คุณแม่นักปั๊มที่มีน้ำนมสต็อกเก็บไว้ให้ลูกกินได้นานจนเกินกำหนดเก็บรักษาน้ำนมแม่ อาจเกิดความเสียดาย อยากให้ลูกได้กินนมที่แม่ตั้งใจปั๊มเก็บไว้ ไม่อยากทิ้ง ลองชิมแล้วไม่เปรี้ยว จึงคิดว่าน่าจะกินได้ไม่เสีย แต่คุณแม่ทราบไหมว่า การให้ลูกกิน นมแม่หมดอายุ อาจทำให้เด็กติดเชื้อ Salmonella ได้ค่ะ
คุณหมอวิน เพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ ได้โพสต์เตือนแม่ๆ อย่าเอานมสต็อกที่เก็บนานเกินกำหนดให้ลูกกิน ถึงแม้จะชิมแล้วว่าไม่เปรี้ยวก็ตาม เพราะการให้ลูกกินนมหมดอายุ เสี่ยงทำให้เด็กติดเชื้อ Salmonella จาก นมแม่หมดอายุ
โดยคุณหมอได้โพสต์ข้อความว่า
“ขอเถอะนะ เวลามาบอกว่า ชิมนมสต็อกแล้วไม่เปรี้ยว คือ กินได้ไม่เสีย ทั้งที่เก็บนานเกินกำหนดแล้ว
คุณกำลังเอาลูกมาเสี่ยง กินนมหมดอายุนะ ตั้งสติให้ดี (นี่เพิ่งเจอเด็กติดเชื้อ Salmonella จากนมหมดอายุ)”

สต็อกนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน
เรามาทบทวนกันค่ะ ว่าระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำนมแม่ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร จากคำแนะนำระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำนม โดย สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะนำวิธีการเก็บนมแม่ที่เพิ่งปั๊มใหม่ ๆ และนมแม่ที่ละลายแล้ว ดังนี้
|
คำแนะนำระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำนม
|
วิธีการเก็บ |
นมแม่ปั๊มใหม่ๆ |
นมแม่ที่ละลายแล้ว
(ผ่านการแช่แข็ง) |
อุณหภูมิห้อง |
1 ชั่วโมง
(≥ 25 องศาเซลเซียส) |
1 ชั่วโมง
(≥ 25 องศาเซลเซียส)
|
กระติกน้ำแข็ง
ที่มีน้ำแข็ง หรือ ice packs |
24 ชั่วโมง
( < 15 องศาเซลเซียส) |
24 ชั่วโมง
( < 15 องศาเซลเซียส ) |
ตู้เย็น ช่องธรรมดา |
4 วัน
(≤4 องศาเซลเซียส) |
24 ชั่วโมง |
ช่องแช่แข็ง
ตู้เย็นประตูเดียว |
2 สัปดาห์ |
ห้ามนำกลับไปแช่แข็งใหม่ |
ช่องแช่แข็ง
ตู้เย็นสองประตู (ประตูแยก) |
3 เดือน
(-19 องศาเซลเซียส) |
ห้ามนำกลับไปแช่แข็งใหม่ |
ช่องแช่แข็ง
ตู้แช่แข็งแบบ Deep Freezer |
6 เดือน (the best)
(-19 องศาเซลเซียส ) |
ห้ามนำกลับไปแช่แข็งใหม่ |

ข้อควรระวังในการเก็บน้ำนมแม่
- ไม่ควรเก็บน้ำนมไว้ที่ประตูตู้เย็น
- ควรเก็บรักษานมแม่ตามระยะเวลาที่แนะนำ โดยควรล้างนึ่งอุปกรณ์ปั๊มนมทุกครั้งที่ใช้
- การเก็บรักษาไม่ถูกวิธี เช่น การเก็บน้ำนมแม่ไว้ในอุณหภูมิห้องนานเกินไป หรือเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้
- และไม่ใช้วิธีการชิมเพื่อประเมินคุณภาพน้ำนมว่าเสียหรือไม่
- หากไม่แน่ใจเกี่ยวกับการเก็บรักษาน้ำนมแม่ ควรปรึกษาแพทย์ หรือนักโภชนาการ
วิธีลดความเสี่ยงต่อลูกน้อย
คุณแม่สามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของลูกน้อยได้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำในการเก็บรักษานมแม่ เก็บนมแม่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม และในระยะเวลาที่กำหนด
เชื้อ Salmonella คืออะไร?
เชื้อ Salmonella เป็นแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปในอาหารดิบ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ดิบ ไข่ดิบ และนมดิบ การติดเชื้อ Salmonella สามารถทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย และมีไข้

การให้ลูกกินนมหมดอายุ เสี่ยงติดเชื้อ Salmonella ได้อย่างไร
การให้ลูกกินนมแม่ที่เก็บไว้นานเกินไป หรือ นมแม่หมดอายุ อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกน้อยได้ แม้ว่านมแม่จะมีสารต้านแบคทีเรียตามธรรมชาติ แต่หากเก็บไว้นานเกินกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม เชื้อแบคทีเรียอย่างเชื้อ Salmonella ก็สามารถเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นได้ ซึ่งอาจทำให้ลูกน้อยท้องเสีย อาเจียน หรือมีอาการป่วยอื่นๆ
นอกจากนี้ สารอาหารบางชนิดในนมแม่อาจลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เช่น วิตามินซี ภูมิคุ้มกัน และไขมัน ซึ่งการให้ลูกกินนมที่หมดอายุ อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยได้
อาการของทารกที่ติดเชื้อ Salmonella
ทารกที่ติดเชื้อ Salmonella อาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ในบางราย เชื้ออาจลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดอาการรุนแรง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก อาจต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อรับน้ำเกลือและยาฆ่าเชื้อ
รู้แบบนี้แล้ว อย่าเสียดาย นมแม่หมดอายุ เลยนะคะ เราเข้าใจดีว่ากว่าจะปั๊มนมได้แต่ละหยดนั้นไม่ง่าย แต่การต้องมาเห็นลูกเจ็บป่วยนั้น ก็ไม่คุ้มกันเลย เพราะนมที่หมดอายุ จากการเก็บสต็อกไว้นานเกินไป หรือนมที่ละลายแล้วลูกกินไม่หมด มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อ Salmonella รวมทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ลูกน้อยเจ็บป่วยได้ทั้งนั้น
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
อันตรายจากการหอมแก้มเด็ก แม่โพสต์เตือน อย่าให้ใครหอมลูก ไม่งั้นจะเป็นเหมือนบ้านนี้
หมอเตือนแม่ๆ อย่าหาทำ! แม่ผ่าคลอดกินลูกปลาช่อน จะทำให้แผลหายเร็ว
รู้จัก เชื้อเอนเทอโรไวรัส และ สัญญาณโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากเชื้อไวรัส
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!