ทำไม ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อย สัญญาณเตือนอะไร? วิธีดูแลและป้องกัน

lead image

เด็กหลายคนมีอาการเลือดกำเดาไหลบ่อยมาก จนพ่อแม่กังวลใจ เราเลยรวบรวมสาเหตุพร้อมวิธีดูแลป้องกันมาฝากค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การที่ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อยๆ เป็นปัญหาที่พ่อแม่หลายคนมักพบเจอ โดยเฉพาะในช่วงวัยอนุบาลและประถมศึกษา ซึ่งอาจทำให้รู้สึกกังวลและไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร และควรจะดูแลอย่างไร เพื่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพดี บทความนี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่า ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อย เป็นสัญญาณเตือนอะไรหรือเปล่า มีสาเหตุ วิธีป้องกัน และการดูแลอย่างไร

ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อย

เลือดกำเดา คืออะไร? ทำไม ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อย

เลือดกำเดา คือ เลือดที่ออกทางจมูก ซึ่งอาการ เลือดกำเดาไหล (Epistaxis/Nosebleeds) คือ ภาวะที่มีเลือดไหลออกทางโพรงจมูกข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง เนื่องจากเส้นเลือดฝอยซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากภายในบริเวณโพรงจมูกแตก ฉีกขาด จนทำให้มีเลือดไหลออกมา และเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่มักพบได้ในเด็กเล็กวัยอนุบาลไปจนถึงวัยประถมได้บ่อยกว่ากลุ่มอื่นๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เลือดกำเดาไหลในเด็กส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตราย ยกเว้นบางกรณีที่เลือดกำเดาไหลอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติบางอย่าง หรือโรคซับซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น เนื้องอกในจมูกหรือโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก ความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวณโพรงจมูก หรือเลือดแข็งตัวช้าผิดปกติ โดยสาเหตุที่ทำให้ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อยมีหลายปัจจัย เช่น

  • อากาศแห้ง

อากาศที่แห้งเกินไป ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกแห้งและเกิดการแตกของหลอดเลือดภายในจมูกได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวหรือในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศที่มีความชื้นต่ำ อาจทำให้รู้สึกคันซึ่งหากลูกแคะ แกะ หรือเกาจมูก จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเลือดกำเดาไหลมากขึ้น

  • แคะจมูก

การแคะ แกะ เกาจมูก เป็นพฤติกรรมที่เด็กๆ มักทำ ทำให้เส้นเลือดฝอยในจมูกแตกและมีเลือดออก

  • ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

หากลูกน้อยมีอาการหวัด หรือโรคภูมิแพ้ ซึ่งทำให้มีน้ำมูกมาก ลูกต้องใช้มือเช็ดหรือขยี้จมูกบ่อยๆ เสี่ยงทำให้เยื่อบุโพรงจมูกบวมและอักเสบ และเลือดออกง่ายขึ้น

  • ได้รับบาดเจ็บบริเวณจมูก

การเกิดอุบัติเหตุหรือถูกกระแทกบริเวณจมูก หรือใบหน้า ทำให้เส้นเลือดฝอยในจมูกแตกและมีเลือดออก หรือเด็กเล็กบางคนอาจใช้ของเล่นแยงจมูก ส่งผลให้หลอดเลือดภายในจมูกเกิดความเสียหายและมีเลือดกำเดาไหลได้

  • ภาวะเลือดออกผิดปกติ

ในบางกรณีการที่ ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อย อาจเป็นสัญญาณของภาวะเลือดออกผิดปกติ เช่น โรคฮีโมฟีเลีย หรือเกล็ดเลือดต่ำ

  • การใช้ยาบางชนิด

ยาบางชนิดที่ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ คัน หรือคัดจมูก อาจส่งผลให้เนื้อเยื่อภายในโพรงจมูกแห้งและเสี่ยงต่อการเกิดอาการเลือดกำเดาไหลได้ง่ายขึ้น บางกรณีอาจเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดหรือความดันในจมูกที่สูงขึ้นได้ด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ การที่ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อยยังอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นได้ เช่น การสูดดมสารพิษ การติดเชื้อแบคทีเรีย ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ มีโครงสร้างจมูกผิดปกติ หรือมีเนื้องอกภายในจมูก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเหล่านี้ยังถือว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยค่ะ

ตำแหน่งที่มีเลือดกำเดาออกในจมูก

โพรงจมูกส่วนหน้า พบการเกิดเลือดออกได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็ก เนื่องจากหลอดเลือดฝอยบริเวณนี้มักแตกได้ง่าย
โพรงจมูกส่วนหลัง มักเกี่ยวข้องกับหลอดเลือดที่ใหญ่กว่าบริเวณด้านหลังโพรงจมูก ซึ่งพบได้น้อยกว่าประเภทแรก

วิธีดูแลเมื่อลูกเลือดกำเดาไหล

หากลูกน้อยมีอาการเลือดกำเดาไหล คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลและปฐมพยาบาลตามขั้นตอนต่อไปนี้ค่ะ

  1. ให้ลูกนั่งตัวตรงและโน้มตัวไปข้างหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนลงไปในคอ ซึ่งอาจทำให้ลูกสำลักหรืออาเจียน
  2. บีบจมูกส่วนที่อ่อนนุ่มเบาๆ ค้างไว้ประมาณ 10-15 นาที โดยให้ลูกหายใจทางปาก จะช่วยหยุดเลือดได้เร็วขึ้น
  3. ประคบเย็นบริเวณสันจมูก เพื่อลดการบวม ช่วยให้เส้นเลือดหดตัวและหยุดเลือด
  4. ให้ลูกพักผ่อนก่อน อย่าเพิ่งนอนทันที และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อย แบบไหน? ควรไปพบแพทย์

แม้เลือดกำเดาไหลจะเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่การที่ ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อย อาจเป็นอาการของโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยคุณพ่อคุณแม่ควรรู้และสังเกตได้ว่าเมื่อไร แบบไหน ที่ลูกน้อยมีเลือดกำเดาไหลมากจนอาจเกิดอันตรายและควรพาไปพบแพทย์ ซึ่งอาการที่ควรปรึกษาแพทยืคือ

  • เลือดกำเดาไหลไม่หยุดภายใน 20 นาที
  • เลือดกำเดาไหลปริมาณมาก
  • ลูกมีอาการวิงเวียนศีรษะ หรือหน้ามืดรุนแรง
  • เลือดกำเดาไหลร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น มีไข้สูง หรือปวดศีรษะ หรือมีเลือดออกตามไรฟัน ลิ้น ร่วมด้วย
  • เลือดกำเดาไหลนาน ร่วมกับที่ผิวหนังมีรอยเลือดออก เช่น มีพรายย้ำ จ้ำเขียว หรือ มีจุดแดงหรือจุดเลือดออกตามตัวร่วมด้วย
  • มีปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ หรืออุจจาระสีดำคล้ายยางมะตอย หรือปนเลือดร่วมด้วย
  • ลูกมีอาการอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง หรือซีดลง เพราะเลือดกำเดาไหลบ่อยและเป็นเวลานานจนขาดธาตุเหล็ก

ป้องกันยังไง? ไม่ให้ ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อย

การป้องกันไม่ให้ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อยๆ สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ค่ะ

  • รักษาความชื้นในอากาศ โดยใช้เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ หรือวางถ้วยน้ำไว้ใกล้เตียงนอน ช่วยลดความแห้งของเยื่อบุจมูก
  • สอนลูกไม่ให้แคะจมูก คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกหลีกเลี่ยงการขยี้จมูกหรือแคะจมูก เพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บและเลือดกำเดาไหล รวมถึงตัดเล็บลูกให้สั้น และสอนลูกให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าสะอาดเช็ดจมูกเบาๆ
  • รักษาโรคประจำตัว หากลูกมีโรคประจำตัว เช่น ภูมิแพ้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อควบคุมอาการ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้หวัด หรือยาแก้แพ้ เนื่องจากอาจทำให้เยื่อบุโพรงจมูกแห้ง
  • บำรุงจมูกด้วยน้ำเกลือ การใช้สเปรย์น้ำเกลือทำความสะอาดจมูก ช่วยให้จมูกลูกน้อยไม่แห้ง และลดโอกาสที่เลือดกำเดาจะไหลได้ค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อย สัญญาณบอกโรค?

โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • ทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ เช่น โรควอนวิลล์แบรนด์ (von Willebrand disease – VWD) ซึ่งอาจมีประวัติเลือดออกง่ายหยุดยากในครอบครัวร่วมด้วย
โรคที่เกิดขึ้นภายหลัง

(ทำให้เกล็ดเลือดมีปริมาณต่ำลง) 

  • โรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิต้านทานตนเอง (immune thrombocytopenia – ITP) เป็นภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่พบบ่อยในเด็ก
  • โรคไขกระดูกฝ่อ ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดได้อย่างพอเพียง มีโลหิตจาง ติดเชื้อง่าย เนื่องจากมีเม็ดเลือดขาวต่ำลง และเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้เลือดออกง่าย
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่มีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวแทรกซึมอยู่ในไขกระดูก ทำให้สร้างเม็ดเลือดที่ปกติได้ลดลง

 

จะเห็นได้ว่าลูกเลือดกำเดาไหลบ่อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งแม้จะเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็ก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถป้องกันและดูแลลูกน้อยได้ด้วยวิธีที่ถูกต้อง หากลูกมีเลือดกำเดาไหลเป็นประจำ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและรับการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพดีและหลีกเลี่ยงปัญหาหรือโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดตามมาในอนาคต

 

ที่มา : www.pobpad.com , www.tsh.or.th , www.medparkhospital.com

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

พฤติกรรม ลูกตีพ่อแม่ แก้ยังไง? วิธีจัดการอย่างสร้างสรรค์ และได้ผล

ควรชมลูกว่าฉลาด หรือไม่ ? 7 วิธีชมลูกแบบใหม่ ที่ไม่ใช่แค่ “เก่ง” หรือ “ฉลาด”

ของเล่นที่ดี เลือกยังไง? ให้เหมาะกับพัฒนาการลูกแต่ละช่วงวัย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

จันทนา ชัยมี