รู้หรือไม่ ในปี 2564 ที่ผ่านมา อาจมีเด็กไทยถึง 500 – 1,000 คน ที่มีภาวะ การสูญเสียการได้ยิน
เมื่อพูดถึงการตรวจคัดกรองโรค และภาวะต่าง ๆ ในเด็กแรกเกิดนั้น เชื่อว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ และคุณแม่มือใหม่ทุกคนก็น่าจะรู้จักกับชนิดของการคัดกรอง และได้ผ่านการตรวจหลาย ๆ ชนิดกันมาบ้างแล้ว แต่สำหรับ การตรวจคัดกรองการได้ยิน ถือเป็นการตรวจคัดกรอง ซึ่งมีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่กำหนดให้เด็กแรกเกิดทุกรายต้องได้รับการตรวจคัดกรองดังกล่าว
สำหรับในประเทศไทยเอง นอกจากจะไม่ได้มีข้อกำหนดให้มีการตรวจคัดกรองในเด็กแรกเกิดทุกรายแล้ว ยังมีเพียงไม่กี่โรงพยาบาลในประเทศไทย ที่มีเครื่องมือ สถานที่ หรือบุคลากร ที่สามารถทำการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิดได้
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2564 ระบุว่ามีจำนวนประชากรเกิดในประเทศไทยประมาณ 544,570 คน ซึ่งในจำนวนนี้ อาจมีเด็กไทยจำนวนถึง 500 – 1,000 คน ที่มีภาวะ การสูญเสียการได้ยิน โดยปัญหานี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ในปัจจุบัน การตรวจคัดกรองการได้ยิน ถือเป็นมาตรฐานใหม่ ที่กำลังพัฒนาให้เกิดความครอบคลุมในการตรวจทั่วทั้งประเทศ
การสูญเสียการได้ยินในเด็ก ปัญหาเร่งด่วน ที่ควรใส่ใจ เพราะไม่ใช่แค่ปัญหาเรื่องหูของลูก
เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ รับรู้ เข้าใจ และสามารถเตรียมตัวรับมือกับภาวะ การสูญเสียการได้ยินในเด็กได้มากยิ่งขึ้น เรามีโอกาสได้พูดคุยกับนายแพทย์ ดาวิน เยาวพลกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ประจำแผนกหู คอ จมูก โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งได้อธิบายความเร่งด่วนของปัญหาดังกล่าวไว้ว่า
“ผลกระทบของการสูญเสียการได้ยินในเด็กนั้น ไม่ใช่แค่ปัญหาเรื่องหูไม่ได้ยินเฉย ๆ แต่ยังส่งผลต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เมื่อเขาโตขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของภาษา เพราะเมื่อเด็กไม่ได้ยิน ก็จะพูดไม่ได้ เพราะจริง ๆ แล้วการฟังของเราไม่ได้เกิดขึ้นแค่ที่หู หูเป็นเพียงอวัยวะที่รับเสียงเข้ามา แล้วส่งสัญญาณประสาทไปที่สมอง ดังนั้น ปัญหาการสูญเสียการได้ยินนั้น อาจกล่าวได้ว่า เป็นปัญหาที่ส่งผลถึงสมองของเด็กด้วย เพราะเมื่อไม่ได้ยินเสียง เสียงส่งไม่ถึงสมอง สมองของเด็กก็จะไม่ได้รับการ กระตุ้น ซึ่งในช่วงเวลา 5 ขวบปีแรกของเด็กนั้น ยิ่งเด็กมีการได้ยินที่ดีเท่าไร ก็จะยิ่งส่งผลต่อการฝึกทักษะในด้านต่าง ๆ ของเขามากเท่านั้น
นอกจากนี้ ผลกระทบของการไม่ได้ยินในระยะยาว ก็ไม่ได้ส่งผลแค่กับตัวเด็กเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสังคมรอบข้างของเขาอีกด้วย เนื่องจากเด็กที่สูญเสียการได้ยิน ต้องอาศัยการพึ่งพาคนอื่นในการดำเนินชีวิต อีกทั้งยังอาจพลาดโอกาสในการประกอบอาชีพต่าง ๆ เมื่อเขาเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้น ภาวะการสูญเสียการได้ยินในเด็ก จึงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรใส่ใจ และเป็นสาเหตุว่า ทำไมเด็กแรกเกิดทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยิน”
ในการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิด ผู้เชี่ยวชาญจะใช้เครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า OAE หรือ Otoacoustic Emission ใส่เข้าไปที่หูของเด็ก และใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการตรวจ ก็สามารถทราบผลลัพธ์ได้ จากนั้น แพทย์จะทำการประเมินอาการ แนะนำแนวทางในการรักษา และฟื้นฟูการได้ยิน ตามแต่ลักษณะ และความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งปัญหาบางส่วนสามารถทำการแก้ไขให้หาย หรือดีขึ้นได้ จากการใช้ยา หรือในบางรายที่จำเป็น ก็สามารถใช้เครื่องช่วยฟัง หรือผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้ดียิ่งขึ้น
คุณหมอดาวิน กล่าวย้ำถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิดว่า
“ภาวะการสูญเสียการได้ยิน เป็นความพิการที่มองไม่เห็นจากภายนอก จึงมักจะถูกมองข้ามไปทั้งที่เราสามารถตรวจ ทำการคัดกรองได้ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์”
หากคุณพ่อคุณแม่รู้สึกสงสัย ว่าบุตรหลานของตนมีความผิดปกติทางการได้ยิน สามารถเริ่มจากการสังเกตอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง เช่น พบว่า เรียกแล้วไม่หัน ได้ยินเสียงดังแล้วไม่สะดุ้ง หรือไม่สามารถส่งเสียงที่เป็นภาษาที่สามารถเข้าใจได้ เมื่อมีอายุ 1 ขวบขึ้นไป คุณหมอดาวินแนะนำว่า ควรพาลูกไปตรวจคัดกรองการได้ยินโดยทันที เพราะเด็กที่ตรวจพบอาการได้เร็ว และได้รับการแก้ไขภาวะการสูญเสียการได้ยินอย่างเหมาะสม และทันท่วงที ก็สามารถที่จะเติบโต และใช้ชีวิตได้อย่างปกติ สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนปกติได้ไม่ต่างจากเด็กทั่วไป
ยิ่งตรวจพบเร็ว ก็สามารถรักษาได้เร็ว รู้จักกับ ประสาทหูเทียม อุปกรณ์ที่ช่วยในการฟื้นฟูภาวะสูญเสียการได้ยินในเด็ก
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน มีอุปกรณ์มากมายที่ใช้สำหรับช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะสูญเสียการได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องช่วยฟัง ซึ่งจะทำหน้าที่ในการขยายเสียง เพื่อให้เสียงมีความดัง และชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับเด็กที่สูญเสียการได้ยินในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องช่วยฟังอาจไม่ได้ผลในเด็กที่มีการสูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงถึงหูหนวก เนื่องจากเด็กจะไม่เข้าใจเสียงที่ได้ยิน จึงไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้ที่จะพูด
ซึ่งประสาทหูเทียมนี้เองที่จะช่วยให้เด็กในกลุ่มนี้สามารถได้ยิน และเข้าใจเสียงได้ ประสาทหูเทียมจะทำการกระตุ้นไปยังเส้นประสาทการได้ยินโดยตรง โดยไม่ผ่านหูชั้นในที่มีความบกพร่องอยู่ เพื่อให้เสียงและคำพูดที่ลูกได้ยินมีความชัดเจน จนสามารถเข้าใจความหมายของเสียงนั้นได้
เพื่อให้เด็กสามารถมีพัฒนาการที่ดีที่สุด แพทย์แนะนำว่า คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกเข้ารับการตรวจคัดกรองการได้ยิน ตั้งแต่ลูกยังอายุไม่เกิน 3 เดือน และหากพบความผิดปกติ ก็ควรได้รับการรักษาภายในอายุไม่เกิน 6 เดือน เพื่อให้สมอง และพัฒนาการของลูกได้รับการกระตุ้นได้ดีที่สุด
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประสาทหูเทียม และภาวะสูญเสียการได้ยิน เพิ่มเติมได้ที่นี่
เกี่ยวกับ Cochlear Limited
คอคเคลียร์คือผู้นำด้านเทคโนโลยีประสาทหูเทียมของโลก ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ประกอบด้วยประสาทหูเทียม ประสาทหูเทียมแบบนำเสียงผ่านกระดูก และประสาทหูเทียมแบบอะคูสติก เริ่มดำเนินกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนิวเคลียส ซึ่งได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย (ASX)
คอคเคลียร์มุ่งมั่นในการส่งเสริมให้ประสาทหูเทียมเป็นมาตรฐานในการดูแลรักษาผู้ที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินในระดับปานกลางไปจนถึงระดับรุนแรง ช่วยให้ผู้ใช้ประสาทหูเทียมทุกเพศทุกวัยมากกว่า 600,000 รายทั่วโลก ได้รับโอกาสในการใช้ชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพ นอกจากนี้ ยังมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ สำหรับผู้ใช้ ไม่ว่าจะเพิ่งได้รับการฝังประสาทหูเทียม หรือได้รับการฝังแล้วมาแล้วหลายปี
คอคเคลียร์มุ่งมั่นในการช่วยเหลือผู้คนตามเป้าหมายของเราคือ “Hear now. And always (ได้ยินตอนนี้ และตลอดไป)” เพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถได้ยินเสียงตลอดชีวิตด้วยการสนับสนุนที่ดีที่สุด
ทำความรู้จักกับคอคเคลียร์เพิ่มเติมได้ ที่นี่
หรือทาง Line Official Account @CochlearThai
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!