งานวิจัยที่ลงใน Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism บอกว่าการคุมกำเนิดด้วยการฉีด ยาคุม ให้กับผู้ชายสามารถคุมกำเนิดได้ถึง 96% จากการทำวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ชายจำนวน 270 คน โดยยาคุมแบบฉีดของผู้ชาย จะเข้าไปลดจำนวนอสุจิลงจากเดิมที่มี 15 ล้านตัวต่อปริมาณมิลลิลิตร ให้เหลือน้อยกว่า 1 ล้านต่อตัวมิลลิลิตร
ฮอร์โมนลดลง มีผลต่ออะไรบ้าง
จากการเก็บข้อมูลพบว่าการคุมกำเนิดโดยวิธีนี้จะทำให้ผู้ชายเกิดภาวะที่เรียกว่า อารมณ์แปรปรวน และมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการปวดกล้ามเนื้อตามบริเวณต่างๆ และมีสิวขึ้นด้วย อ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน ที่ต้องล้มเลิกและขอออกจากงานวิจัยชิ้นนี้
แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 75% ในงานวิจัยนั้นมีความตั้งใจว่าจะคุมกำเนิดด้วยวิธีฉีด ยาคุม แบบนี้ซ้ำแน่นอน แสดงให้เห็นว่าแม้จะมีผลกระทบใดๆ เกิดขึ้นบ้าง แต่ก็ยังมีผู้ชายจำนวนหนึ่งยอมรับมันได้นั่นเองค่ะ
อนาคตสดใส
แม้การคุมกำเนิดวิธีนี้จะยังไม่ได้ใช้คุมกำเนิดแก่คนทั่วไป เนื่องจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ตอนนี้ทีมวิจัยจึงอยากจะพัฒนาให้มีผลข้างเคียงที่น้อยที่สุดก่อนการฉีดให้คนทั่วไปนั่นเองค่ะ
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ชาวไทยที่ต้องการจะคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ อาจจะต้องรอไปอีกพักนึงก่อนค่ะ ไม่งั้นคุณแม่อาจจะเจอช่วงเวลาที่คุณพ่อมีความอาร์ตตัวพ่อก็เป็นได้นะคะ
วิธีการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด
ยาฉีดคุมกำเนิดที่มีในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
|
- ยามีฮอร์โมนชนิดเดียว เป็น ฮอร์โมน Progestin อย่างเดียว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
- ยา Medroxy progesterone ที่นิยมใช้มากที่สุด คือ Depo medroxy progeste rone acetate หรือคำย่อที่รู้จักกันดี คือ DMPA ขนาด 150 มิลลิกรัม จะฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 3 เดือน
- ยา Norethisterone enanthate ขนาด 200 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทุก 2 เดือน
- ยามีฮอร์โมนรวม คือ มีทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เละ โปรเจสตินประกอบด้วยยา Estradiol cypionate 5 มิลลิกรัม และ Medroxyprogesterone acetate 25 มิลลิกรัม เป็นยาที่ผลิตขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อด้อยของยาฉีดที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 1 เดือน ซึ่งยากลุ่มนี้ทำให้มีประจำเดือนมาทุกเดือน
|
จะต้องเริ่มฉีดยาภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือนเหมือนยาคุมกำเนิดชนิดอื่นๆ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด เมื่อครบกำหนดฉีดยาแล้วแต่ประจำเดือนยังไม่มา ก็ต้องไปฉีดยาตรงตามที่แพทย์กำหนด ห้ามรอจนกว่าจะมีประจำเดือนมาแล้วค่อยไปฉีดยา เพราะอาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัว แพทย์หรือพยาบาลจะฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อที่ต้นแขน หรือ สะโพก หลังฉีดอาจมีอาการปวดตึงๆในบริเวณที่ฉีดยา ประมาณ 1 วัน แล้วจะหายไป ที่สำคัญ คือ หลังฉีดยาอย่าไปคลึงบริเวณที่ฉีดยาเพราะจะทำให้ยาถูกดูดซึมเร็วเกินไป ทำให้ระดับยาเหลือไม่สูงพอที่จะป้อง กันการตั้งครรภ์จนครบ 3 เดือนได้
ผลข้างเคียงของยาคุมชนิดฉีด
ผลข้างเคียงของยาฉีดคุมกำเนิดยามีฮอร์โมนชนิดเดียว ในกลุ่ม DMPA และ NET-EN หรือ Noriste rat คือ
- มีเลือดออกกะปริดกะปรอยจากโพรงมดลูก
- ไม่มีประจำเดือน หรือขาดประจำเดือน
- น้ำหนักตัวเพิ่ม
- ภาวะกระดูกบาง เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสตินจะไปยับยังการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่ ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง มีผลทำให้มวลกระดูกลดลง ความหนาแน่นกระดูกลดลง (Bone mineral density) แต่พบว่าเป็นแบบชั่วคราว เมื่อหยุดฉีดยาคุม ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะกลับคืนมาเป็นปกติ
- มึนงง วิงเวียนศีรษะ
- อารมณ์เปลี่ยนแปลง
ผลข้างเคียงของยาฉีดคุมกำเนิดในกลุ่มยาฮอร์โมนรวม คือ
- น้ำหนักตัวเพิ่ม
- เป็นฝ้า
- เต้านมคัดตึง
ข้อบ่งชี้ในการฉีดยาคุมกำเนิด
- ผู้ที่มีาการปวดประจำเดือนเป็นประจำ
- ต้องการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว
- ไม่ต้องการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดทุกๆวัน หรือลืมรับประทานยาเม็ดบ่อยๆ
- สตรีหลังคลอดที่กำลังให้นมบุตรต้องใช้ชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (ใช้ DMPA หรือ NET-EN หรือ Noristerat)
- สตรีที่สูบหรี่
ข้อด้อย
- ไม่สามารถใช้ไดในผู้ที่มีโรคตับ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็งเต้านม ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคถุงน้ำดี โรคลมชัก
- ประจำเดือนจะมากะปริดกะปอย บางรายมานาน
- ขนดก
- ความต้องการทางเพศลดลง
- น้ำหนักเพิ่ม
- เป็นสิว
- ไมสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- หากเกิดอาการข้างเคียงของยาต้องรอจนยาคุมหมดฤทธิ์อาการจึงจะหาย
ข้อควรระวังในการฉีดยาคุมกำเนิด
ระหว่างฉีดยาคุมกำเนิดจะเกิดอะไรบ้าง
- อาจจะมีประจำเดือนกะปริดกะปรอยซึ่งอาจจะเกิดในระยะ1-2สัปดาห์แรกของการฉีดยาคุม แต่หากเลือดออกมากหรือออกนานให้ปรึกษาแพทย์
- ขาดประจำเดือนซึ่งเป็นภาวะปกติสำหรับผู้ที่ฉีดยาคุมฮอร์โมนเดี่ยว
- หลังหยุดยาฉีดคุมกำเนิดจะมีโอกาศตั้งครรภ์ในปีแรกร้อยละ70
- หลังอายุ 45 ควรจะเปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิด
ข้อดีของการฉีดยาคุมนอกเหนือจากการคุมกำเนิด
ที่มา BCC
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
10 อาการกวนใจจากยาคุมกำเนิด
ยังไม่พร้อมมีลูกคนต่อไป!!สารพัดวิธีคุมกำเนิดช่วยคุณได้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!