X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ประสบการณ์คือครูที่ดีที่สุด ลองถามนักสำรวจดู

บทความ 3 นาที
ประสบการณ์คือครูที่ดีที่สุด ลองถามนักสำรวจดู

พ่อแม่สองคนเชื่อว่า วิธีที่ดีที่สุดในการสอนลูกเรื่องเงิน ก็คือให้เจอประสบการณ์จริง

สามีและฉันเชื่อแบบหมดใจเลย กับคำพูดที่ว่า “ประสบการณ์คือครูที่ดีที่สุด” เมื่อเป็นเรื่องสอนลูกจัดการเงิน มันก็ใช้ได้เช่นกัน

ไม่น่าแปลกใจเลย เพราะรูปแบบการเลี้ยงลูกของเรา ไปตรงกับแบบนักสำรวจ (อยากรู้ไหมว่าคุณเป็นแบบไหน ลองทำแบบทดสอบดูสิ) นักสำรวจคือพวกที่เชื่อว่าประสบการณ์ในชีวิตจริง เป็นวิธีที่ดีที่สุดให้เด็กได้เรียนรู้การจัดการเงิน เราเลยส่งลูกชายสองคนอายุแปดและห้าขวบ ออกไปซื้อของที่ร้านอุปกรณ์เครื่องเขียน มันเป็นแบบนี้นะ

แผนการ

เราให้เงินลูกแต่ละคนห้าดอลลาร์ และบอกลูกว่าให้ซื้ออะไรก็ได้ที่อยากซื้อ เราไม่ได้ทำรายการบอกว่าให้ซื้ออันไหนและห้ามซื้ออันไหน และจะรอลุ้นอยู่หน้าร้านว่าลูกจะซื้ออะไรมา

เรื่องราวก่อนหน้านั้นน่ะ จริงๆ แล้วนี่เป็นครั้งสองของลูกชายคนโต ตอนที่เขาอายุสี่ขวบ เราทำแบบเดียวกันนี้แหละ ถึงแม้ว่าตอนนั้นเขาจะไปคนเดียว แต่เราก็อยากจะดูว่าเขาเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตไหม

แล้วเหตุผลของเราน่ะเหรอ ง่ายๆ เลยนะ ในฐานะนักสำรวจ เราเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นเองผ่านการลองผิดลองถูก ถ้าลูกทำผิด ก็ไม่เป็นไร ลูกจะเรียนรู้จากความผิดพลาด เราเชื่อว่าการคอยจ้ำจี้จ้ำไชหรือคอยจัดการให้ลูกไปซะทุกเรื่อง จะสร้างผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้นไม่มีอะไรมาแทนประสบการณ์ชีวิตได้จริงๆ ในการสอนลูกให้จัดการเงิน

สอนลูกเรื่องการจัดการเงิน

เหตุการณ์เป็นยังไง

แรกๆ ก็ตื่นเต้น โดยเฉพาะลูกชายคนเล็ก เห็นได้ชัดว่าตื่นเต้นมาก เขาเดินตาลุกวาวไปรอบๆ ร้าน อยากจะซื้อทุกอย่างที่มือหยิบจับได้ เขาสับสนระหว่างเงินห้าดอลลาร์กับห้าสิบดอลลาร์ และคิดว่าเขาสามารถซื้ออะไรก็ได้ที่มีเลขห้าอยู่ ที่น่าสนใจก็คือ พี่ชายของเขาให้คำแนะนำและเหมือนจะร่วมมือกัน (ร่วมมือกันครั้งเดียวแหละ)

  • วิเคราะห์กำลังซื้อ

ลูกชายคนโตของเราอธิบายให้น้องชายคร่าวๆ ว่าใช้เงินห้าดอลลาร์ซื้ออะไรได้บ้าง เขายกตัวอย่างครั้งก่อนที่เคยมาซื้อของ รวมถึงที่พ่อเคยบอกไว้ว่าอันไหนราคาเกินตัว

จากนั้นเขาก็สรุปโดยชี้ไปที่หมวดตุ๊กตาและเครื่องใช้ไฟฟ้า และบอกว่าซื้อไม่ได้ ก่อนที่จะไปต่อ เขาก็สอนน้องชายเรื่องการตัดออก ซึ่งเราพบว่ามันน่าสนใจดี

  • การวางแผนคือสิ่งสำคัญ

ขณะที่ลูกคนเล็กวิ่งไปมาอย่างตื่นเต้น ลูกคนโตก็บอกให้น้องหยุดและบอกว่า “ทำไมไม่ลองมาคิดกันดูล่ะ ว่าเราต้องการอะไร”

ลูกคนเล็กตอบกลับไปว่า อยากไปดูก่อนว่ามีอะไร ลูกๆ เดินในร้านสักพัก ก่อนจะไปหยุดตรงมุมร้านในสภาพคิ้วขมวด หยุดคุยกันแบบจริงจัง

ตอนลูกๆ มาเล่าให้ฟังทีหลัง ฉันประหลาดใจมาก ลูกๆ เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างความจำเป็นและความต้องการด้วยตัวพวกเขาเอง อยากรู้ว่าถ้าเราให้ทำแบบนี้อีกครั้งโดยบอกล่วงหน้าก่อน พวกเขาจะเตรียมรายการของที่จะซื้อมาไหม

  • ควบคุมความต้องการ

หลังจากลูกเอาของเล่นเล็กๆ หลายอย่างใส่ตะกร้า พวกเขาก็เจอที่ว่างในร้านและนั่งลงเพื่อดูของที่หยิบมา ที่ฉันประหลาดใจก็คือ ลูกคนเล็กพูดว่า “แม่หยิบของใส่รถเข็นในซูเปอร์มาร์เก็ต แล้วก็หยิบบางชิ้นกลับไปวางบนชั้นตลอดเลย เรามาทำแบบนั้นกันดีกว่า”

ชัดเจนว่าลูกๆ ซื้อทุกอย่างไม่ได้ พอพวกเขาคิดว่าชิ้นไหนที่ต้องการจริงๆ ก็เริ่มเอาของที่หยิบมาแบบไม่ได้คิดเยอะออกไป

  • ใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า

ลูกชายคนโตนำการวิเคราะห์ที่พ่อเคยบอกมาใช้ ซึ่งเขาได้จากการไปซื้อของที่ร้านขายลูกอมเมื่อครั้งก่อน เขาบอกน้องชายว่าเจอสิ่งที่มาเป็นชุดหรือเป็นแพค ก็จะซื้อได้จำนวนเยอะ ในราคาที่ถูก

สอนลูกเรื่องการจัดการเงิน

  • อย่าใช้จ่ายจนหมด

เมื่อลูกๆ พอจะเลือกสิ่งที่ต้องการได้แล้ว พวกเขาก็ตรวจดูอีกรอบ ทั้งคู่เห็นตรงกันว่าอยากเอาเงินบางส่วนไปหยอดกระปุกที่บ้านด้วย

ลูกคนโตเรียนรู้บทเรียนสำคัญนี้ จากการเก็บเงินค่าขนมไว้ซื้อของที่ชอบตอนสิ้นเทอม ลูกคนเล็กดูพี่คนโตและเข้าใจว่าควรเอาเงินบางส่วนไปหยอดกระปุกเสมอ

เราค่อนข้างดีใจที่นิสัยในการออมเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของพวกเขาไปแล้ว เราดีใจยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อพวกเขาไม่ได้ขอให้เราช่วยออกเงินเพิ่มให้ เพราะเราบอกไปชัดเจนแล้วว่าเราจะไม่ทำแบบนั้น

 

คิดถึงคนอื่น

พอลูกๆ เดินออกจากร้าน พวกเขายิ้มร่าและเอาเงินทอนมาเล่นให้เกิดเสียง แต่แล้วพวกเขาก็กลับเข้าร้านไป เรางงกันนิดหน่อย แต่ก็ชื่นใจที่พบว่าพวกเขารวมเงินที่เหลือแล้วเอาไปซื้อของให้น้องสาว

ลูกๆ เดินออกมาเป็นรอบที่สองอย่างผู้ชนะ โดยมีคนหนึ่งถือยางรัดผมสีชมพู ส่วนอีกคนให้เราดูว่ายังมีเงินเหลืออยู่ ลูกๆ เลือกซื้อของด้วยตนเอง ถกเถียงกันเพื่อซื้อสิ่งที่ต้องการจริงๆ (รวมถึงซื้อให้น้องสาวด้วย เรานึกไม่ถึงเลย) และยังมีเงินเหลือด้วย ถือว่าสำเร็จแล้ว ! นั่นแหละคือสิ่งที่ดีที่สุดของวันเลย

จากทั้งหมดนี้ มันเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นใจ เรารู้สึกพึงพอใจที่ลูกชายคนโตจำประสบการณ์ที่ออกไปซื้อของเมื่อครั้งที่แล้วได้ และสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้มา ไปแนะแนวทางให้น้องชายได้

เราเชื่อจริงๆ ว่าลูกของเราเริ่มเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ใช้เงินซื้อได้ ผ่านจากประสบการณ์ของลูกๆ เอง รวมไปถึงการที่ลูกสังเกตพฤติกรรมการใช้จ่ายของเราด้วย อย่างที่นักสำรวจของเราต้องการเลย

ฉันก็บอกไม่ได้ว่าเราทำหน้าที่ในการสอนลูกเรื่องเงินได้อย่างดีเยี่ยม หรือว่าการเลี้ยงลูกแบบเรามันจะยอดเยี่ยมไม่มีทางล้มเหลว แต่จากที่เห็นแล้ว ฉันคิดว่าเราไปได้สวยในเส้นทางการสอนลูกเรื่องเงิน และเราอยากเพิ่มประสบการณ์แบบนี้ให้ลูกได้เรียนรู้อีก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • /
  • ประสบการณ์คือครูที่ดีที่สุด ลองถามนักสำรวจดู
แชร์ :
  • ป้องกันลูกน้อยจากโรงรถ ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องซักรีด ป้องกันอย่างไรจึงปลอดภัย

    ป้องกันลูกน้อยจากโรงรถ ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องซักรีด ป้องกันอย่างไรจึงปลอดภัย

  • จำเป็นไหม ที่จะต้องสอนเรื่องความสมดุลระหว่างการเก็บออมและการใช้จ่าย

    จำเป็นไหม ที่จะต้องสอนเรื่องความสมดุลระหว่างการเก็บออมและการใช้จ่าย

  • อบรมให้ลูกมีความรู้เรื่องเงิน อย่างไร

    อบรมให้ลูกมีความรู้เรื่องเงิน อย่างไร

  • ป้องกันลูกน้อยจากโรงรถ ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องซักรีด ป้องกันอย่างไรจึงปลอดภัย

    ป้องกันลูกน้อยจากโรงรถ ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องซักรีด ป้องกันอย่างไรจึงปลอดภัย

  • จำเป็นไหม ที่จะต้องสอนเรื่องความสมดุลระหว่างการเก็บออมและการใช้จ่าย

    จำเป็นไหม ที่จะต้องสอนเรื่องความสมดุลระหว่างการเก็บออมและการใช้จ่าย

  • อบรมให้ลูกมีความรู้เรื่องเงิน อย่างไร

    อบรมให้ลูกมีความรู้เรื่องเงิน อย่างไร

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ