แม่ไม่อยู่ พ่อลูกร่าเริง (ฉบับน่ารักและฮาสุด ๆ)
มาดูเพลงนี้ให้อีกเวอร์ชั่นนึงกันค่ะ
แต่ในอีกมุมหนึ่ง เมื่อพูดถึงบทบาทของ ‘พ่อ’ ในสังคมปัจจุบันในบางครอบครัวยังคงเป็นบทบาทของผู้นำในเชิงการหาเลี้ยงครอบครัว จนลืมให้ความสำคัญกับการเชื่อมความสัมพันธ์ในครอบครัว ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูก และครอบครัวมีช่องว่าง
วันนี้เรามี 20 เทคนิค เสริมสร้างสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น จากมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มาฝากค่ะ
แม่ไม่อยู่
1. ยิ่งคุย ยิ่งใกล้ ยิ่งเข้าใจ ยิ่งรัก
พ่อควรชวนลูกคุยเพื่อจะได้รู้จักสิ่งรอบตัว พ่อคือคนสำคัญที่ช่วยสอนลูกให้เป็นนักวางแผน และแก้ปัญหา เมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น ลูกจะเริ่มเรียนรู้ชีวิต และสังคม พ่อควรสอนชีวิตทางอ้อมผ่านการเล่าประสบการณ์ต่างๆ เป็นการคุย และแลกเปลี่ยนกับลูก ไม่ว่าจะเรื่องเรียน คบเพื่อน และการใช้ชีวิต
2. รักนะ (ต้อง) แสดงออกด้วย
ลูกวัยเล็กอยากให้พ่อแม่โอบกอด หรือสัมผัสช่วยให้เกิดความใกล้ชิดผูกผันพอเข้าสู่วัยเด็กเล็ก พ่อควรเป็นคนช่วยเปิดโลกกว้างให้ลูก เช่น พาออกไปเดินเล่นนอกบ้าน และชี้ชวนให้ลูกรู้จักสิ่งต่างๆ เมื่อลูกเข้าสู่วัยเรียน ควรพาไปล่องเรือ เพราะลูกจะชอบมาก ถือเป็นประสบการณ์ และความทรงจำที่ดีไปจนโต และถ้าลูกเข้าสู่วัยรุ่น เป็นวัยที่ลูกเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น พ่อควรฝึกถามความเห็น แต่ไม่ควรทิ้งการโอบกอด สัมผัส ลูบศีรษะ เพราะจะช่วยให้ลูกรู้สึกผูกพันไม่เสื่อมคลาย
3. โรงเรียนลูก = โรงเรียนเรา
เมื่อลูกโตเข้าสู่วัยเรียน เวลาส่วนใหญ่จะอยู่ที่โรงเรียน พ่อควรถือโอกาสไปประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน ทำความรู้จักกับครูของลูก หรือดีที่สุด คือการไปพร้อมหน้าพ่อแม่ลูก เหตุการณ์แบบนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย อย่างมาก 2 ครั้งต่อปี ซึ่งไม่ควรมองเป็นเรื่องเสียเวลา แต่เป็นโอกาสที่จะได้รู้จักโรงเรียนของลูก รู้จักครู ผู้ปกครองคนอื่นๆ รวมทั้งรู้จักเพื่อนของลูก
4. บันได 3 ขั้น จัดการให้ลูก เมื่อถูกรังแก
บันไดขั้นที่ 1 ตั้งสติ และรับฟังเรื่องราวให้ดีก่อน อย่าเพิ่งเร่งร้อนจัดการด้วยอารมณ์ ขั้นที่ 2 ให้ลูกคิดว่า เขาควรจะแก้ปัญหาอย่างไร โดยไม่ใช้ความรุนแรงตอบโต้ พ่อควรให้ลูกได้คิด และรู้จักวิธีการก่อนลงมือแก้ปัญหา และขั้นที่ 3 เมื่อลูกต้องการความช่วยเหลือ เช่น ทะเลาะกันแล้ว ลูกรู้สึกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม ครูไม่เข้าใจ พ่อต้องไม่ลังเลที่จะเข้าไปเป็นผู้ช่วยทันที (โดยไม่เข้าข้างลูก) และทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจจนลงเอยได้ด้วยดี
5. คุณพ่อแสนสนุก
เล่นกับลูกทุกวัน บางคนสงสัยว่า แล้วจะเล่นอะไรกับลูกดี ดูได้จากช่วงวัย 0-3 ขวบ เด็กจะชอบเลียนแบบ ชอบสำรวจสิ่งแวดล้อม และร่างกายตัวเอง 3-5 ขวบ ชอบเล่นสร้างสรรค์ ชอบเรื่องการทดสอบ อยากรู้อยากเห็นสิ่งต่างๆ 5-8 ขวบ เป็นวัยกำลังโต จะชอบเที่ยวสำรวจโลกกว้าง
6. “3 ต้อง 2 ไม่” ดูทีวีกับลูกให้สนุก-สร้างสรรค์
ต้องที่ 1 ต้องกำหนดเวลาให้ลูก โดยตกลงกันว่า จะดูวันละเท่าไร
ต้องที่ 2 ต้องช่วยลูกเลือก และตกลงกันว่า จะดูรายการอะไร ไม่ใช่ให้ดูอะไรก็ได้
ต้องที่ 3 ต้องดูกับลูกบ้าง เพราะระหว่างที่ดูก็สนุกด้วยกัน ดูจบแล้วก็ยังคุยกันได้รู้เรื่อง ที่สำคัญ ถ้าบังเอิญมีเนื้อเรื่อง หรือภาพไม่เหมาะสม พ่อยังมีโอกาสบอก หรือพูดคุยกับลูกได้
ส่วน “2 ไม่” ไม่ที่ 1 ไม่มีโทรทัศน์ในห้องลูก เพราะจะทำให้ควบคุมเวลา และคุณภาพในการดูทีวีไม่ได้ ไม่ที่ 2 ไม่มีสื่อร้ายในบ้าน
7. สอนการบ้านลูก
การตรวจการบ้านลูกทุกวัน เป็นการฝึกวินัย และความรับผิดชอบ ตลอดจนฝึกเวลาทำการบ้านที่ชัดเจน และทำตามเวลานั้นสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม วิธีทำการบ้านให้เป็นเรื่องสนุก พ่อควรใช้ของจริงที่มีอยู่รอบตัว มาประกอบการอธิบาย จากนั้นชมเชยให้กำลังใจลูก และที่สำคัญ เมื่อรู้สึกตัวว่า วันนี้อารมณ์ไม่ดี หรือเหนื่อยจัง ควรเปลี่ยนให้คุณแม่มาสอนแทน จะได้ไม่เผลออารมณ์เสียใส่ลูกขณะสอน
8. ชวนลูกช่วยงานบ้าน
เริ่มที่ตัวพ่อ คือ ต้องทำงานบ้านให้ลูกเห็นก่อน จากนั้นชวนลูกมาทำงานบ้านด้วยกัน ตั้งแต่ลูกยังตัวน้อย เริ่มจากทำงานง่ายๆ และพยายามทำให้เป็นเรื่องที่น่าสนุก เช่น ร้องเพลง หรือเปิดเพลงสนุกๆ ไปด้วย หรือถ้าบ้านไหนมีสมาชิกเยอะหน่อย ก็จัดเป็นทีม หรือให้ทำงานเป็นคู่ เพิ่มความสนุกได้ไม่น้อย ซึ่งงานที่ลูกทำ ควรเลือกให้ทำ 1-2 อย่างเท่านั้น และอย่าเปลี่ยนไปมา ลูกจะได้ตั้งใจทำให้สำเร็จ ทั้งนี้ อย่าให้เงินลูกเพื่อตอบแทนการช่วยงานบ้าน ควรให้เป็นคำชม คำแนะนำ และกำลังใจจะดีกว่า
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
สุดซึ้ง…เมื่อเด็กน้อยได้พบพ่อครั้งแรกหลังพ่อกลับจากสงคราม
คลิปทารกฝาแฝดเต้นตามเสียงกีตาร์ของพ่อ
คนท้องแพ้อาหารทะเล ส่งผลต่อลูกในท้องอย่างไร วันนี้เรามาหาคำตอบ
https://happymom.in.th/th/tips/maternity-general/แอปพลิเคชัน-แต่งรูป-คุณแม่ตั้งครรภ์/998
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!