การได้เป็น “คุณแม่” เป็นหนึ่งในความฝันของคุณผู้หญิงหลายคน และเมื่อได้เป็นคุณแม่สมใจ ก็มักจะให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่ด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เปลี่ยนแปลง มดลูกขยายใหญ่ขึ้นตามอายุครรภ์จนไปกดทับลำไส้ รวมถึงการรับประทานวิตามินหรือแร่ธาตุบางชนิด ล้วนส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการท้องผูกทั้งสิ้น
โปรไบโอติกส์ คือ ตัวช่วยที่คุณแม่ตั้งครรภ์มักจะเลือกรับประทาน เพื่อแก้อาการท้องผูก เนื่องจากเคยรับประทานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หาซื้อได้ง่าย มีหลายรูปแบบให้เลือก และผู้จัดจำหน่ายมักจะเลือกนำเสนอเฉพาะประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกส์เพียงด้านเดียว ทั้ง ๆ ที่โปรไบโอติกส์ก็ไม่ต่างจากผลิตภัณฑ์ทั่วไป ที่มีทั้งประโยชน์และโทษ นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงที่อาจจะส่งผลร้ายแรงถึงขั้นทำให้คุณแม่สูญเสียลูกน้อยในครรภ์ได้
โปรไบโอติกส์ ดีจริงหรือ?
แม้โปรไบโอติกส์จะเป็นจุลินทรีย์ดีที่พบได้ในบริเวณลำไส้ของร่างกายคนเรา แต่หากรับประทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม รับประทานโปรไบโอติกส์สายพันธุ์ที่มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงสูง หรือรับประทานผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกส์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ไม่ผ่านการรับรองทางการแพทย์ ก็อาจจะเป็นโทษต่อคุณแม่ได้เช่นกัน ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาแพทย์และนักวิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าจนพบว่า โปรไบโอติกส์มีผลข้างเคียงต่อผู้ที่รับประทานได้เช่นกัน ซึ่งผลข้างเคียงจากการรับประทานโปรไบโอติกส์ในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อย มีดังนี้
- อาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนใหญ่จะมีก๊าซในกระเพาะ จนทำให้แน่นท้อง ท้องอืด ท้องผูก แต่ในบางรายกลับพบว่ามีอาการปวดบิด และท้องเสีย ดังนั้นคุณแม่ที่ตั้งใจว่าจะรับประทานโปรไบโอติกส์เพื่อแก้ปัญหาท้องผูก ก็อาจจะทำให้อาการท้องผูกของคุณแม่แย่ลงได้ ส่วนผู้ที่มีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง มีโอกาสช็อกจากภาวะขาดน้ำได้ คุณแม่บางรายที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) บางรายมีภาวะจุลินทรีย์เกินในลำไส้เล็ก (SIBO) มักจะมีอาการท้องเสียสลับกับอาการท้องผูกเรื้อรัง หากคุณแม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ก็มักจะส่งผลเสียกับลูกในครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก และคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ด้วยวิธี IUI, IVF, ICSI เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นของการฝังตัวของตัวอ่อน
- อาการปวดหัวรุนแรง อาหารที่มีโปรไบโอติกส์สูง เช่น โยเกิร์ต กิมจิ ชาหมัก มักจะมีสารเอมีนที่ทำหน้าที่เพิ่มหรือลดการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย หากรับประทานมากเกินไป โดยเฉพาะคุณแม่ที่เป็นค่อนข้างไวต่อสารเอมีนหรือเป็นโรคไมเกรน ในรายที่มีอาการรุนแรงแพทย์อาจจะต้องพิจารณาให้รับประทานยารักษา แม้จะมีแพทย์ดูแลการรับประทานยา แต่ก็มีโอกาสที่ลูกในครรภ์จะได้รับผลกระทบจากยารักษาได้เช่นกัน
- เกิดภาวะดื้อยาปฏิชีวนะ ไม่นานมานี้เราพบว่า ไวรัสโควิด-19 มีการกลายพันธุ์ เพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสภาวะที่แตกต่างจากที่พบครั้งแรก โปรไบโอติกส์ในร่างกายเราก็เช่นกัน แม้จะเป็นจุลินทรีย์ดี แต่หากร่างกายได้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อจะต่อต้านจุลินทรีย์ไม่ดี โปรไบโอติกส์ก็จะตายไปด้วย เพราะเหตุนี้โปรไบโอติกส์บางสายพันธุ์จึงมีการพัฒนาตัวเองจนสามารถส่งต่อยีนส์ที่ทำให้ดื้อยาปฏิชีวนะขึ้นมา ที่สำคัญคือ ยีนส์ดื้อยาปฏิชีวนะนี้ สามารถส่งต่อไปยังจุลินทรีย์สายพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อหรือโรคต่าง ๆ ในร่างกายได้อีกด้วย
- ระดับฮีสตามีนเพิ่มขึ้น โปรไบโอติกส์บางสายพันธุ์สามารถเพิ่มระดับฮีสตามีน ซึ่งเป็นสารกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการอักเสบและอาการแพ้ในร่างกายของเราได้ ดังนั้นคุณแม่ที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือมีอาการแพ้โปรไบโอติกส์อยู่เดิมจะมีอาการแพ้รุนแรงขึ้น และเป็นอันตรายต่อคุณแม่และลูกในครรภ์อย่างยิ่ง
- อาการแพ้รุนแรงขึ้น โปรไบโอติกส์มักพบในอาหารและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนม หรือมีส่วนผสมของกลูเตน คนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของนมได้ เพราะในนมมีแลกโทส และคนไทยส่วนมากมีภาวะการย่อยแลกโทสบกพร่อง อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นแดง คุณแม่บางรายมีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ร่างกายอาจเกิดภาวะขาดน้ำ ทำให้เกิดอาการช็อก หมดสติ ในรายที่มีอาการแพ้รุนแรง อาจนำไปสู่การเสียชีวิตของคุณแม่หรือลูกในครรภ์ได้ในที่สุด
จะทราบได้อย่างไรว่าคุณแม่แพ้โปรไบโอติกส์?
สำหรับคุณแม่ที่มีอาการแพ้นมหรือแพ้กลูเตน ไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีนมเป็นส่วนผสมได้ ก็อาจจะต้องเลี่ยงการรับประทานโยเกิร์ต นมเปรียว ชีส แล้วเลือกทานอาหารประเภทอื่นที่มีโปรไบโอติกส์สูง เช่น กิมจิ มิโซะ แตงกวาดอง แทน ส่วนคุณแม่ที่โดยปกติไม่มีอาการแพ้นมหรือแพ้อาหารหมักดอง อาจจะต้องสังเกตตัวเองสักนิด เพราะในช่วงตั้งครรภ์ภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณแม่อ่อนแอลง จึงทำให้คุณแม่หลายท่านมีอาการแพ้อาหารขณะตั้งครรภ์ได้ แม้จะไม่เคยแพ้อาหารชนิดนั้นมาก่อน ดังนั้นเมื่อรับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกส์สูง แล้วมีอาการท้องเสีย ท้องผูก ผิวหนังมีผื่นลมพิษ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ก็เป็นได้ว่าคุณแม่มีอาการแพ้โปรไบโอติกส์ ควรไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อรับการรักษาและดูแลครรภ์อย่างใกล้ชิด
โปรไบโอติกส์ อาจจะดีต่อสุขภาพ แต่อาจจะไม่ดีสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงและไม่มีประวัติแพ้โปรไบโอติกส์ เมื่อรับประทานโปรไบโอติกส์ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมกับร่างกายอาจจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่หลังคลอด เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางโรค เป็นกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอกว่าปกติ หากจะรับประทานโปรไบโอติกส์ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม อาจจะได้รับผลข้างเคียงจากโปรไบโอติกส์ดังที่กล่าวมาในหัวข้อข้างต้นได้ คุณแม่ตั้งครรภ์จึงเป็นกลุ่มที่มีโอกาสได้รับผลข้างเคียงจากโปรไบโอติกส์มากที่สุด เพราะไม่เพียงส่งผลต่อตัวเอง แต่ยังส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์ด้วย ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์หรือกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ หรือปรึกษาแพทย์ก่อนเลือกรับประทานโปรไบโอติกส์เสริม
โปรไบโอติกส์ แบบไหนที่ปลอดภัยกับแม่ท้อง
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการท้องผูกและอยากรับประทานโปรไบโอติกส์เพื่อให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น อาจจะลองปรับพฤติกรรมที่จะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างปกติ เช่น
- สร้างสุขนิสัยการขับถ่ายให้เป็นปกติ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรังระหว่างตั้งครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์ ด้วยการฝึกขับถ่ายทุกวันเวลาเดิม ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีกากใย ออกกำลังกายเบา ๆ
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจจะทำให้ได้รับเชื้อโรคหรือติดโรคติดต่อ เช่น สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่นอกบ้าน หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ล้างมือบ่อย ๆ เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปรไบโอติกส์ แต่เสี่ยงที่จะเกิดการแพ้ในคุณแม่ตั้งครรภ์และควรเลี่ยงอาหารที่มีสารเอมีน เช่น นมวัว โยเกิร์ต ของหมักดองบางชนิด
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ มีความเครียด ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
แต่ถ้าไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือมีข้อจำกัดทางสุขภาพ คุณแม่ควรพิจารณาการรับประทาน โพสไบโอติกส์ แทนโปรไบโอติกส์ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของโปรไบโอติกส์
โพสไบโอติกส์ ทางเลือกใหม่ที่ปลอดภัยกว่าโปรไบโอติกส์
คุณแม่ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับโปรไบโอติกส์กันอยู่แล้ว ส่วนโพสไบโอติกส์ (Postbiotics) นั้น เริ่มได้รับความนิยมในหมู่คุณแม่ตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ โพสไบโอติกส์ เป็นสารที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหมักของจุลินทรีย์ดี ซึ่งเป็นกระบวนการทางธรรมชาติ 100% โพสไบโอติกส์พบได้ในผนังลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่บีบรูดกากอาหารให้ออกไปทางทวารหนัก จึงช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคผ่านเข้าไปในผนังลำไส้ ช่วยรักษาความสมดุลของจุลินทรีย์ และส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ดีในลำไส้ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญคือ โพสไบโอติกส์ไม่มีจุลินทรีย์เป็นส่วนผสม แต่เป็นการเข้าไปกระตุ้นการทำงานของจุลินทรีย์ดี จึงไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์เหมือนโปรไบโอติกส์ ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ที่อยู่ในกระบวนการทำ IUI, IVF, ICSI คุณแม่หลังคลอด เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จึงสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย
โพสไบโอติกส์ที่คุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานได้อย่างปลอดภัย
หากเลือกที่จะเสริมโพสไบโอติกส์ คุณแม่จำเป็นต้องพิจารณาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์โพสไบโอติกส์ที่สนใจอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้คุณแม่และลูกในครรภ์ได้รับประโยชน์จากการรับประทานโพส ไบโอติกสูงสุด ซึ่งคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์โพสไบโอติกส์ที่เหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- ต้องเป็นผลิตภัณฑ์โพสไบโอติกส์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ
- มีการศึกษาวิจัยในคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกช่วงอายุครรภ์ โดยสถาบัน หน่วยงาน องค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ
- ไม่มีผลข้างเคียงหรือทำให้เกิดการแพ้ที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อคุณแม่และลูกในครรภ์
- ควรเลือกผลิตภัณฑ์โพสไบโอติกส์จากผู้ผลิตที่มีความเชี่ยวชาญ ผ่านการรับรองอย่างถูกต้องจาก อย. หรือนำเข้าจากต่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฏหมาย
- รับประทานได้ง่าย สามารถซื้อผลิตภัณฑ์ได้หลายช่องทาง และสามารถติดต่อผู้จัดจำหน่ายได้ทั้งก่อนและหลังซื้อผลิตภัณฑ์โพสไบโอติกส์
สูตินรีแพทย์ในประเทศญี่ปุ่นจ่าย LACTIS ให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์รับประทาน เพื่อบรรเทาอาการท้องผูก ตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์กับทางโรงพยาบาล ด้วยคุณสมบัติอันโดดเด่นของ LACTIS 3 ประการ คือ
LACTIS ปลอดภัยที่สุด เพราะ LACTIS เป็น โพสไบโอติก ให้กับคุณแม่ที่มาฝากครรภ์ เพื่อป้องกัน บรรเทาปัญหาท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจาก LACTIS เป็น โพสไบโอติก จึงไม่เสี่ยงต่อผลข้างเคียงอย่างโปรไบโอติก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้หรือท้องเสียตามมา
LACTIS มั่นใจได้มากที่สุด นอกจากสูตินรีแพทย์ในประเทศญี่ปุ่นจ่าย LACTIS ให้กับคุณแม่ ตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์กับทางโรงพยาบาลแล้ว LACTIS ได้ทำการวิจัยกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ใน ค.ศ. 2011 และสมาคมคนท้องในประเทศญี่ปุ่น (Japan Society of Maternal Health Journal Volume 52, Edition 3, 2011, P.135) ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และการันตีผลลัพธ์ รวมถึงแนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานอีกด้วย
LACTIS ได้ผลลัพธ์มากที่สุด จากงานวิจัยข้างต้น หลังจากให้คุณแม่ตั้งครรภ์หรือผู้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่ายรับประทาน LACTIS อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 14 วัน ก็จะได้รับผลลัพธ์ที่ชัดเจนภายใน 30 วัน เมื่อหายขาดจากอาการท้องผูกก็ไม่จำเป็นต้องรับประทาน LACTIS ต่อเนื่อง และด้วยคุณสมบัติเหล่านี้นี่เองที่ทำให้คุณแม่ไว้วางใจใน จุลินทรีย์ดี มามากว่า 30 ปี หากคุณแม่ท่านใดสนใจสามารถขอรับคำแนะนำ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ จุลินทรีย์ดี ได้ที่นี่
แต่หากคุณแม่รับประทาน LACTIS แล้ว อาการท้องผูกยังไม่บรรเทาหรือมีแนวโน้มจะรุนแรง มากขึ้น คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดกับคุณแม่และลูกในครรภ์
บทความที่เกี่ยวข้อง:
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!