โรคมือ เท้า ปาก ระบาดหนักในเด็กช่วงฤดูฝน พบมากในทารกและเด็กเล็ก

โรคมือ เท้า ปาก ระบาดหนักในเด็กช่วงฤดูฝน พบมากในทารกและเด็กเล็ก เวียนกลับมาอีกครั้งกับโรคระบาดในฤดูที่ฝนพรำ การดูแลรักษาลูกน้อยในช่วงนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เรามารู้สาเหตุ และวิธีป้องกันโรคมือเท้าปากกันดีกว่า

 

บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย นพ. วรณัฐ ปกรณ์รัตน์ (แพทย์จาก Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน) | ตุลาคม 2565

 

โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากอะไร?

โรคมือเท้าปาก  หรือ Hand foot and mouth disease ที่เด็ก ๆ มักเป็นกันในช่วงฤดูฝนสาเหตุหลักของการที่ลูกน้อยของคุณเป็นโรคมือ เท้า ปาก นั้นมาจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า coxsackievirus A16 ในเด็กทั่วโลก แต่ในประเทศไทยของเรานั้นมีอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ชื่อว่า Enterovirus 71 แต่พบไม่บ่อยมากนัก และมีอาการที่รุนแรงมากกว่า

 

ทำไมโรคมือปากเท้า ถึงระบาดหนักในฤดูฝน

การแพร่กระจายของ โรคมือ ปาก เท้า ในเด็กนั้นมักนิยมระบาดหนักในช่วงของฤดูฝน หรือบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยที่มักมีฝนตกหนัก เป็นเวลาหลายเดือน ถึงแม้ว่ายังไม่ปรากฏข้อมูลอย่างแน่ชัดว่ามาจากสาเหตุใด แต่มีการตั้งสมมติฐานว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในระยะสั้น ๆ หรือเปลี่ยนอย่างเฉียบพลัน อาจส่งผลต่อไดนามิกของการแพร่กระจายของโรคมือปากเท้า ความเร็วลม และละอองฝนอาจเป็นปัจจัยหลักในการนำพา และแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปในอากาศได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นเหตุทำให้การแพร่ระบาดกระจายตัวเร็วขึ้น และป้องกันได้ยาก

บทความที่น่าสนใจ : 5 โรคที่มากับฝน สังเกตลูกมีอาการแบบนี้ไหม พร้อมวิธีป้องกันโรคติดต่อฤดูฝน

 

อาการของโรคมือ เท้า ปาก

โดยส่วนใหญ่ของผู้ที่เป็นโรคมือเท้าปากนั้นมักมีอายุต่ำกว่า 5 ปี หรืออายุไม่เกิน 10 ปี และเด็ก ๆ มักได้รับเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมาจากศูนย์ดูแลเด็กเล็ก หรือสถาบันพัฒนาการเด็กเล็กนั่นเอง เนื่องจากการติดเชื้อนั้นแพร่กระจายจากการสัมผัสจากคนสู่คน และเด็ก ๆ ถือเป็นกลุ่มที่อ่อนแอที่สุด จึงทำให้สามารถติดโรคได้ง่าย ผ่านสารคัดหลั่งจากจมูก (น้ำมูก) ของเหลวจากแผลพุพอง และละอองในระบบทางเดินหายใจ (ไอ หรือจาม) โดยจะแสดงอาการดังต่อไปนี้

  • มีไข้
  • เจ็บคอ
  • อ่อนเพลีย
  • รู้สึกไม่สบายตัว
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • พบตุ้มแดงที่ลิ้น เหงือก และด้านในของแก้ม
  • มีผื่นแดงขึ้น แต่ไม่แสดงอาการคัน ในบางกรณีอาจมีอาการพุพองที่ฝ่ามือ เท้า หรือก้น
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • เบื่ออาหาร

 

 

ระยะเวลาในการเป็นโรคมือ เท้า ปาก

  • ระยะเริ่ม

ตามปกติแล้วในการติดเชื้อไวรัสตั้งแต่วันแรกที่ได้รับเชื้อจนถึงวันที่มีการแสดงอาการ (ระยะฟักตัว) จะอยู่ที่ประมาณ 3-6 วัน โดยจะมีอาการมีไข้ ตัวร้อนส่งมาเป็นสัญญาณอันดับแรก และตามด้วยอาการเจ็บคอ และอาการเบื่อ หรือไม่อยากอาหาร เนื่องจากเจ้าตัวน้อยนั้นระบบ หรือเจ็บบริเวณปากและลำคอ จึงทำให้ไม่อยากทานอาหารนั่นเอง

 

  • ระยะสิ้นสุด

หลังจากการแสดงอาการในระยะแรก 1-2 วัน บริเวณปากจะพบตุ้มแดงที่ลิ้น เหงือก และด้านในของแก้ม และจะมีผื่นขึ้นตามมือ เท้า และบริเวณก้นของเด็ก ๆ บางครั้งผู้ปกครองอาจสงสัยว่าลูกของคุณเป็นอิสุกอิใส หัด หรือโรคอื่น ๆ โดยเบื้องต้นหาพบอาการควรพาไปพบแพทย์ทันที เพื่อวินิจฉัยให้แน่ชัดว่าเป็นโรคติดต่อไวรัสชนิดใด ซึ่งโรคมือเท้าปากนั้นยังไม่มีวิธีรักษา หรือวัคซีนป้องกันโดยเฉพาะ แพทย์จะรักษาไปตามอาการของเด็ก และผู้ปกครองต้องดูแลเด็ก ๆ อย่างใกล้ชิด

 

 

ภาวะแทรกซ้อน

โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่ไม่รุนแรงมากนัก สามารถรักษาหายได้เพียงในเวลามีกี่วัน แต่หากมีโรคอื่นเข้ามาแทรกซ้อน ซึ่งพบได้ยาก อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยอาจเกิดภาวะ ดังต่อไปนี้

  • ภาวะขาดน้ำ ส่งผลทำให้ความดันโลหิตต่ำ บางรายอาการรุนแรง จนเกิดอาการชักได้เนื่องจากการเป็นโรคมือเท้าปากนั้นทำให้เกิดตุ่มแดงบริเวณปาก ลิ้น และด้านในของแก้ม ซึ่งทำให้เด็ก ๆ ไม่ยอมทานอาหาร หรือดื่มน้ำ
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส โดยมีการติดเชื้อ และการอักเสบเกิดขึ้นที่บริเวณของเยื่อหุ้มสมอง (meninges) และบริเวณไขสันหลัง
  • ไข้สมองอักเสบ ถือว่าเป็นอีกภาวะหนึ่งที่รุนแรงมาก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่สามารถพบได้น้อยในกรณีนี้

บทความที่น่าสนใจ : มาตราการที่ไม่ยืดหยุ่นเรื่องนมแม่ อาจทำให้เด็กๆ มีภาวะขาดน้ำได้

 

การดูแลลูกน้อยขณะเป็นโรคมือเท้าปาก

เนื่องจากไม่มีการรักษา หรือวัคซีนที่สามารถช่วยป้องกันโรคมือเท้าปากได้ การรักษาของแพทย์จึงเป็นการรักษา และจ่ายยาแบบตามอาการที่ปรากฏ โดยผู้ปกครองก็ต้องมีส่วนร่วมในการช่วยดูแลเด็ก ๆ ด้วยดังนี้

  1. ให้เด็กหยุดเรียนในทันที เนื่องจากการติดเชื้อของโรคมือเท้าปาก เป็นการติดเชื้อจากการสัมผัส หรือทางระบบทางเดินหายใจ ลูกของคุณอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็ก ๆ คนอื่นติดเชื้อโลกจากลูกคุณได้
  2. หากมีไข้ให้เช็ดตัว และทานยาลดไข้จนกว่าอุณหภูมิจะกลับมาเป็นปกติ
  3. ให้เด็ก ๆ ทานอาหารเหลว และรสอ่อน เนื่องจากด้านในปาก ลิ้น และแก้มของเขามีตุ่มขึ้นจำนวนมาก การทำอาหารที่ต้องเคี้ยวอาจส่งผลให้เขาไม่อยากทานอาหารเพราะว่าเจ็บระบบที่ปาก และอย่าลืมให้พวกเขาจิบน้ำบ่อย ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำด้วย

การป้องกันให้ลูกน้อยห่างไกลจากโรคมือเท้าปาก

  • ล้างมืออย่างระมัดระวัง

การล้างมือในยุคนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว เพราะไม่เพียงแค่โรคมือปากเท้าเท่านั้น ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นด้วย แต่ต้องระวังเป็นพิเศษสำหรับคุณเด็ก ๆ ที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ที่ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจได้รับเชื้อจากการใช้ห้องน้ำสาธารณะในการเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือแม้แต่ก่อนเตรียม และระหว่างรับประทานอาหาร

 

  • ฆ่าเชื้อ หรือทำความสะอาดสิ่งของ

การติดเชื้อไวรัส หรือสาเหตุของการเป็นโรคมือเท้าปาก ส่วนน้อยที่จะมีสาเหตุหลักมาจากในบ้านของเอง โดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุหลักมาจากการออกไปนอกบ้าน โดยผู้ปกครองควรระวังเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเด็กระหว่างและหลังออกไปด้านนอกให้สะอาด เนื่องจากไวรัสนั้นสามารถอยู่บนวัตถุได้เป็นเวลาหลายวัน ซึ่งอาจเป็นเหตุทำให้เชื้อโรคสามารถกระจายสู่เด็ก ๆ คนอื่นในบ้านได้

 

  • สอนให้เด็ก ๆ รู้จักสุขอนามัยที่ดี

ความสะอาดถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่สามารถป้องกันโรคได้ ผู้ปกครองควรสอนเด็ก ๆ ให้รู้จักสุขอนามัยที่ดี สำหรับการอยู่ร่วมกับผู้อื่น หรือการดูแลสุขอนามัยของจนเองขณะที่อยู่ร่วมกับคนอื่น (ที่ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก หรือสนามเด็กเล่น)

 

แม่ ๆ คนไหนยังมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพบ #ทีมหมอGDTT ได้ฟรี ที่ Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน เพียงกดรับสิทธิ์ผ่าน Reward ในแอปพลิเคชัน theAsianparent หรือสามารถกดลิงค์นี้ได้เลยครับ https://bit.ly/3SjhvJW

 

อ่านประสบการณ์จริงของคุณแม่และลูกเมื่อต้องเผชิญกับโรคมือ เท้า ปาก

โรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปากในเด็ก โรคหน้าฝน ที่พ่อแม่ต้องระวัง

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ไข้เลือดออก คืออะไร มีอาการอะไรบ้าง เป็นภัยร้านหน้าฝนที่ควรระวัง!!

10 โรคหน้าฝนในเด็ก 2022 โรคหน้าฝนสุดฮิตที่เด็กมักเป็น คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง

แมลงก้นกระดก มาทุกหน้าฝน ป้องกันอย่างไร วิธีรักษาแผลเบื้องต้น

ที่มา : 1, 2, 3, 4, 5

บทความโดย

Siriluck Chanakit