เท้าแบน ลูกเราเท้าแบนหรือเปล่า ลูกเท้าแบนต้องพาไปหาหมอไหม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงที่เด็ก ๆ กำลังเติบโต พวกเขาอาจต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายมากมาย ซึ่งภาวะ เท้าแบน เป็นสิ่งที่เด็กเล็กทั่วไปเป็นกันได้ และความผิดปกตินี้ มักหายไปตอนเด็กอายุมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนที่โตแล้ว อาจจะยังเท้าแบนอยู่ มาดูกันว่าเมื่อไหร่ที่ควรพาลูกไปหาหมอ อาการเท้าแบนแบบไหน ที่เรียกว่าผิดปกติ

 

เท้าแบน คืออะไร

เท้าแบน เป็นภาวะที่เท้าเกิดความผิดปกติ เมื่อลองเอาเท้าแนบติดกับพื้น จะมองไม่เห็นส่วนโค้งเว้าใต้เท้า ความจริงแล้วภาวะนี้ เกิดขึ้นได้กับเด็กทั่วไปที่มีอายุอยู่ระหว่าง 1-5 ขวบ เกิดจากการที่กระดูก และข้อต่อของเด็กยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ซึ่งความผิดปกตินี้ มักจะหายไปเมื่อเด็กอายุได้ 6 ขวบ อย่างไรก็ตาม อาจมีเด็กบางคนที่ไม่หายขาดจากภาวะเท้าแบน ทำให้ต้องเข้ารับการรักษา เพื่อให้กลับมามีเท้าที่ปกติ และใช้งานได้เหมือนคนทั่วไป ส่วนสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่หายขาดจากโรคนี้นั้น อาจมาจากภาวะกล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติ และมีกระดูกข้อเท้าที่ผิดรูป

เด็กเท้าแบนส่วนใหญ่ สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ และเล่นกีฬาได้เหมือนเด็กทั่ว ๆ ไป อย่างไรก็ตาม เด็กบางคน อาจรู้สึกเจ็บหรือมีอาการปวดที่เท้า เพราะกระดูกมีการเติบโตผิดรูป จนส่งผลต่อการใช้ชีวิต และเดินได้ไม่สะดวกเหมือนคนอื่น ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคนิ้วล็อกในเด็ก พบได้ตั้งแต่แรกเกิด พ่อแม่จะมีวิธีสังเกตอาการลูกน้อยได้อย่างไร

 

วิดีโอจาก : Baby Matters by หมอเหมี่ยว

 

ลักษณะของโรคเท้าแบน

สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าลูกของเราเสี่ยงที่จะเป็นโรคเท้าแบบไหน หรือถ้าเท้าของเขามีลักษณะแบบนี้ถือว่าเสี่ยงที่จะเป็นโรคเท้าแบบหรือเปล่า เรามาดูไปพร้อม ๆ กันได้เลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. ยืนเขย่งขาไม่ได้

ก่อนที่เราจะดูได้ว่าลูกของเราเป็นหรือเปล่านั้น แน่นอนว่าเด็กจะไม่สามารถเขย่งขาได้ หรือเขาจะทรงตัวลำบาก ทำให้ในช่วงการเคลื่อนไหวของเขาทุกครั้ง เราจะรู้สึกเคลื่อนไหวตัวลำบาก รวมถึงเดินขึ้นลงบันไดลำบากไปด้วย เพราะฉะนั้นหากลูกของเรามีอาการเหล่านี้อยู่แล้วล่ะก็ เราอาจจะต้องพาลูกมาปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำหรือทำการรักษานั่นเอง

 

2. ไม่สามารถสวมรองเท้าได้

หากลูกของเราเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ เขาอาจจะใส่รองเท้าค่อนข้างลำบาก ยิ่งถ้ารองเท้าคู่ไหนที่เขาไม่เคยใส่แล้วไปใส่ เขาจะใส่ไม่ได้แน่นอน เพราะฉะนั้นเราก็อาจจะต้องทำการสังเกตบริเวณเท้าของลูกด้วยว่าอุ้งเท้าของเขาแบนไหม เพื่อที่เราจะได้ทำการพาลูกไปรักษาได้อย่างถูกวิธีนั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. รู้สึกชาฝ่าเท้า

ถ้าลูกของเรามีอาการชาบริเวณฝ่าเท้า หรือรู้สึกอ่อนแรงบริเวณนิ้วเท้า สิ่งนี้ก็อาจจะกำลังบ่งบอกเราว่าลูกของเรามีลักษณะอุ้งเท้าที่เปลี่ยนแปลงไป หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคเท้าแบน เมื่อไหร่ที่คุณพ่อคุณแม่รู้แล้วก็ไม่ควรที่จะปล่อยปละละเลยเรื่องเหล่านี้ไป อาจจะต้องขอคำแนะนำจากคุณหมอและพาลูกไปทำการรักษาจะดีที่สุด

 

4. ฝ่าเท้าเริ่มบวมแดง

อีกหนึ่งข้อที่จะกำลังบ่งบอกว่าลูกของเราเป็นโรคเท้าแบนหรือไม่ นั่นคือบริเวณฝ่าเท้าด้านในจะมีลักษณะบวมแดงขึ้นมา หรือบางคนถ้าเป็นหนักมาก ๆ ก็อาจทำให้บริเวณฝ่าเท้ามีอาการอักเสบ บวมแดงตามเส้นเอ็นบริเวณรอบ ๆ ได้ ดังนั้นหากลูกของเกิดอาการไม่สบาย หรือกำลังมีอาการแบบนี้อยู่ เราจะต้องรีบทำการรักษาให้เร็วที่สุดค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ลูกป่วยเป็นอะไรได้บ้างในฤดูกาลต่าง ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เท้าแบน มีอาการเป็นยังไง

เด็กที่เท้าแบน อาจรู้สึกไม่สบายเท้าเมื่อต้องเดินหรือวิ่ง เคลื่อนไหวเท้าได้ลำบาก มีเท้าผิดรูป มีอาการปวดตั้งแต่เข่าลงไปถึงเท้า ใส่รองเท้าได้ลำบาก ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ไม่สะดวก เหนื่อยง่าย ซุ่มซ่ามตอนเดิน และมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กคนอื่น หากไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น เอ็นร้อยหวายอักเสบ ข้อเท้าอักเสบ เอ็นในฝ่าเท้าอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดบริเวณรอบ ๆ เท้า ปวดหลัง ปวดสะโพก เจ็บตาปลา และปวดนิ้วหัวแม่เท้า เป็นต้น โดยอาการเหล่านี้ อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเด็ก และส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กได้

 

 

โรคเท้าแบน รักษายังไง

หากเด็กอายุมากกว่า 5 ขวบแล้วยังเท้าแบนอยู่ คุณหมออาจแนะนำให้เด็กใส่เสริมส้นในรองเท้า เพื่อช่วยในการรักษาอาการปวด หรือใช้แผ่นรองเท้าเพื่อช่วยให้สบายเท้ามากยิ่งขึ้นเวลาเดิน นอกจากนี้ เด็ก ๆ อาจต้องทานยาแก้ปวด และหมั่นออกกำลังยืดกล้ามเนื้อเท้าด้วย และในบางกรณี คุณหมออาจแนะนำให้เด็กเข้ารับการผ่าตัด หากว่า ภาวะเท้าแบน ของเด็กรุนแรง หรืออาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ในอนาคต

 

วิธีดูแลลูกที่มีภาวะเท้าแบน โรคเท้าแบน

คุณแม่สามารถดูแลลูก ๆ ที่มีภาวะเท้าแบนได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ดังนี้

  • เมื่อเด็กรู้สึกปวดเท้า ให้เด็กนอนพัก หยุดการเดิน การเคลื่อนไหวร่างกาย หรืองดเว้นจากการทำกิจกรรม เช่น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ การกระโดด เป็นต้น เพราะกิจกรรมเหล่านี้ ต้องอาศัยการขยับเท้าและข้อเท้า ซึ่งอาจทำให้อาการปวดเท้าของเด็กแย่ลงมากกว่าเดิม
  • ซื้อแผ่นรองเท้าตามร้านขายยาให้เด็กใส่ตอนที่เดิน อาจช่วยให้เด็กเดินได้สบายมากขึ้น และปวดเท้าน้อยลง
  • หากเด็กมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ ควรให้เด็กลดน้ำหนัก เพราะการที่เด็กน้ำหนักเยอะ อาจทำให้น้ำหนักกดทับเท้าตอนที่เดิน จนปวดเท้ามากขึ้นได้
  • หากเด็กมีอาการปวดเท้า ให้ลองประคบเย็นที่เท้าของเด็ก หรืออาจจะให้เด็กรับประทานยาแก้ปวดไอบูโพรเฟนก็ได้ แต่ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะให้เด็กรับประทานยาทุกชนิด
  • ให้เด็กใส่รองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้าของเด็ก เพื่อไม่ให้เด็กเกิดอาการปวดตอนที่เดินอยู่
  • ลองปรึกษาแพทย์ดูว่า มีกิจกรรมไหนที่เด็ก ๆ ทำได้บ้าง และมีกิจกรรมไหนที่ควรเลี่ยง
  • ให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้เด็กเป็นเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง
  •  ไม่ให้เด็กเล่นกีฬาที่อาจทำให้เกิดแรงกระแทกที่เท้า เช่น ฟุตบอล เทนนิส ฮอกกี้ หรือบาสเกตบอล เป็นต้น
  • หากอาการของเด็กแย่ลง ให้พาเด็กเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจ

 

พาลูกไปหาหมอตอนไหนดี

หากตอนนี้ คุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกน้อยเท้าแบน ก็อย่าเพิ่งตกใจ หากลูก ๆ เราอายุอยู่ในช่วง 1-5 ขวบ ก็ยังถือว่าไม่มีความผิดปกติอะไร เพราะเด็ก ๆ ที่ยังอายุน้อยมักจะเท้าแบน แต่หากลูกอายุมากกว่า 5 ขวบแล้วเท้ายังไม่หายแบน ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาค่ะ ส่วนวิธีสังเกตว่าลูกเท้าแบนไหม ทำได้ง่าย ๆ โดยให้ลูกยืน และลองเอาเท้าแนบพื้นดู หากใต้เท้าของเด็กไม่มีส่วนโค้งเว้า ก็เท่ากับลูกมีภาวะเท้าแบนค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อคุณแม่พาลูกที่มีภาวะเท้าแบนไปพบหมอ หมอจะตรวจดูเท้าของเด็กในขณะที่เด็กนั่งหรือยืน และตรวจดูการเคลื่อนไหวของเด็กตอนที่เดิน รวมทั้งอาจจะเช็กดูที่ขาท่อนล่างหรือสะโพกของเด็ก ๆ ด้วย ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือเปล่า ซึ่งอาจทำโดยการเอกซเรย์ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็กป่วยหน้าฝน RSV ไข้หวัดใหญ่ เฮอร์แปงไจน่า โรคหน้าฝนที่ทารกเด็กเล็กต้องระวัง

โรคคอพอก เด็กและคนท้องเป็นกันได้ เกิดจากร่างกายขาดไอโอดีนจริง ๆ หรือไม่

โรคตับอักเสบ และโรคตับแข็งในเด็ก เกิดได้อย่างไร และควรป้องกันอย่างไร

ที่มา : ouh.nhs , pediatricfootankle , pediatricfootankle , surestep , mayoclinic

บทความโดย

Kanokwan Suparat