ค่าผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ - เอกชน เท่าไหร่ ใช้สิทธิประกันสังคมอะไรได้บ้าง?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ค่าผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ตั้งครรภ์รอบนี้ ต้องจ่ายเท่าไหร่ ค่าทำคลอด ฝากท้องกี่บาท ควรต้องออมเงิน เตรียมเงินไว้เท่าไหร่ สำหรับการมีลูก คุณสามารถเช็กราคา ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ค่าทำคลอด ค่าฝากท้อง รวมถึงสิทธิประกันสังคมสำหรับคนท้องได้ที่นี่

 

ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ และค่าทำคลอดที่แม่ท้องต้องรู้

เมื่อไหร่ที่เริ่มตั้งครรภ์ เมื่อนั้นคุณแม่ก็เตรียมค่าใช้จ่ายเอาไว้ได้เลย โดยสิ่งแรกที่คุณแม่ต้องนึกถึง นั่นก็คือ การฝากครรภ์ ซึ่งค่าฝากครรภ์นั้น ก็จะมีราคาที่แตกต่างกันออกไป หากคุณแม่ท้องเลือกที่จะฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรัฐ ก็อาจจะต้องตื่นเช้าเพื่อไปรอคิวตรวจนานเป็นพิเศษ เนื่องจากมีผู้ไปรับบริการเป็นจำนวนมาก แต่ข้อดีของการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลของรัฐ นั่นก็คือจะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงมาก

ส่วนโรงพยาบาลเอกชน ราคาก็จะสูงขึ้นตามความสะดวกสบาย เหมาะสำหรับแม่ท้องที่ไม่ค่อยมีเวลาหรือมีเงินที่พร้อมจ่ายในส่วนนี้อยู่แล้ว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณพ่อและคุณแม่ บวกกับสถานะทางการเงินเป็นหลัก ซึ่งเมื่อคุณแม่ฝากครรภ์แล้ว คุณหมอก็จะนัดตรวจครรภ์โดยเฉลี่ยประมาณ 9 - 12 ครั้ง อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพครรภ์ของคุณแม่ ซึ่งในแต่ละครั้งก็จะมีค่าใช้จ่าย เช่น

  • โรงพยาบาลรัฐ

    • ค่าฝากครรภ์ครั้งแรก ประมาณ 1,500 บาท
    • ค่าตรวจครรภ์ ครั้งละประมาณ 100 - 300 บาท
    • ค่ายาตลอดช่วงตั้งครรภ์ ประมาณ 1,000 บาท
    • ค่าตรวจอัลตราซาวนด์ ประมาณครั้งละ 500 บาท
    • ค่าวัคซีน ประมาณ 200 บาท
  • โรงพยาบาลเอกชน

ส่วนมากแล้ว สำหรับโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่ ค่าใช้จ่ายจะรวมอยู่ในแพ็กเกจคลอดอยู่แล้ว ซึ่งก็จะครอบคลุมการตรวจทั้งหมด และสามารถแบ่งชำระเป็นงวดได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละโรงพยาบาล โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 10,000 - 30,000 บาท ในส่วนของค่าใช้จ่ายแบบแพ็กเกจเหมาคลอดนั้น ก็จะเริ่มต้นที่ประมาณ ราคาประมาณ 10,000 - 50,000 บาท แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละโรงพยาบาล

หมายเหตุ ราคาข้างต้นเป็นราคาโดยประมาณเท่านั้น และยังไม่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษอื่น ๆ ในกรณีที่คุณแม่มีภาวะเสี่ยงต่าง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ ต้องจ่ายอะไร ยังไงบ้าง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 37

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ค่าใช้จ่ายในการคลอดลูก

สำหรับค่าใช้จ่ายในการคลอดลูกนั้น ราคาก็จะแตกต่างกันไปตามรูปแบบการคลอดและลักษณะของโรงพยาบาล หากคลอดธรรมชาติ ก็จะถูกกว่าผ่าคลอด และโรงพยาบาลรัฐ จะถูกกว่าโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งค่าใช้จ่ายโดยประมาณมีดังนี้

  • ค่าผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ

ค่าคลอดของโรงพยาบาลรัฐ กรณีคลอดธรรมชาติจะอยู่ที่ประมาณ 5,000 - 15,000 บาท และสำหรับการผ่าคลอดราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 15,000 - 30,000 บาท ซึ่งส่วนมากจะรวมค่าห้องแล้ว แต่สำหรับบางโรงพยาบาลที่ไม่รวมค่าห้อง ราคาห้องก็จะอยู่ที่ประมาณ 500 - 3,000 บาท

  • ค่าคลอดโรงพยาบาลเอกชน

สำหรับโรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายแบบแพ็กเกจ กรณีคลอดธรรมชาติ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 - 90,000 บาท ส่วนกรณีผ่าคลอด ราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 60,000 ไปจนถึง 150,000 บาท ซึ่งส่วนมากจะรวมค่าห้องอยู่ในแพ็กเกจ และหากผ่าคลอด ก็จะต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล 4 - 5 วัน เช่นเดียวกันทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ส่วนกรณีคลอดแบบพิเศษ เช่น คลอดลูกแฝด หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สรุปค่าใช้จ่ายระหว่างคลอด

สำหรับค่าใช้จ่ายระหว่างคลอดนั้น หากเลือกคลอดที่โรงพยาบาลรัฐ ค่าใช้จ่ายก็อาจจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 - 50,000 บาท และหากเลือกคลอดที่โรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายก็จะอยู่ที่ประมาณ 70,000 - 150,000 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อาจมีความแตกต่างและอาจจะเพิ่มมากขึ้น หากมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเช่น ค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือมีภาวะแทรกซ้อน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายแฝงอื่น ๆ ที่คุณอาจจะลืมนึกไป เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าข้าวของเครื่องใช้ระหว่างตั้งครรภ์ต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม คุณแม่อาจจะต้องลองตรวจสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิข้าราชการ ประกันสังคม หรือบัตรทอง เพื่อที่จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลง

บทความที่เกี่ยวข้อง : รวมแพ็กเกจคลอด ปี 2567 ค่าคลอดเหมาจ่าย รพ.เอกชน ในกรุงเทพฯ

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ค่าใช้จ่ายหลังคลอด มีอะไรบ้าง

หลังคลอดแล้ว ก็ยังคงมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่มากมาย ทั้งค่าเสื้อผ้า ค่าผ้าอ้อม ค่าของเล่น ค่าคาร์ซีต รวมถึงของใช้จิปาถะ และค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ลูกน้อยเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาอีก คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องไม่ลืมที่จะเก็บเงินเอาไว้เป็นค่าใช้จ่ายหลังคลอดกันด้วยนะคะ

 

คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้เท่าไหร่

คุณพ่อคุณแม่ที่มีสิทธิเบิกค่าคลอดลูก สามารถเบิกได้ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง หากภรรยาไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม แต่สามีเป็นผู้ประกันตน ก็สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ได้สูงสุด 15,000 บาท ต่อการคลอดลูก 1 ครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการให้สิทธิ ดังต่อไปนี้

  1. จ่ายเงินสมทบมากกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการคลอดลูก
  2. การเบิกคลอดบุตร สามีภรรยาหากเป็นผู้ประกันตนด้วยกันทั้งคู่ จะต้องใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดลูกจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่จำกัดจำนวนลูกต่อครั้ง
  3. คุณแม่มีสิทธิ์ได้รับเงินสงเคราะห์จากการหยุดงานเพื่อคลอดลูก เหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือน เฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน (เบิกได้สูงสุดไม่เกิน 2 ครั้ง)

 

ขั้นตอนการเบิกค่าฝากครรภ์

สำหรับขั้นตอนในการฝากครรภ์ คุณแม่ต้องเตรียมเอกสารสำคัญให้พร้อม 3 อย่าง ซึ่งได้แก่ สมุดฝากครรภ์ ใบเสร็จจากโรงพยาบาลหรือคลินิก และใบรับรองแพทย์ตลอดอายุครรภ์ 5 ช่วง ดังนี้

  • อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์
  • อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ ไม่เกิน 20 สัปดาห์
  • อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ ไม่เกิน 28 สัปดาห์
  • อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ ไม่เกิน 32 สัปดาห์
  • อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์เป็นต้นไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : คลอดลูกใช้สิทธิไหนดี ประกันสังคม vs บัตรทอง สิทธิไหนฟรีไม่ต้องจ่ายเพิ่ม

 

 

ฝากครรภ์ ประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่

ประกันสังคมจะจ่ายค่าฝากครรภ์ให้คุณแม่ โดยเพิ่มจากค่าฝากครรภ์ 5 ครั้ง รวมเป็น 1,500 บาท จากเดิม 3 ครั้ง 1,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

  • อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500 บาท
  • อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท
  • อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท
  • อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท
  • อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์เป็นต้นไป จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เอกสารเบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคม

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01
  2. สูติบัตรลูก
  3. ฝ่ายชายซึ่งเป็นผู้ประกันตน ให้ใช้ทะเบียนสมรสหรือหนังสือรับรองบุตร ในกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก 9 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารซีไอเอ็มบีไทย

 

เอกสารเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคม

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01
  2. สมุดฝากครรภ์ ใบเสร็จฝากครรภ์ และใบรับรองแพทย์
  3. สำเนาสมุดบัญชี 9 ธนาคาร หรือเลขบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay)

 

ทั้งนี้ คุณแม่สามารถเบิกค่าคลอดบุตรจากประกันสังคมได้นับตั้งแต่วันที่คลอด โดยสามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสาขาที่สะดวก ยกเว้นสำนักงานใหญ่ กระทรวงสาธารณสุข หรือโทรสอบถามเพิ่มเติมได้กับประกันสังคมโดยตรง โทร 1506

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

20 หมอสูตินรี ที่ไหนดี ปี 2567 รวมสูตินรีแพทย์ที่คุณแม่บอกว่าดี

สมุดฝากครรภ์ สมุดชมพูคนท้อง ทำไมจึงสำคัญ มีค่ากับคุณแม่และทารกมาก

เบิกค่าคลอดบุตร สิทธิประกันสังคม ได้เท่าไหร่ พ่อมือใหม่เล่าอย่างละเอียดยิบ

ที่มา : m2g, thairath

บทความโดย

P.Veerasedtakul