X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รอยยิ้มแสนหวานของหนูน้อยที่มองเห็นแม่เป็นครั้งแรก

10 Apr, 2016
รอยยิ้มแสนหวานของหนูน้อยที่มองเห็นแม่เป็นครั้งแรก

จะเป็นอย่างไรเมื่อหนูน้อย Leopold Wilbur วัยสี่เดือนที่ต้องประสบภาวะโรคผิวเผือกและมีปัญหาทางด้านสายตา สามารถมองเห็นหน้าแม่ได้เป็นครั้งแรก

มองเห็นแม่ เป็นครั้งแรก - รอยยิ้มแสนหวานของหนูน้อย ที่มอบ ให้คุณแม่

มองเห็นแม่ เป็นครั้งแรก – รอยยิ้มแสนหวานของหนูน้อย ที่มอบ ให้คุณแม่

เดวิดและอลิน คุณพ่อและคุณแม่วัย 35 ปีของหนูน้อย ลีโอ เล่าให้ฟังว่า ลีโอ เกิดมาด้วยภาวะผิวเผือกและมีปัญหาทางด้านสายตา เขาไม่เคยมีโอกาสได้มองเห็นของเล่น ท้องฟ้า ดวงดาว หรือแม้แต่จะมองเห็นหน้าแม่ของตัวเอง

แต่แล้ว เคนเนท จักษุแพทย์ก็ได้มอบแว่นสายตาแบบพิเศษให้กับลีโอ และนี่เอง ทำให้ ลีโอ มีโอกาสได้เห็นหน้าของแม่ตัวเองเป็นครั้งแรก

มองเห็นแม่

 

และเมื่ออลิน แม่ของลีโอเริ่มส่งเสียง ด้วยความคุ้นเคยที่เขาจำเสียงแม่ได้ … นี่ถึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเราทุกคนได้มีโอกาสเห็นรอยยิ้มที่แสนหวานของลีโอ

มองเห็นแม่

 

ทุกวันนี้ ลีโอ ชอบที่จะมองดูของเล่น ท้องฟ้า และดวงดาวเป็นอย่างมาก ถ้าคุณอยากเห็นช่วงเวลาที่มีค่าของเด็กคนนี้แล้วละก็ คลิก ได้ที่ด้านล่างเลยค่ะ

 

งานวิจัยจากสถาบันไม่แสวงหาผลกำไร Retina Foundation of the Southwest ในดัลลัส เท็กซัส ตีพิมพ์ในนิตยสาร JAMA Ophthalmology โดยนักวิจัยใช้เวลาถึง 2 อาทิตย์ เพื่อเก็บข้อมูลระหว่างที่เด็กๆ มีการเล่นเกมที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อรักษาอาการและพัฒนาการมองเห็น และพบว่าพวกเขามีอาการที่ดีขึ้นค่ะ

การรักษาเด็กๆ ที่เป็นโรคตาขี้เกียจนั้นมีหลักการง่ายๆ คือให้ตาทั้งสองข้างได้ทำงาน เพราะเวลามองสิ่งต่างๆ ด้วยตาทั้งสองข้าง เด็กๆ จะมองไม่ชัดเท่าการมองเห็นด้วยตาเพียงข้างเดียว โดยจำนวนเด็กๆ ที่มีตาขี้เกียจในสหรัฐอเมริกามีจำนวนถึง 3% เลยทีเดียวนะคะ

การรักษาแบบเดิมๆ ซึ่งเป็นการใส่ผ้าปิดตา ให้ข้างที่เป็นโรคตาขี้เกียจได้ทำงาน เด็กส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการด้านการมองเห็นที่ดีขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะได้ผลกับเด็กทุกคน เด็กบางคนกลับไปเป็นโรคตาขี้เกียจหลังจากได้รับการรักษา

เกมที่รักษาโรคตาขี้เกียจได้คือ Dig rush เป็นเกมขุดทองในเมืองขึ้นรถขนทอง และขนออกมาให้เร็วที่สุด ซึ่งต้องหลบสิ่งกีดขวางต่างๆ อย่างมอนสเตอร์

เด็กๆ ต้องเล่นเกมนี้ขณะที่ใส่แว่นพิเศษที่ต้องใช้ตาทั้งสองข้างในการมองเห็น ตาข้างที่แข็งแรงกว่าจะมองเห็นรถขนทอง ในขณะที่ตาข้างที่ขี้เกียจจะมองเห็นตัวละครที่เด็กๆ เล่น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จำต้องใช้ตาทั้งสองข้าง

 

โดยการเก็บข้อมูลนั้น เด็กๆ ใช้เวลาเล่น วันละ 1 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 2 อาทิตย์ หลังจากนั้นให้เด็กๆ มาทดสอบการอ่าน ซึ่งเฉลี่ยแล้วเด็กๆ อ่านได้มากกว่าเดิมถึง 1.5 บรรทัด เมื่อเทียบกับการรักษาแบบเดิมที่ใช้ผ้าปิดตา ที่เด็กๆ อ่านได้เพียงแค่ 0.7 บรรทัด

เด็กๆ ที่ใช้การรักษาโดยเกมและแว่นตาพิเศษ มีอาการดีขึ้นถึง 40% บางคนมีสายตาดีขึ้นจนเกือบเป็นปกติ ขณะที่การรักษาแบบเดิม เด็กๆ มีอาการดีขึ้นเพียงแค่ 7% เท่านั้นค่ะ และยังไม่มีรายงานว่าเด็กๆ ที่เล่นเกมมีอาการตาขี้เกียจกลับมาเป็นอีกแต่อย่างใดนะคะ

ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์

ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ จนตาอักเสบหวิดตาบอด แม่เจอกับตัวถึงได้รู้ นอกจากนี้ เด็กๆ จ้องมือถือ สมาร์ทโฟนมากเสี่ยงสายตาสั้นเทียมได้

คุณแม่ท่านหนึ่ง ได้โพสต์ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ เพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่แม่ท่านอื่น ๆ ไว้ว่า

ฝากเป็น อุทาหรณ์ค่ะ สำหรับคุณแม่ๆๆ ที่ชอบให้คุณลูกเล่นโทรศัพท์ค่ะ

ผลที่ออกมาเป็นแบบนี้เลยค่ะ ดีนะคะตาไม่บอดเอา

หมอบอกว่า นี่ก็ขั้นหนักแล้ว

นี่ค่ะ ผลของให้เด็กๆ เล่นโทรศัพท์ ถ้าใครไม่อยากให้ลูกตัวเองเป็นแบบนี้ให้เค้าเลิกเล่นโทรศัพท์เถอะค่ะ ตาบอดมาไม่คุ้มกัน หาอย่างอื่นให้เค้าเล่นแทนค่ะ

 

ตอนแรกก็เห็นคนเค้าแชร์เยอะ

บทความจากพันธมิตร
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ

ว่าเด็กเล่นโทรศัพท์แล้ว มีเลือดไหลที่ตา

แล้วอาจทำให้ตาบอด เราไม่เชื่อค่ะ

พอเกิดขึ้นกับลูกตัวเองเท่านั้นละ

โอ้ยยย เลิกเลยค่ะ ให้เลิกอย่างไว

เด็ดขาดเลยค่ะ กลัวค่ะ

เราเป็นคนไม่มีเวลาเลี้ยงลูก ทำแต่งาน จะเลี้ยงลูกด้วยโทรศัพท์ ให้เค้าอยู่กับโทรศัพท์ตลอด ใครมีนิสัยเหมือนเรา เลิกนะคะ เปลี่ยนค่ะ ให้เล่นโทรศัพท์ ไม่ใช่ทางออกที่ดี หาอย่างอื่นให้เค้าเล่นแทนค่ะ อีกอย่างนะคะ ใช่จะทำให้ตาบอดอย่างเดียว แถมสมาธิเด็กสั้นด้วยค่ะ

ฝากบอกต่อๆ ไปด้วยนะคะ

ลูกหลานท่านใดที่ติดโทรศัพท์อยู่ตอนนี้

ให้เค้าเลิกนะคะ หรือห่างๆ ไม่งั้นตาบอดมาไม่คุ้มกันค่ะ

ป้องกันไว้ค่ะ ดีกว่าเป็นแล้ว มาแก้ไข้ทีหลัง มันไม่คุ้มกันค่ะ

สอบถามคุณแม่เพิ่มเติม ทราบมาว่า น้องอายุ 6 ขวบย่าง 7 ขวบแล้วค่ะ จากที่แม่โพสต์ไป คุณหมอแจ้งว่า น้องเป็นเส้นประสาทตาอักเสบค่ะ เกิดจากการเล่นโทรศัพท์ โดยอาการเริ่มแรก น้องบอกมีอาการเคืองตา ตาแดง ๆ แม่ตกใจเลยรีบพาไปหาหมอ ตอนนี้น้องก็ต้องกินยาและหยอดยา ตามหมอสั่งค่ะ

ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ ขอให้น้องหายเร็วๆ นะคะ

 

รู้ไว้เด็กๆ จ้องมือถือ สมาร์ทโฟนมากเสี่ยงสายตาสั้นเทียมได้

มองเห็นแม่ เป็นครั้งแรก - รอยยิ้มแสนหวานของหนูน้อย ที่มอบให้คุณแม่

มองเห็นแม่ เป็นครั้งแรก – รอยยิ้มแสนหวานของหนูน้อย ที่มอบให้คุณแม่

สายตาสั้นเทียมคืออะไร

รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า การใช้สมาร์ทโฟนของเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี จะมีลักษณะการใช้สายตาในการเพ่งมองใกล้มากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ จนเกิดภาวะที่เรียกว่า “ตาเพ่งค้าง” อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว ตาพร่าได้ หรือที่เรียกว่าสายตาสั้นเทียมชั่วคราว ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและภาวะของแต่ละคนด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือพ่อแม่มักพาเด็กกลุ่มนี้ไปตัดแว่นที่ร้านแว่นต่างๆ เพราะเข้าใจว่าลูกสายตาสั้น แต่จริงๆ แล้วอาจไม่ใช่ ซึ่งสายตาสั้นเทียมบางรายเกิดแค่ไม่กี่นาทีก็หาย บางคนเป็นวัน ทำให้เมื่อสวมใส่แว่นตาแล้วสุดท้ายมีอาการปวดสายตาและส่งผลเสียต่อตาในที่สุด

การตรวจรักษาตาในเด็กของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ที่มีกว่า 500 คนต่อเดือน พบว่า อาการตาพร่ามัวที่พ่อแม่เข้าใจว่าลูกสายตาสั้นจากการเล่นเกมนั้น ร้อยละ 50 เป็นสายตาสั้นเทียม โดยวิธีในการตรวจว่าเป็นสายตาสั้นเทียมหรือไม่ จะตรวจสายตาตามปกติก่อน ซึ่งมักจะได้ค่าสายตามากกว่าปกติ จากนั้นจะหยอดยาลดการเพ่ง เพื่อปรับสายตาให้คงที่ แล้วจึงวัดค่าสายตาว่าจริงๆ แล้วสายตาเด็กยังปกติอยู่หรือไม่ เป็นเพียงสายตาสั้นเทียม หรือว่าสายตาสั้นเท่าไร เป็นต้น

สาเหตุของสายตาสั้นเทียม

1.ใช้สายตามองใกล้เช่น เพ่งมองคอมพิวเตอร์ เล่นเกม ใช้โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ นานเกินไป

2.จากมีโรคทางสมองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติชนิด Parasympathetic มากเกินไปเช่น จากอุบัติเหตุที่สมอง

3.สายตาสั้นเทียมพบได้บ่อยในผู้มีสายตาเอียง(Astigmatism)

4.มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อกลอกตา  เช่น มีภาวะตาเขออกเพราะจะเกิดการเพ่งสายตา

5.ผลข้างเคียงจากยารักษาโรคบางอย่างเช่น ยาเคลายเครียด,  ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน ตลอดจนยาคลายกล้ามเนื้อต่างๆ และแม้แต่ยาบางตัวที่ใช้รักษาต้อหินก็ทำให้เกิดสายตาสั้นเทียมได้

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นสายตาสั้นเทียม

รศ.(พิเศษ) พญ.โสฬส วุฒิพันธุ์ ฝ่ายวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย  กล่าวว่า  อาการของสายตาสั้นเทียมและสายตาสั้นจริง ส่วนที่เหมือนกันคือมองไกลไม่ชัดทั้งคู่ แต่สำหรับสายตาสั้นเทียมนั้นมีข้อสังเกตคือ มีอาการมองไม่ชัดค่อนข้างจะทันที เช่น ตามัวมา 1 อาทิตย์ ขณะที่สายตาสั้นจริงจะค่อยๆ มองไม่ชัดมานาน นอกจากนี้สายตาสั้นเทียม จะยังมีอาการปวดตาปวดหัว บางครั้งมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยหลังการใช้สายตามากๆ หรือนานๆ จะมีอาการตามัวมากขึ้น  นอกจากนี้ การวัดสายตาแล้วได้ค่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่แน่นอน หรือเมื่อวัดสายตาหลังหยอดยาขยายม่านตาแล้วพบว่า  ค่าสายตาสั้นน้อยกว่าค่าที่ได้ก่อนหยอดยา ก็นับเป็นสายตาสั้นเทียมด้วย หรือเมื่อวัดสายตาแล้วสั้น -4.00 ลองใส่แว่น -4.00 แล้วยังเห็นไม่ชัด แต่ชอบแว่นที่สั้นมากกว่าสายตาที่วัดได้ เช่น ใส่แว่น -5.00 แล้วชัดมาก ก็แสดงว่าคนนี้มีภาวะสายตาสั้นเทียมเช่นกัน   ซึ่งในบางคนวัดสายตาอย่างเดียวยังไม่ชัดเจน หากให้หยอดยาขยายม่านตา ซึ่งช่วยทำให้กล้ามเนื้อในลูกตาที่หดตัวผิดปกติคลายออก แล้วลองวัดค่าสายตาใหม่ ถ้าวัดได้น้อยกว่าที่ตอนแรกวัดได้ เช่น ก่อนหยอดยา วัดสายตาสั้น -4.00 หลังหยอดตาวัดแล้วไม่มีสายตาสั้นเลย แสดงว่ารายนี้ก็มี สายตาสั้นเทียม”

รู้ไว้เด็ก ๆ จ้องมือถือ สมาร์ทโฟนมากเสี่ยงสายตาสั้นเทียมได้

จากข้อมูลที่จักษุแพทย์ทั้งสองท่านได้กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นว่า  สายตาสั้นเทียมนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายและเฉียบพลัน  หากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดสายตาสั้นจริงได้  ซึ่งควรได้รับการประเมินอาการจากจักษุแพทย์เพื่อยืนยันว่า  ลูกของคุณเป็นสายตาสั้นเทียมหรือสายตาสั้นแท้  แต่สิ่งสำคัญไม่ว่าจะสายตาสั้นเทียมหรือสายตาสั้นแท้คงไม่อยากให้เกิดกับลูกอย่างแน่นอน  มาป้องกันสายตาสั้นเทียมในเด็กกันค่ะ

รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ให้คำแนะนำ  คือ  ผู้ปกครองหมั่นควบคุมการใช้โทรศัพท์มือถือ วันธรรมดาควรให้เล่นไม่เกินวันละ 2 รอบ รอบละไม่เกิน 30 – 45 นาที จากนั้นให้พักสายตา มองไปไกล ๆ อย่างน้อย   5-10 นาที และวันเสาร์อาทิตย์อาจให้เล่นมากขึ้นประมาณ 3 รอบ ที่สำคัญในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรให้ใช้อุปกรณ์จำพวกสมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น”

วิธีป้องกันสายตาจากการใช้สมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ ยังมีวิธีการอื่น ๆ ดังนี้

  1. การปรับความสว่างของหน้าจอให้พอเหมาะ ไม่ควรให้แสงจ้าเกินไป ฝึกให้ลูกสังเกตตัวเอง หากเริ่มเคืองตา ตาแห้ง การมองเห็นพล่าเบลอ ควรหยุดใช้หน้าจอ และใช้หน้าจอเท่าที่จำเป็น พ่อแม่ผู้ปกครอง ควรกำหนดขอบเขตการใช้หน้าจอของลูกให้เหมาะสม
  2. ไม่ควรเล่นอุปกรณ์ดังกล่าวในห้องมืด ๆ ควรปรับความสว่างหน้าจอให้มีความพอดีกับความสว่างของห้อง แสงไฟไม่ควรส่องจากด้านหลังเข้าหาจอ
  3. ให้ปรับความคมชัดของจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับ 70-80 เฮิร์ตหรือสูงสุดเท่าที่รู้สึกว่าสบายตา
  4. การเลือกตัวหนังสือในจอควรใช้ตัวหนังสือสีดำบนพื้นสีขาวเพื่อให้เห็นชัดเจน ไม่แนะนำให้ใช้พื้นสีเข้มตัวหนังสือสีขาวหรือสีอ่อน เนื่องจากจะทำให้ต้องใช้สายตาเพ่งตัวหนังสือเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว บางคนต้องหรี่ตาเพื่อลดแสงเข้าตา
  5. หากเป็นจอคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ควรใช้แผ่นกรองแสงและดูแลทำความสะอาดหน้าจอไม่ให้มีฝุ่นเกาะ เพื่อให้มองเห็นชัดเจน และควรนั่งเล่นในท่าที่ถูกต้อง  คือ  เหมือนนั่งอ่านหนังสือ ระยะห่างของสายตากับแท็บเล็ตหรือมือถือประมาณ 1-2 ฟุต
  6. ควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อให้ดวงตามีความชุ่มชื้น
  7. พักผ่อนนอนหลับเป็นเวลา 8 ชั่วโมงขึ้นไปเพื่อให้ประสาทตาได้พักการใช้งาน

วิธีการป้องกันที่ได้กล่าวมานั้น  นอกจากจะทำให้เด็กไม่เกิดปัญหาเรื่องสายตาแล้ว  ยังมีผลพลอยได้อีกคือ  ลดปัญหาเรื่องการติดเกมในเด็กลงได้อีกนะคะ เพราะการจำกัดเวลาเล่นทำให้เด็กไม่จดจ่ออยู่กับเกมมากเกินไปนั่นเอง

ที่มา: Youtube และ  The Sun

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ไขข้อข้องใจ? เมื่อใดทารกเริ่มชันคอ

5 ประสาทสัมผัสเพื่อพัฒนาการที่ดีของทารกน้อย

TAP-ios-for-article-footer-with button

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • รอยยิ้มแสนหวานของหนูน้อยที่มองเห็นแม่เป็นครั้งแรก
แชร์ :
  • ปฏิกิริยาทารกน้อยได้ยินเสียงแม่เป็นครั้งแรก หลังใส่เครื่องช่วยฟัง

    ปฏิกิริยาทารกน้อยได้ยินเสียงแม่เป็นครั้งแรก หลังใส่เครื่องช่วยฟัง

  • พาลูกหาหมอฟันครั้งแรก พาลูกไปหาหมอ แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

    พาลูกหาหมอฟันครั้งแรก พาลูกไปหาหมอ แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • ปฏิกิริยาทารกน้อยได้ยินเสียงแม่เป็นครั้งแรก หลังใส่เครื่องช่วยฟัง

    ปฏิกิริยาทารกน้อยได้ยินเสียงแม่เป็นครั้งแรก หลังใส่เครื่องช่วยฟัง

  • พาลูกหาหมอฟันครั้งแรก พาลูกไปหาหมอ แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

    พาลูกหาหมอฟันครั้งแรก พาลูกไปหาหมอ แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ