X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีจัดการเมื่อลูกอิจฉาน้องที่เพิ่งเกิดใหม่

บทความ 3 นาที
วิธีจัดการเมื่อลูกอิจฉาน้องที่เพิ่งเกิดใหม่

เรื่องลูกอิจฉาน้องนั้นเป็นกันทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่านับเป็นเรื่องปกติสำหรับลูกคนแรกที่จะทำตัวแย่และแสดงอาการอิจฉาตาร้อนขึ้นมาเมื่อมีน้องเพิ่งคลอด

วิธีจัดการเมื่อลูกอิจฉาน้อง

อาการอิจฉาตาร้อนของลูกคนพี่อาจจะแสดงออกมาได้หลายวิธี เช่น พฤติกรรมถดถอย ความกังวลต่อการพลัดพราก ร้องอาละวาด พฤติกรรมติดพ่อติดแม่ การถอยห่าง และแม้กระทั่งความรุนแรงต่อน้องที่เป็นทารก คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมใจกับปฏิกิริยาเหล่านี้ตั้งแต่ที่คุณเริ่มตั้งครรภ์ลูกคนที่สองและดำเนินการต่อไปนี้เพื่อรับมือ

1) เตรียมลูกคนแรกให้พร้อมรับทารกที่จะเกิดมา

วิธีที่ดีที่สุดที่จะหยุดพี่ไม่ให้อิจฉาน้องคือต้องเตรียมพี่ให้พร้อมตั้งแต่คุณยังตั้งครรภ์น้องอยู่ ให้ลูกได้เห็นได้เจอเด็กทารกเมื่อคุณออกไปข้างนอก หากคุณมีเพื่อนที่มีลูกในวัยทารก นัดวันเยี่ยมกันให้เรียบร้อย เพื่อให้ลูกคนที่จะได้เป็นพี่ได้ใช้เวลากับเด็กทารก

2) พูดคุยถึงข้อดีของการมีน้องชายหรือน้องสาว

บอกลูกว่า ลูกทั้งสองจะได้เล่นด้วยกันได้เมื่อน้องที่เป็นทารกโตขึ้นและบอกลูกว่าลูกจะมีพี่น้องเป็นเพื่อนกันไปตลอดชีวิต

3) พาลูกคนแรกไปซื้อของให้น้องด้วย

ให้ลูกมีส่วนร่วมเลือกเสื้อผ้าและของเล่นทารก ลูกสาวตัวน้อยของฉันเลือกตุ๊กตาหมี ตั้งชื่อและให้ตุ๊กตาหมีนี้กับน้องชายเป็นของขวัญเมื่อเธอไปเยี่ยมน้องชายที่โรงพยาบาล ทุกวันนี้เธอยังคงตื่นเต้นกับการที่ได้ซื้อของขวัญชิ้นนี้และยังจ้อเรื่องนี้ไม่หยุดเลยค่ะ

4) ลองคิดดูว่าทารกเป็นผู้นำของขวัญมาให้พี่ของตัวเอง

เพื่อนคนหนึ่งของฉันแนะนำความคิดนี้ให้และเป็นวิธีการที่ได้ผลจริง ๆ การทำเช่นนี้ออกแนวเหมือนติดสินบนพี่ให้รักน้อง แต่ก็ได้ผลล่ะน่า ดังนั้นน้องทารกที่ลืมตาดูโลกนี้มาพร้อมของขวัญก็เหมือนได้แต้มทำให้พี่รักขึ้นมาทันตาเห็น

5) พยายามอย่าละส่วนที่ไม่ค่อยจะดีนักเกี่ยวกับการมีน้อง

หากลูกคุณโตมากเพียงพอที่จะเข้าใจ อธิบายให้ลูกรู้ว่าการที่ลูกกำลังจะมีน้องก็เหมือนกับตอนที่ลูกกำลังจะเกิดมา คุณก็อธิบายให้ลูกรู้ด้วยว่าน้องของลูกก็จะโตขึ้นมาเช่นกันเมื่อเวลาผ่านไป

ทำให้พี่ไม่อิจฉาน้องอีก 5 ข้อ หน้าถัดไป >>>

ลูกอิจฉาน้อง ทำอย่างไรดี

6) เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว พยายามให้คนพี่มีส่วนร่วมให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้

ลูกคนแรกจะรู้สึกว่าตนเองเป็นที่ต้องการและมีคุณค่า ให้ลูกได้ช่วยระหว่างอาบน้ำ ให้ลูกช่วยไปหยิบผ้าอ้อมเมื่อได้เวลาเปลี่ยนผ้าอ้อม และอื่น ๆ ลูกสาวของฉันชอบช่วยหยิบเสื้อผ้าให้น้องชายหลังจากอาบน้ำมากเลยค่ะ

7) สอนลูกคนพี่เรียนรู้วิธีการอุ้มน้องให้ถูกต้อง

แต่บอกลูกว่าลูกจะอุ้มน้องได้ก็ต่อเมื่ออยู่ต่อหน้าพ่อแม่เท่านั้น การทำเช่นนี้จะช่วยให้พี่น้องผูกพันกันมากขึ้น แต่คุณต้องแน่ใจว่าต้องมีผู้ใหญ่อยู่เสมอ

8) ชมลูกคนพี่มาก ๆ เมื่อเขาได้ช่วยเหลือน้อง

ใช้การชมและการส่งเสริมเชิงบวกเมื่อลูกคนพี่เสนอตัวช่วยเหลือคุณเรื่องน้องหรือมีความอดทนเมื่อคุณต้องดูแลน้อง

9) พยายามใช้เวลาดี ๆ กับลูกคนโต (ระหว่างที่ลูกคนเล็กหลับ)

วางแผนทำอะไรที่ลูกชอบ จะงานศิลปะ งานฝืมือก็ได้ (หากคุณออกจากบ้านไม่ได้) หรือพาลูกไปเล่นที่สนามเด็กเล่นซึ่งจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคุณในการออกกำลังกายเบา ๆ หลังจากคลอดลูกอีกด้วย

10) ส่งเสริมให้ลูกคนพี่พูดความรู้สึกของตัวเอง

หากมีอะไรกวนใจลูก การให้ลูกได้พูดออกมาจะเป็นการให้โอกาสคุณได้อธิบายกับลูก การทำเช่นนี้ยังช่วยได้ในระยะยาวอีกด้วยในขณะที่คุณสร้างความสัมพันธ์เปิดอกกับลูก ทำให้คุณสามารถพูดจาอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับอะไรก็ได้กับลูก

บทความจากพันธมิตร
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ
เปิดใจนักแสดงไทย คุณอุ้ย สุธิตา ทำไมถึงเลือกใช้บริการ German Kitchen Design
เปิดใจนักแสดงไทย คุณอุ้ย สุธิตา ทำไมถึงเลือกใช้บริการ German Kitchen Design
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • วิธีจัดการเมื่อลูกอิจฉาน้องที่เพิ่งเกิดใหม่
แชร์ :
  • ป้องกันไม่ให้ พี่อิจฉาน้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้อง

    ป้องกันไม่ให้ พี่อิจฉาน้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้อง

  • วิธีแก้ปัญหาพี่อิจฉาน้อง เทคนิคการเลี้ยงลูก 2 คนขึ้นไป วิธีทำให้พี่น้องรักกัน การป้องกันพี่อิจฉาน้อง ทำได้อย่างไร

    วิธีแก้ปัญหาพี่อิจฉาน้อง เทคนิคการเลี้ยงลูก 2 คนขึ้นไป วิธีทำให้พี่น้องรักกัน การป้องกันพี่อิจฉาน้อง ทำได้อย่างไร

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ป้องกันไม่ให้ พี่อิจฉาน้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้อง

    ป้องกันไม่ให้ พี่อิจฉาน้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้อง

  • วิธีแก้ปัญหาพี่อิจฉาน้อง เทคนิคการเลี้ยงลูก 2 คนขึ้นไป วิธีทำให้พี่น้องรักกัน การป้องกันพี่อิจฉาน้อง ทำได้อย่างไร

    วิธีแก้ปัญหาพี่อิจฉาน้อง เทคนิคการเลี้ยงลูก 2 คนขึ้นไป วิธีทำให้พี่น้องรักกัน การป้องกันพี่อิจฉาน้อง ทำได้อย่างไร

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว