สำหรับการเปิดเทอมในช่วงกลางเดือน พ.ค.2566 มีคำแนะนำจากกรมควบคุมโรคในการป้องกันโรคโควิด และโรคทางเดินหายใจ แนะนำเรื่องการสวมใส่หน้ากากอนามัยของเด็กซึ่งจะมีความแตกต่างจากปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งยังจับตา โควิด-ไข้หวัดใหญ่ ในช่วงหน้าฝนของการเปิดเทอมอีกด้วย โดย นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า ในปี 2566 เด็กมีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จะพบการระบาดของไข้หวัดใหญ่คู่กับโควิด-19 และคาดว่าการระบาดจะทำให้พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มากกว่าในปีก่อนที่จะมีโควิด-19 เข้ามา
ดังนั้น สำคัญมากกลุ่มที่มีความเสี่ยง ควรฉีดวัคซีนป้องกันทั้ง 2 โรคเพื่อป้องกันเอาไว้ ซึ่งเดือน พ.ค.นี้ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ก็จะมีการรณรงค์ในเรื่องนี้ด้วยเช่นเดียวกัน และได้คาดการณ์เอาไว้ว่าอีก 2-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยโควิดที่เป็นเด็กอาจจะเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้องเปิดเทอมพอดี
ด้านข้อมูลกรมควบคุมโรค รายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ นับตั้งแต่ 1 ม.ค. – 1 เม.ย. 2566 มีผู้ป่วยตัวเลขอยู่ที่ 38,291 ราย อัตราป่วย 57.87 ต่อประชากรแสนคน และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย ในจังหวัดสงขลา อัตราป่วยตาย 0.003 สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิด A/H1N1 ขณะที่จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาใน รพ. ซึ่งตัวเลขสะสมมีมาตั้งแต่ 1 ม.ค. – 15 เม.ย. 2566 มีรายงานการติดเชื้อ 5,4823 ราย และเสียชีวิตสะสม 273 คน ซึ่งกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่พบในกลุ่มอายุ 0–4 ปี เท่ากับ 282.04 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 5–14 ปี 219.73 ต่อประชากรแสนคน และกลุ่มอายุ 15–24 ปี 40.18 ต่อประชากรแสนคน
ใครบ้าง ควร-ไม่ควร ใส่หน้ากากอนามัย
ในการเตรียมการก่อนเปิดเทอม 2566 กรมควบคุมโรค ได้ออกคำแนะนำในการป้องกันโรค โควิด-19 และโรคทางเดินหายใจในสถานศึกษา เฉพาะศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมศึกษา ระบุว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มโรคโควิด-19 ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีการผ่อนคลายมาตรการบางอย่าง เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติให้ใกล้เคียงที่สุดเมื่อเทียบกับก่อการระบาด ส่วนเด็ก ๆ ที่ยังคงสวมหน้ากากอนามัยอยู่จะเป็นกลุ่มเด็ก ๆ ที่มีโรคประจำตัวอย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง โรคไตวายเรื้อรัง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ภาวะอ้วน HIV โรคมะเร็ง เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็ก 3 เดือนก็ติดโควิดได้ ! อาการโควิดในเด็ก สังเกตยังไงดี มีสิ่งไหนที่คุณแม่ควรรู้
โควิด-ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัด แยกอาการอย่างไร ?
เนื่องจากช่วงนี้เด็ก ๆ ใกล้จะเปิดเทอมกันแล้ว การไปโรงเรียนจึงถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่ากังวลอยู่เหมือนกัน เพราะช่วงนี้ก็ยังมีโควิดหลงเหลืออยู่ บวกกับช่วงฝนตกที่ทำให้เด็ก ๆ อาจจะติดหวัดได้ง่าย จึงจำเป็นต้องแยก 2 อาการนี้ให้ออก
1. อาการไข้หวัดใหญ่
เริ่มต้นจากไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) โดยจะแบ่งออกเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบกันมานานแล้ว โดยคนที่เป็นไข้หวัดใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการรุนแรงเท่าไร และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่มีอยู่ปัจจุบัน ก็ได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วไป อาการหลัก ๆ ก็จะมี ปวดหัว ไอแห้ง ปวดเมื่อยตามตัว จาม เจ็บคอ มีน้ำมูก
2. อาการโรคโควิด-19
สำหรับคนที่ติดเชื้อโควิด -19 บางรายอาจจะมีอาการรุนแรงไม่มาก โดยลักษณะเหมือนไข้หวัดทั่วไป ขณะที่บางคนมีอาการรุนแรงมาก ทำให้เกิดปอดอักเสบได้ อาการคร่าว ๆ ของโควิดจะมีดังนี้ มีไข้ หายใจลำบาก ไอแห้ง บางครั้งก็จะมีอาการเจ็บคอร่วมด้วย ทั้งนี้ สามารถหายได้เอง แค่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้ และช่วยดูแลสุขภาพ สุขอนามัย เพื่อป้องกันตัวเองด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 เด็กเล็กมีอาการเด่น คือคันตา ไทยพบแล้ว 8 ราย
3. ไข้หวัด
ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยมาก เพราะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ และมักพบในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง เนื่องจากภูมิต้านทานภายในร่างกายปรับตัวไม่ทัน และความรุนแรงของโรคก็ไม่ได้มาก โดยไข้หวัดสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่วัน ทั้งยังติดต่อได้ง่ายผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ
การป้องกันโรคที่ดีที่สุดไม่ว่าจะเป็นภูมิแพ้ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือโควิด-19 สิ่งแรกที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การล้างมือบ่อย ๆ และไม่เอามือไปสัมผัสบริเวณหน้าตา และพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือพื้นที่ที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด สวมใส่หน้ากากอนามัยให้เรียบร้อย และควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้งด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
แม่ติดโควิด แทบใจสลาย เมื่อกักตัวเสร็จลูกกลับเมินเฉย
ไวรัสโคโรน่าในเด็ก อันตรายหรือไม่ ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกติดเชื้อโควิด-19
เดี๋ยวฝน เดี๋ยวหนาว ทำไงให้ลูกไกลจากไข้หวัดยามฝนตก
ที่มา :
bangkokbiznews.com
bangkokhospital.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!