ลูกน้อย กินมากเกินตั้งแต่แบเบาะ ลูกกินเยอะ ทำไง ?
( กินมากเกินตั้งแต่แบเบาะ เป็นอะไรไหม ทำยังไงดี ? อ้วนแล้วจะอ้วนตลอดไปไหม ? กินมากเกินตั้งแต่แบเบาะ แล้วมีวิธีอะไรที่จะช่วยได้ ) มีงานวิจัยที่พบข้อมูลว่าเด็กอาจติดนิสัย กินมากเกินตั้งแต่ยังแบเบาะ พ่อแม่ที่ไม่อยากให้ลูกอ้วนตั้งแต่เด็กต้องสร้างพฤติกรรมการกินที่ถูกต้องตั้งแต่ยังเป็นทารก ที่นี่มีคำตอบ !!
ถ้าลูกน้อยของเราอ้วนตั้งแต่แบเบาะ กินมากเกินตั้งแต่เล็ก เราจะทำยังไงไม่ให้ ลูกกินเยอะ เกินไป และมีวิธีการจัดการกับลูกน้อยที่กินเยอะเกินไปยังไง เวลาลูกน้อยของเรา กินข้าวได้เยอะ คนเป็นพ่อ แม่ ก็ดีใจ ว่าลูกกินเก่ง กินเยอะ โตไว้ กินเยอะตอนเด็กไปเป็นไร โตขึ้นเดียวตัวก็ยืดไม่เป็นอันตรายหรอก แต่ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนกินข้าวเยอะแล้วจะอ้วน บ้างคนกินเยอะก็ไม่อ้วน แต่เราควรดูแลเรื่องโภชนาการ ให้เหมาะสมกับวัยของลูกน้อย แล้วถ้าลูกของเรา กินข้าวเยอะ มากกว่ารเพื่อนวัยเดียวกัน กินเยอะเกินเด็ก ต้องทำยังไง มาดู
ลูกกินเยอะ อ้วนเกิน
ลูกกินข้าวเยอะ อ้วนไปทำไง ? เวลาลูกน้อยกินได้ พ่อ แม่ เห็นแล้วก็มีความสุข อยากให้ลูกกินได้เยอะๆ กินได้ทุกอย่าง แต่ลืมนึกว่าลูกอาจจะกินมากเกินไปจนเสียสุขภาพ และอาจจะอ้วนเกินไปสำหรับเด็กในเกณฑ์เดียวกัน เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะไปไหนมักจะเห็นเด็กอ้วนเกินเยอะอยู่เสมอ เด็กอ้วนเกินนับว่าเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง แต่จะมีพ่อแม่สักกี่คนที่จะตักเตือน หรือห้ามลูกหลานไม่ให้กินของหวาน หรือไม่ให้กินเยอะเกินไป พ่อแม่บางคนยอมให้ลูกเลือกกินแต่ของชอบโดยไม่ห้ามปราม ผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินส่วนมากเกิดจากนิสัยการกินผิด ๆ ตั้งแต่เด็ก เป็นไปได้ไหมว่านิสัยการกินแย่ ๆ แบบนี้เริ่มตั้งแต่ยังแบเบาะอยู่ ถ้าไม่ดูแล ลูกน้อยของเราอาจจะกินเยอะ จนเป็นนิสัยได้ เวลาลูกน้อยของเรากินเยอะ คนเป็น พ่อ เป็น แม่ ก็ดีใจที่เห็นลูกกินเยอะ แต่หารู้ไม่นั้นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกอ้วนตั้งแต่แบเบาะได้
ถ้าลูกกินเยอะ อ้วนตั้งแต่ 2 ขวบก็ต้องอ้วนตลอดชีวิตใช่ไหม?
คนมักตราหน้าว่าถ้าคุณเป็นเด็กอ้วนตั้งแต่ 2 ขวบ ตอนโตก็ต้องอ้วน นักวิจัยพยายามค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ว่าอะไรทำให้คนบางคนถึงหยุดกินไม่ได้ และพฤติกรรมการกินมากเกิน เริ่มตั้งแต่ยังแบเบาะอยู่หรือเปล่า ลูกน้อย กินเยอะ ลูกน้อยอ้วน ไม่ได้หมายความว่าโตขึ้นแล้วต้องอ้วน ทุกอย่างอยู่ที่การบริโภคของแต่ละกัน แต่อาจจะมีบางสาเหตุที่เกิดขึ้นจากโรคประจำตัว เด็กทุกคนมีวัยที่กินเยอะ หรือเลือกกินของแต่ละกันต่างกันไป ลูกน้อยของเราอาจจะกินเยอะตั้งแต่แบเบาะ แต่พอโตขึ้น ร่างกายก็มีการขยาย เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา หรือ ลูกน้อยของคุณแม่บ้างคนอาจจะไม่กินอะไร หรือเลือกกินตั้งแต่แบเบาะ แต่พอโตขึ้นลูกน้อยของเราก็จะมีพํฒนาการทางด้านการกินที่เปลี่ยนแปลงไป ลูกน้อยบางคนก็เพิ่งจะมาอ้วนตอนโต
นมผงเป็นจำเลยตัวร้ายหรือเปล่า ?
นมผงดัดแปลง หรือที่เรียกกันติดปากว่านมกระป๋อง ตกเป็นจำเลยที่ทำให้เด็กอ้วนแต่เล็ก ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเด็กให้ความเห็นว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมผงมักจะมีพฤติกรรมการกินที่ไม่ดี ผิดกับเด็กที่กินนมแม่ที่เป็นธรรมชาติของร่างกายที่จะบอกให้หยุดกินเมื่ออิ่ม แต่เด็กที่เลี้ยงด้วยนมผงและดูดจากขวดจะเคยชินกับรสหวานและเหมือนเร่งให้เด็กน้อยอยากอาหารที่มีรสชาติมากกว่าแค่นม ทำให้เด็กติดนิสัยติดหวานและกินมากเกินความต้องการและอ้วนง่ายกว่าเด็กที่กินนมแม่ ลูกน้อยบางคนอาจจะอิ่มแต่พ่อ แม่ไม่รู้ก็อาจจะยัดเยียดให้ลูกน้อยให้ได้กินเยอะ ๆ แต่อาจจะเป็นสิ่งที่ผิดก็ได้ ทางที่ดีควรให้เด็กทานนมแม่ให้ได้มากที่สุด ยังไงนมแม่ก็สร้างจากธรรมชาติปลอดภัยสำหรับลูกน้อย แต่ถ้าคุณแม่ไม่มีน้ำนมจริงๆ ก็ต้องอาศัย นมผงกับคู่กับน้ำนมแม่ ไม่ควรให้กินนมผงอย่างเดียวแต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องลองปรึกษาแพทย์ ว่าลูกน้อยของเราแพ้อะไรหรือเปล่า การให้นมผงลูกน้อย ทำให้เด็กได้รับสารอาหารเต็มที่ครบถ้วน ทำให้ลูกน้อยอาจจะกินมากเกินเด็กในวัยเดียวกัน
พ่อแม่สามารถช่วยลูกน้อยที่กินเยอะได้
เราเข้าใจว่าแม่หลายคนมีความจำเป็นต้องให้นมผงลูก คุณช่วยสร้างนิสัยการกินที่ดีให้ลูกได้ แม้ว่าคุณจะให้นมผงก็ตาม เวลาที่ลูกเริ่มผลักขวดนมออกจากปากแสดงว่าเขาอิ่มแล้ว อย่าเสียดายนมที่เหลือแล้วบังคับให้ลูกกินให้หมด นั่นเท่ากับเป็นการสร้างนิสัยกินพอดี ไม่มากเกินทั้ง ๆ ที่อิ่มแล้วให้ลูก อย่ามองข้ามเรื่องเล็กน้อยพวกนี้ที่จะเป็นตัวก่อให้เด็กติดนิสัยกินมากเกินความต้องการ ต้องตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
ไม่ควรให้กินขนมก่อนถึงมื้ออาหาร
เพราะลูกน้อยอาจจะิ่มก่อนถึงมื้ออาหารหลัก และยังจะติดนิสัยให้กินขนมก่อน มื้ออาหาร และทำให้กินอาหารให้ได้น้อยลง และอยากกินขนมมากขึ้น อาจจะเป็น 1 ในสาเหตุที่ทำให้ลูกกินเยอะขึ้น
ไม่เร่ง หรือ ดุ เวลาที่ลูกน้อยกิน
เวลาลูกน้อยงอแง ขอกินนม หรือขนม แทนข้าวพ่อ แม่ ต้องใจแข็งไม่ตามใจลูกมากเกินไปหรือ เมื่อลูกน้อยของเราทานเยอะ ก็ไม่ควรดุ แต่เราควรเปลี่ยนพฤติกรรมการเตรียมอาหารของเรา ให้เขาได้ทานอาหารหลากหลายและครบถ้วนในปริมาณที่ไม่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป หรือไม่ให้เขาทาน จนเขารู้สึกโมโหหิวขึ้นมา อย่าว่าแต่เด็กน้อยเลย แต่ผู้ใหญ่บางคนยังควบคุมตัวเองเวลาหิวมาก ๆ ไม่ได้เลย จนไปพลานกับคนอื่น แต่ลูกน้อยของเรายังเด็กจนยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ จนทำให้เขารู้สึกอยากกินให้มากขึ้น จน ลูกกินเยอะ จนไม่รู้จักพอ
เลี่ยงขนมหวาน น้ำอัดลม
ถึงพอ แม่จะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ลูกจะชอบมากแค่ไหน ก็ต้องหักห้ามใจให้ได้ เพราะนี่เป็นสาเหตุต้น ๆ ที่ทำให้ ลูกกินเยอะ และอ้วนขึ้น และของเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์สำหรับลูกน้อยของเรา แถมยังทำให้อิ่มจนลูกน้อยไม่ยอมกินอาหาร และลูกน้อยอาจจะไม่ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ครบหลักโภชนาการ ได้รับแต่ความหวานและน้ำตาลจนเป็นสาเหตุที่ีทำให้ลูกน้อยกินเยอะ และเลือกที่จะกินขนมหวานมากกว่า อาหารได้ และยังทำให้ลูกน้อยติดเป็นนิสัย กลายเป็นเด็กติดรสหวานได้
คุณจะพบเห็นว่ามีเด็กที่อ้วนเกินมากขึ้นทุกวัน การที่คุณสร้างนิสัยการกินที่ถูกต้องก็เท่ากับว่าคุณช่วยให้ลูกคุณมีสุขภาพกายใจที่แข็งแรงสมวัยเป็นพื้นฐานของอนาคตที่สดใสเมื่อเขาโตขึ้น
ถ้าลูกน้อยอ้วนเกินไป จะทำอย่างไรดี
1. ให้ลูกกินนมแม่
หากไม่อยากให้ลูกอ้วนเกินไป วิธีแรกเลยก็คือ ให้ลูกกินนมแม่ ผลการวิจัยระบุว่าการดื่มนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนในเด็ก นอกจากนี้ผลการศึกษาหลายชิ้นยังพบว่าเด็กที่กินนมแม่นั้น สามารถเรียนรู้การควบคุมความหิวได้ดีกว่าเด็กที่กินนมผง และมีแนวโน้มจะหยุดกินนมเมื่ออิ่มได้มากกว่านั่นเอง
2. สำรวจพฤติกรรม
นอกจากเรื่องของการกินนมของลูกแล้ว เรื่องอื่นที่ควรใส่ใจ นั่นก็คือ คุณแม่มีพฤติกรรมเหล่านี้หรือเปล่า นั่นก็คือ
2.1 รีบให้ลูกกินนมทันทีที่ลูกร้อง แทนที่จะให้ลูกกินนมทันที แนะนำให้ลองเปลี่ยนมาใช้วิธีอื่น ที่จะทำให้ลูกหยุดร้องดูบ้าง เช่น ลูกขึ้นมาปลอบ หาของเล่นให้ หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก
2.2 ให้ลูกกินนมทันทีที่ร้อง
2.3 ให้ลูกนอนหลับโดยที่มีขวดนมคาอยู่ในปาก
2.4 ให้ลูกทานอาหารเสริมก่อนอายุ 4-6 เดือน
2.5 ให้ทานขนมและของทอดบ่อย ๆ (ในกรณีที่เป็นเด็กโต)
3. อย่าให้ลูกดื่มน้ำผลไม้
น้ำผลไม้นั้น ไม่ใช่อาหารที่จำเป็นสำหรับเด็กทารก แนะนำว่าอย่าให้เด็กแรกเกิดจนถึง 6 เดือนดื่มน้ำผลไม้จะดีที่สุด (เว้นเสียแต่คุณหมอจะแนะนำว่าต้องให้ดื่มเพื่อรักษาอาการท้องผูก)
แต่ในกรณีที่ลูกน้อยของคุณมีอายุเกินกว่า 6 เดือนไปแล้ว ถ้าคุณอยากให้ลูกดื่มน้ำผลไม้ ก็ควรจำกัดปริมาณแต่พอดี อย่าให้ลูกดื่มน้ำผลไม้เกิน 118 มิลลิลิตร หรือ 4 ออนซ์ต่อวันนะครับ
4. อย่าให้ลูกอดอาหาร
คุณแม่หลายคนอาจจะคิดว่า เมื่อเห็นลูกจ้ำม่ำเกินไป หรือตัวอ้วนเกินไป ก็แค่ไม่ให้นมลูก หรือให้ลูกกินนมน้อย ๆ ซึ่งนั่นอาจเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องเท่าไหร่นัก
ถ้าลูกน้อยอ้วนเกินไป แนะนำว่าพยายามอย่าควบคุม หรือจำกัดอาหารลูก บ่อยครั้งของพ่อแม่ที่มีลูกอ้วน มักพยายามจำกัดการกินของลูก หรือพ่อแม่หลายคนที่ลูกไม่ได้อ้วนมากอะไร แค่จ้ำม่ำตามวัย กลับมีความกังวลมากจนเกินไป และมักจะคอยจำกัดการกินของลูก เพราะกลัวลูกอ้วนในอนาคต แต่จริง ๆ แล้ว คุณควรปล่อยให้ลูกทาน หรือดื่มนมจนกว่าจะอิ่มไปเองมากกว่า
บางครั้งการที่คุณแม่ไปขัดขวางการกินของลูก ก็อาจทำให้เขาไม่พอใจ และหงุดหงิดได้ ถ้าเด็กไม่อิ่มก็จะยิ่งหงุดหงิด แล้วอาจอยากกินอะไรมากขึ้นกว่าปกติอีก เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งกังวลเรื่องความอ้วนจนเกินไป เน้นไปที่การให้ลูกทานจนอิ่มก่อนดีกว่า
บทความที่เกี่ยวข้อง
สาเหตุโรคอ้วนในเด็ก: กินให้หมดจาน!