มีคุณแม่ท่านไหนอาศัยอยู่กับครอบครัวของสามีในลักษณะของครอบครัวใหญ่บ้างคะ ถ้าใช่ นอกจากปัญหาคุณแม่สามีที่ต้องเผชิญแล้ว ยังเคยเจอปัญหาของพี่สะใภ้หรือน้องสะใภ้กันบ้างไหมคะ ยกตัวอย่างเช่น การชอบเอาลูกเขามาเปรียบเทียบกันกับลูกเรา เป็นต้น
คุณแม่ทั้งหลายคะ เหนื่อยไหมคะที่ต้องเจอปัญหาการสู้รบปรบมือกับคนในครอบครัวแบบไม่จบไม่สิ้น ไม่ชอบขี้หน้าเรา ๆ ยังพอทนไหว แต่มาว่าลูกเรานี่สิ ใครละจะไปทนได้
ถ้าผลสอบออก คะแนนลูกเราดีกว่าก็ว่าเหน็บแนม หาว่าลอกข้อสอบบ้างละ ติดสินบนครูบ้างละ แต่ถ้าได้คะแนนน้อยกว่าลูกเขา ๆ ก็จะมาสมน้ำหน้าว่าลูกเขาฉลาดกว่า เรียนดีกว่า เรียนเก่งกว่า หรือลูกเธอสู้ลูกฉันไม่ได้ ลูกฉันดีอย่างนู้นดีอย่างนี้ เป็นต้น ไม่เข้าใจเลยว่าทำไมถึงต้องเป็นแบบนี้ มันช่างเป็นอะไรที่บั่นทอนความรู้สึกเสียจริง ๆ
ก่อนอื่น คุณแม่ต้องถามใจตัวเองก่อนว่า เราเคยเอาลูกของเราไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นหรือไม่ การเปรียบเทียบนี้รวมถึงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยนะคะ ถ้าใช่ ก็คงไม่แปลกที่เราจะไปห้ามไม่ให้พี่สะใภ้หรือน้องสะใภ้คิดแบบนี้กับลูกของเราได้ เพียงแต่เขาอาจจะเป็นมากกว่าเราหน่อยนึง
คุณแม่ทราบไหมคะว่า สาเหตุที่พี่สะใภ้หรือน้องสะใภ้ของเรานั้น ชอบเอาลูกของเราไปเปรียบเทียบกับลูกของเขาคืออะไร ยกตัวอย่างเช่น
“ความอิจฉา” พี่สะใภ้หรือน้องสะใภ้อาจจะมีความรู้สึกไม่ชอบเราเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ที่เราไปแย่งความรักของเขามาจากน้องหรือพี่ชายสุดเลิฟ และทุกคนในครอบครัวเขาต่างก็รักและเอ็นดูเรามาก ๆ ดังนั้นเมื่อต่างฝ่ายต่างมีลูก การคิดแก่งแย่งชิงดีกันจึงเกิดขึ้น อาจจะแย่มากหน่อยหากลูกของเราอายุไล่เลี่ยหรือเรียนที่เดียวกันกับลูกของเขา
“ประสบการณ์อันเลวร้ายในวัยเด็ก” พี่สะใภ้หรือน้องสะใภ้ของเราอาจจะมีปมหรือประสบการณ์ที่ไม่ดีในวัยเด็กก็เป็นได้ เขาถึงต้องการให้ลูกของเขานั้นดีกว่าทุก ๆ คน และคนที่เขาคิดจะแข่งและทำให้ดีกว่าที่สุดก็คือลูกของเรานั่นเอง
“เหตุผลอื่น ๆ” พี่สะใภ้หรือน้องสะใภ้ของเราอาจจะเห็นแล้วว่า ไม่ว่าจะอะไร คุณก็เหนือกว่าเขาไปเสียหมด ทุกคนรักและเอ็นดูคุณ ดังนั้นการเอาชนะคุณคงเป็นไปได้ยาก เขาจึงคิดว่า ฉันไม่ชนะไม่เป็นไร แต่ลูกฉันต้องเป็นผู้ชนะเท่านั้น
คลิกเพื่ออ่านวิธีการรับมือ ได้ที่หน้าถัดไปค่ะ
การทะเลาะกับคนในครอบครัวสามี โดยเฉพาะพี่สะใภ้หรือน้องสะใภ้เนี่ย ถือเป็นเรื่องที่หงุดหงิดใจที่สุดเลยจริงไหมคะ การพูดจากระแทกแดกดัน เป็นอะไรที่พวกเขาสามารถทำได้ดีเป็นที่หนึ่งเลย ไม่รู้ทำไปทำไม ซ้ำร้ายไปอีก ดันไปปลูกฝังลูกของตัวเองให้คิดแบบเดียวกันนี่สิ หากเด็กคิดได้เองก็โชคดีไป แต่ถ้าเด็กรู้เท่าทันไม่ถึงการณ์และทำตามไปด้วย ก็อาจจะแย่หน่อย
แล้วเราจะมีวิธีการรับมืออย่างไรกับเหตุกาณ์นี้ดี
1. หลีกเลี่ยง คือวิธีการที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งขึ้น เราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงตัวเราเองไม่ให้เจอกับเขาได้ ยกตัวอย่างเช่น อย่าพยายามที่จะอยู่ในห้องหรือสถานที่เดียวกัน เป็นต้น
2. อดทน ใช่ค่ะ … คุณอ่านไม่ผิด อดทนเท่านั้น เพื่อสามีและเพื่อลูก ถ้าหากพี่สะใภ้หรือน้องสะใภ้พูดจาอะไรไม่ดีเข้าหู ก็ทำเป็นไม่ได้ยินไปเลยก็ได้ค่ะ แล้วก็บ่ายเบี่ยงบทสนทนาเป็นอย่างอื่นแทน ทำเหมือนเขาไม่มีตัวตนตรงนั้น แล้วพาลูกของเราออกไป
3. บอกคนใกล้ตัวให้รับรู้ คนใกล้ตัวที่ว่านี้ก็เป็นสามีของเรานี่แหละค่ะ บอกไปเลยว่าเกิดอะไรขึ้น และมันกระทบกับความรู้สึกของคุณและลูกอย่างไร เขาจะได้ไปช่วยเคลียร์ปัญหากับคนในครอบครัวเขาเองก่อน หรือถ้าหากคุณสนิทกับแม่สามี และแม่สามีก็ดีและเข้าใจมาก ๆ ก็ลองถามหรือพูดคุยทางอ้อมไปดูบ้างก็ได้ค่ะ เผื่อจะได้รู้ถึงสาเหตุว่าทำไมพี่สะใภ้หรือน้องสะใภ้ของเราถึงชอบมีพฤติกรรมเช่นนี้
4. พูดคุย ถ้าทำทั้งสี่อย่างแล้ว ๆ มันไม่ได้ผล คุณแม่ก็ถามไปเลยก็ได้ค่ะ ว่าทำไมถึงชอบเปรียบเทียบลูกเรากับลูกเขานัก แต่ต้องพูดคุยกันดี ๆ บอกไปเลยว่าเราแค่อยากรู้เหตุผล ไม่ได้จะไปชวนทะเลาะ และเราก็ไม่เคยเอาลูกของเราไปเปรียบเทียบกับลูกของเขาเลย
คุณแม่บางท่านอาจจะโชคดีที่ไม่ต้องเจอปัญหานี้ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับพี่สะใภ้หรือน้องสะใภ้นั้นดีมาก ๆ ต้องขอปรบมือให้ดัง ๆ เลยค่ะ คุณคือคนที่โชคดีคนหนึ่งเลยก็ว่าได้ แต่ถ้าหากคุณแม่ท่านไหนกำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่ คุณแม่มีวิธีรับมืออย่างไรกันบ้างคะ
ที่มา: https://sg.theasianparent.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
5 แบบอย่างของแม่สามีในฝีน นี่สิใช่เลย!
ไม่ชอบแม่สามีทำไงดี? จะอยู่กับแม่สามียังไงให้มีความสุข?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!