อากาศร้อน ๆ ในประเทศไทยแบบนี้ จะไม่ให้ดับร้อนด้วยการ ดื่มน้ำเย็น ได้ยังไง แต่ก็มีหลายคนบอกเอาไว้ว่า การดื่มน้ำเย็น ไม่ดีต่อสุขภาพ ต้องดื่มน้ำธรรมดาเท่านั้น จริงหรือ? ที่การดื่มน้ำเย็น เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เรา ๆ ทั้งหลายควรเลี่ยง และหันไปดื่มน้ำอุณหภูมิปกติแทน? วันนี้เราจะไปหาคำตอบกัน
ดื่มน้ำเย็น อันตรายหรือไม่ ?
การดื่มน้ำ ที่เย็นจัด ๆ ในเวลาอันรวดเร็ว จะทำให้สมองเกิดอาการเย็นจี๊ด หรือที่เรียกว่า Brain Freeze จนอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ ไปชั่วขณะนึงได้ ซึ่งอาการนี้ มักจะเกิดกับคนที่มีอาการไมเกรน ได้ง่ายกว่า โดยจะเป็นกระบวนการของสมอง ที่สั่งการให้ส่งเลือดมาไหลเวียนที่หลอดเลือด บริเวณที่เย็นจัดอย่างเฉียบพลัน เพื่อทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นอุ่นขึ้น
นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ขยายหลอดเลือดให้ใหญ่ขึ้น จนไปกระตุ้นประสาทส่วนที่รับรู้ถึงความเจ็บปวดไปด้วย จึงเกิดเป็นอาการปวดศีรษะในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ นั่นเอง แต่อาการเหล่านี้ จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น และไม่มีผลต่อระยะยาว
แต่อันตรายในระยะยาว จากการดื่มน้ำเย็นจัด จะทำให้ไตทำงานหนัก เพราะต้องทำหน้าที่กำจัดความเย็นออกจากร่างกายโดยเร็ว โดยการขับน้ำเย็นออกมาเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ
นอกจากไตจะทำงานหนักขึ้นแล้ว จะทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น ทำให้เลือดข้นหนืด เคลื่อนตัวได้ช้าลง และลำบากมากขึ้น ทำให้มีคราบไขมัน และของเสียในเลือดไปเกาะตามผนังหลอดเลือด และอาจสะสม ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดตีบ ขนกลายเป็นสาเหตุของอาการผิดปกติอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น และอั้นปัสสาวะได้ไม่นาน
- ปวดหลัง ปวดเอวบ่อย ๆ
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยเฉพาะข้อต่าง ๆ เช่น เข่า ศอก นิ้วมือ ต้นขอ
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ ย่อยอาหารได้ช้า เพราะไขมันในอาหารจะจับตัวเป็นไข การทำงานของกระเพาะอาหารทำงานหนักขึ้น และใช้เวลาย่อยนานขึ้น
- มีอาการหลอดเลือดตีย และ หลอดเลือดแข็ง จนกลายเป็นสาเหตุของโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต และเส้นเลือดในสมองตีบ
ดื่มน้ำเย็น กับ ดื่มน้ำอุ่น ต่างกันยังไง ?
การดื่มน้ำเย็น
- ทำให้ย่อยอาหารได้ยาก
เมื่อดื่มน้ำเย็น เส้นเลือดจะเกิดอาการหดตัว ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น โดยเฉพาะการดื่มน้ำเย็นหลังมื้ออาหาร อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง และท้องผูกได้
อ่านเพิ่มเติม >> กินอะไรแก้ท้องผูก คนท้องไม่อยากท้องผูกบ่อยๆ ต้องกินผลไม้อะไรบ้าง
2. มีผลต่อการทำงานของสมอง
การดื่มน้ำเย็นจัด ในช่วงที่ร่างกายไม่ได้รู้สึกกระหายน้ำ จะทำให้ความสามารถในการทำงานของสมองลดลง และทำให้ร่างกาย ใช้พลังงานมากขึ้น เพื่อทำให้น้ำเย็นที่ดื่มเข้าไป กลายเป็นน้ำอุณภูมิร่างกาย
3. สร้างเมือกในร่างกาย
การดื่มน้ำเย็น ทำให้เกิดเมือกในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลง และอาจนำไปสู่สภาวการณ์ที่ไม่พึงประสงค์มากมาย เช่น น้ำมูกไหล หรือ อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง
การดื่มน้ำอุ่น
- ช่วยล้างพิษในร่างกาย
การดื่มน้ำอุ่นในตอนเช้า จะช่วยล้างสารพิษออกจากร่างกาย ที่อาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ให้หยดน้ำมะนาวลงไป เพราะวิตามินซี จะช่วยฟื้นฟูเซลล์ และขับสารพิษในร่างกายได้นั่นเอง
2. ช่วยลดอาการปวด
น้ำอุ่น สามารถช่วยลดอาการปวดประจำเดือน และอาการปวดหัว ให้ดีขึ้นได้ เพราะน้ำอุ่นจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด หรือหากเป็นตะคริว ควรดื่มน้ำอุ่น เพราะจะช่วยให้กล้ามเนื้อ ที่ถูกบีบรัด เกิดการผ่อนคลายได้
อ่านเพิ่มเติม >> ห้ามพลาด ! 10 อาหารช่วยลดอาการปวดประจำเดือน
3. ช่วยลดระดับความเครียด
แม้ว่าจะดูเป็นไปไม่ได้ แต่เชื่อหรือไม่ ว่าการดื่มน้ำอุ่น จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และไม่เครียดได้ เพราะการดื่มน้ำอุ่นเมื่อรู้สึกเครียด จะช่วยให้ระบบประสาทส่วนกลาง ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ช่วยลดน้ำหนัก
สำหรับใครที่กำลังลดน้ำหนัก หรือมีแผนที่จะลดน้ำหนัก ควรดื่มน้ำอุ่น เพราะจะช่วยให้การลดน้ำหนักได้ผลดีกว่า น้ำอุ่นจะช่วยเพิ่มอุณหภูมิบริเวณกลางลำตัวให้สูงขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญ ทำให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่ได้ดี และช่วยลดไขมันในร่างกายได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม >> ดื่มน้ำลดน้ำหนัก ดื่มน้ำยังไงให้น้ำหนักลด? แค่ดื่มให้ถูกวิธีก็มีหุ่นสวยได้
เข้าใจว่า อากาศประเทศไทย มันร้อน ร้อนมาก ๆ ร้อนเกินจะบรรยาย ร่างกายของเรา ก็ต้องการดื่มน้ำเย็น ๆ สดชื่น ๆ เป็นธรรมดา แต่จากที่เห็นแล้วว่า การดื่มน้ำอุ่น จะได้รับประโยชน์มากกว่าน้ำเย็น ในหลาย ๆ ด้าน อย่างไรก็ตาม การเลือกดื่มน้ำเย็น น้ำอุ่น ไม่ได้สำคัญไปกว่าการดื่มน้ำ ให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยสาว ๆ อย่างเรา หากดื่มน้ำให้เพียงพอ นอกจากจะได้เรื่องผิวสุขภาพดีแล้ว ยังช่วยลดน้ำหนักได้อีกด้วยนะ
ที่มาข้อมูล : mthai , 2
บทความที่เกี่ยวข้อง :
น้ำ มีประโยชน์อย่างไร? สรรพคุณของน้ำ กินน้ำแล้วดีอย่างไร?
ดื่มน้ำยังไงให้มีน้ำนม เรื่องที่แม่หลังคลอดควรรู้!
คนท้อง ควรดื่มน้ําวันละกี่ลิตร กินน้ําเย็นดีไหม กินน้ำมากเป็นไรไหม