสสาวะหากเด็กกินเค็มมากเกินไป โดยเด็กผู้หญิงนั้น จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากกว่าเด็กผู้ชาย และนอกจากนี้ หากเด็กเป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์อยู่แล้ว การรับประทานอาหารที่เค็มจัด ก็จะยิ่งเป็นอันตรายต่อเด็ก ๆ มากขึ้นไปอีก ซึ่งก็มีผลสำรวจจากต่างประเทศก็ชี้ว่า เด็ก ๆ มีแนวโน้มจะรับประทานเค็มมากที่สุดในช่วงเย็น โดยคิดเป็น 39 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับในหนึ่งวัน ดังนั้น หากคุณแม่ไม่อยากให้เด็ก ๆ กินเค็มมากเกินไป แนะนำให้ทำอาหารให้เด็กทานจะดีที่สุด เพราะเราสามารถควบคุมปริมาณเกลือในอาหารได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : กุมารแพทย์เตือน 10 พฤติกรรมที่พ่อแม่เผลอให้ ลูกเสียนิสัย โดยไม่รู้ตัว

 

เด็กติดเค็มดูยังไง อาหารอะไรที่ควรเลี่ยง

อาจจะมีบางที ที่คุณแม่ไม่ทันสังเกต หรืออาจจะไม่รู้ว่าเด็กติดเค็มมากแค่ไหน ซึ่งหากน้อง ๆ กระหายน้ำ ต้องการดื่มน้ำตลอดเวลา ขณะที่รับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่ รวมทั้งติดขนมขบเคี้ยว ขนมมันฝรั่งทอดกรอบ มีน้ำหนักตัวเพิ่มทั้งที่ไม่ได้กินของหวานหรืออาหารที่มีไขมันสูง หรือมีฉี่สีเหลืองเข้มและกลิ่นแรง คุณแม่อาจจะต้องให้เด็กหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านั้น เพราะอาการข้างต้น เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกรับประทานเค็มมากเกินไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่วนอาหารที่เด็ก ๆ ชอบกินกันแต่มีโซเดียมเยอะ ก็มีทั้งพิซซ่า ขนมปังโรล เนื้อหมักเค็ม ขนมมันฝรั่งทอด แซนด์วิช ชีส นักเก็ต สปาเก็ตตี้ผัดซอส เบอร์ริโต ทาโก้ และซุป ซึ่งหากเด็ก ๆ ชอบกินอาหารเหล่านี้ แถมยังมีอาการที่กล่าวไว้ข้างต้น คุณแม่ควรให้น้อง ๆ งดรับประทานอาหารดังกล่าวไปก่อนนะคะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารที่มีโซเดียมสูง แม่ท้องอย่ากิน ต้องระวังให้มากกินแล้วไม่ดี

 

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้น้อง ๆ กินเค็มจนเกินไป เพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ (ภาพโดย jcomp จาก freepik.com)

 

ข้อแนะนำในการรับประทานอาหารเค็ม

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องห้ามไม่ให้เด็กรับประทานโซเดียม เพราะโซเดียมถือเป็นสารอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายเด็กหากรับประทานแต่พอดี โซเดียมนั้น มีส่วนช่วยให้ระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อของเด็กทำงานได้ดียิ่งขึ้น แถมยังช่วยรักษาสมดุลของเหลวภายในร่างกายเด็กได้อีกด้วย แต่คุณแม่ก็ควรดูแลเด็ก ๆ ไม่ให้เขารับประทานโซเดียมเยอะเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เช่น

 

  • ให้เด็กงดรับประทานขนมขบเคี้ยว และให้เขาทานผักหรือผลไม้แทน แต่หากเด็กงอแง และยังอยากกินขนมอยู่ ก็ควรให้กินเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำจากร้าน เพราะอาหารจากร้านอาหารส่วนใหญ่ มีโซเดียมเยอะ โดยคิดเป็น 81 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณโซเดียมที่ควรทานใน 1 วัน
  • หากคุณแม่ชอบทำอาหารโดยใช้ถั่วหรือผักกระป๋อง ให้เทน้ำในกระป๋องออกก่อนที่จะผสมผักหรือถั่วลงไปในอาหาร
  • คุณแม่สามารถทำอาหารกลางวันไปให้น้อง ๆ รับประทานที่โรงเรียนได้ เพราะอาหารที่โรงอาหารของเด็ก ๆ อาจมีโซเดียมอยู่เยอะ
  • เมื่อทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน ควรใส่เกลือลงไปให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือจะใส่ผัก สมุนไพร หรือเครื่องเทศต่าง ๆ ลงไปแทนเกลือก็ได้
  • สอนให้เด็กกินผักและผลไม้ตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อที่เขาจะได้คุ้นชิน ไม่ติดอาหาร หรือขนมที่มีรสเค็มจัด
  • หากต้องการเลือกซื้อเครื่องปรุง ให้สังเกตที่ฉลากสินค้า เพื่อเปรียบเทียบสินค้าก่อนเสมอ และควรเลือกซื้อสินค้าที่มีโซเดียมน้อย

 

แม้ว่าการรับประทานอาหารที่เค็ม หรือมีโซเดียมมากไป จะก่อให้เกิดโทษ แต่หากรับประทานแต่พอเหมาะพอดี ก็เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้เช่นกัน หากคุณแม่รู้สึกกังวลใจมาก ไม่รู้ว่าควรทำยังไงให้เด็กกินเค็มน้อยลง แนะนำให้เข้ารับการปรึกษากับคุณหมอ เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมก่อนได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :
เด็กกินเผ็ดได้ไหม? ควรทำอย่างไรเมื่อลูกกินเผ็ด? สิ่งที่คุณแม่ควรรู้
อาหารที่เด็กกินแล้วเสี่ยงฟันผุ ! คุณแม่ควรพึงระวัง เพื่อไม่ให้เด็กสูญเสียฟัน !
อาหารที่ควรเลี่ยง กับเด็กที่เป็นเบาหวานประเภท 1 และ 2

ที่มา : heart , parents , parents , cdc , nurturelife , actiononsalt

 

บทความโดย

Kanokwan Suparat