ชวนลูก ทำอาหาร ได้อะไรมากกว่าที่คิด มีวิธีชวนอย่างไร?

เด็ก ๆ อาจชอบมาป้วนเปี้ยนเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ทำอาหารอยู่ในครัว ดังนั้น อย่าปล่อยโอกาสนั้นให้เสียไป ลองชวนลูกมาทำอาหารด้วยกันดีกว่าค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บ้านไหนที่ลูก ๆ เข้าวัยอยากรู้อยากเห็น ในช่วง 3 – 4 ขวบ เด็ก ๆ ก็อาจจะมาป้วนเปี้ยนเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ ทำอาหาร อยู่ในครัว ดังนั้น อย่าปล่อยโอกาสนั้นให้เสียไป ลองชวนลูก ทำอาหาร ด้วยกัน เพราะนอกจากลูกจะได้เรียนรู้การทำอาหารง่าย ๆ แล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกอีกด้วย โดยคุณพ่อคุณแม่เพียงหาไอเดียเพิ่มความสนุกสนานให้กับกิจกรรมทำอาหารธรรมดา ๆ ให้น่าสนใจขึ้น รับรองว่าลูกน้อยของคุณจะอยากมีส่วนร่วมช่วยอยู่ในครัวทุก ๆ ครั้งไป

 

ทำอาหารกับลูกน้อยวัยกระเตาะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ? 

  • เตรียมเมนูที่ไม่ใช้ความร้อน

หากมีการปรุงที่ต้องใช้การทอด ผัด อบ แล้วต้องใช้ความร้อนไม่ว่าจะเป็นเตาแก๊ส เตาอบ หรือแม้แต่เตาไมโครเวฟ คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

  • ต้องระวังของมีคม

หากเมนูนั้นต้องมีการหัน สับ ซอย ให้ระวังการใช้มีดของลูกด้วย อาจจะให้ลูกเปลี่ยนเป็นการฉีก บิด หรือถ้าต้องใช้มีดเพื่อหั่นจริง ๆ ควรใช้มีดสำหรับเด็กที่มีความคมน้อย หรือใช้กรรไกรในการตัดเลยจะดีกว่า

  • เมนูต้องไม่ยุ่งยาก

เด็ก ๆ อยากรู้อยากเห็นก็จริง แต่ก็ยังไม่สามารถตั้งสมาธิกับขั้นตอนที่มากมายได้ เมนูแรก ๆ ของลูก จึงควรไม่ซับซ้อนมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง : แจกสูตรฟรี! ไข่ตุ๋นคุณหนู ไข่ตุ๋นเนื้อนุ่ม น่าทาน สำหรับเหล่าคุณหนูช่วงปิดเทอม

 

 

ชวนลูกทำอาหาร ลูกช่วยในครัวอย่างไรได้บ้าง?

วิธีในการชวนลูกช่วยในครัว ควรเพิ่มความสนุกสนานให้การเข้าครัวของเจ้าตัวน้อยน่าสนใจ และได้ฝึกทักษะด้านต่าง ๆ ไปพร้อมกันชวนให้เด็กมีส่วนร่วมเป็นผู้ช่วยตัวน้อยในครัว เป็นการสร้างบรรยากาศห้องครัวสุขสันต์ ช่วยดึงดูดความสนใจให้เด็กรู้สึกสนุกสนานในการเรียนรู้สิ่งใหม่ สามารถรวบรวมเป็นไอเดียได้ดังนี้

  • แนะนำอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องครัว

แนะนำอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องครัว ว่ามีอะไร ใช้ทำอะไร ให้ลูกได้ลองสัมผัส ได้ลองใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น หม้อ กระทะ มีด เขียง และยังช่วยให้ลูกนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในบทเรียนมาถามตอบกับคุณพ่อคุณแม่ ด้วยการเล่นคำศัพท์ภาษาอังกฤษกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องครัวได้อีกด้วย หรือคุณพ่อคุณแม่อาจเตรียมอุปกรณ์สำหรับเด็กเอาไว้ เพื่อให้ลูกจับถนัดมือ เป็นการฝึกกล้ามเนื้อต่าง ๆ ให้ลูกได้ออกกำลัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • วางแผนเมนูอาหารร่วมกัน

ลองให้เด็ก ๆ มาช่วยกันวางแผนมื้ออาหารประจำสัปดาห์ สำหรับทุกคนในครอบครัว ให้พวกเขาเสนอเมนูต่าง ๆ มา แล้วคอยให้คำแนะนำเรื่องการคัดสรรวัตถุดิบอย่างใส่ใจ เพื่อสร้างสรรค์อาหารที่อุดมคุณประโยชน์ และเหมาะสมกับการเจริญเติบโต โดยมื้ออาหารควรประกอบไปด้วยผักผลไม้ในสัดส่วนมากที่สุด รองลงมาคือโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ปลา ถั่วต่าง ๆ เป็นต้น และแป้ง เช่น เส้นพาสตาแบบโฮลวีต ข้าวกล้อง หรือมันฝรั่ง เป็นต้น 

  • เตรียมรายการสินค้าที่ต้องซื้อ

ลองแนะนำเมนูที่จะทำในมื้อนั้น ๆ ว่าใช้วัตถุดิบต่าง ๆ อะไรบ้าง ขั้นตอนนี้สามารถให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วมช่วยคิดว่าต้องซื้ออะไรบ้าง? และยังเป็นโอกาสที่ดีในการบอก และอธิบายแหล่งที่มา และคุณประโยชน์ของอาหารเหล่านั้น คุณพ่อคุณแม่อาจหาเกมสนุก ๆ ให้กิจกรรมนี้ไม่น่าเบื่อ เช่น การวาดภาพสินค้าที่คุณต้องจะซื้อ แล้วให้เขาลองเดาดูว่ามันคืออะไร? หรืออาจจะหากิจกรรมสนุก ๆ ก่อนเริ่มลงมือทำอาหาร เช่นการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ จากวัตถุดิบต่าง ๆ หรือจากสีสัน เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ช่วยกันเก็บวัตถุดิบที่ซื้อมาให้ถูกที่ถูกทาง

หลังจากกลับมาจากซื้อของแล้ว ให้เด็ก ๆ ช่วยเก็บวัตถุดิบและอุปกรณ์ให้เข้าที่ทางอย่างเหมาะสม อาจเล่นเกมกับพวกเขาโดยการให้เขาเดาว่าวัตถุดิบชนิดต่าง ๆ ต้องเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา ตู้เย็นช่องแช่แข็ง หรือตู้กับข้าว เป็นต้น

  • ให้ลูกน้อยมีส่วนร่วมในการเตรียมอาหาร

งานวิจัยรายงานว่าเด็ก ๆ ที่มีส่วนร่วมในการเตรียมอาหารในครัวมีแนวโน้มที่จะลองทานอาหารใหม่ ๆ ที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มจากการสอนพวกเขาให้รู้จักวิธีการทำความสะอาดผลไม้ การละลายน้ำแข็งสำหรับเนื้อสัตว์ หรือการทำความสะอาดปลา และนี่ยังเป็นโอกาสดีพวกเขาจะได้เริ่มพัฒนาพฤติกรรมที่ส่งเสริมสุขนิสัย เช่น การเก็บครัวให้สะอาด การล้างมือทั้งก่อนและหลังการทำอาหาร รวมไปถึงการจัดการขยะอาหาร เช่น การรีไซเคิล และการนำขยะมาทำเป็นปุ๋ยหมัก เป็นต้น

  • เปิดโลกลูกน้อยให้รู้จักกับอาหารของชาติต่าง ๆ

การที่คุณพ่อคุณแม่ชวนเด็กทำอาหารนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นจากตำราอาหาร หรือสูตรอาหารออนไลน์ต่าง ๆ นอกจากจะช่วยให้เข้าใจกับวัฒนธรรมการกินที่หลากหลาย แตกต่างจากที่คุ้นเคย พวกเขายังได้เปิดประสบการณ์ในการได้ดม สัมผัส และชิมวัตถุดิบแปลกใหม่อย่างเพลิดเพลิน เป็นประตูไปสู่การรู้จักอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพดีในรูปแบบแปลกใหม่ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ปลุกจินตนาการของเด็กๆ ด้วยเมนูสร้างสรรค์

ลองส่งเสริมจินตนาการด้านศิลปะที่แสนสร้างสรรค์ เช่น ลองให้ตกแต่งจานอาหารเป็นลวดลายต่าง ๆ ทำอาหารเป็นรูปทรงสัตว์ต่าง ๆ ดัดแปลงบล็อคโคลี และกะหล่ำมาทำเป็นรูปต้นไม้ หรืออาจจะให้เด็ก ๆ ใช้พิมพ์ตัดคุกกี้ มาตัดพริกหยวกกับแตงกวาเป็นรูปทรง หัวใจ ดาว และเพชร ประดิษฐ์สายรุ้งจากสลัดผลไม้ หรือสร้างสรรค์สัตว์ต่าง ๆ จากพืชผัก แล้วเพิ่มความท้าทายโดยนำผลงานมาแข่งขันกับเพื่อน ๆ ช่วยกันโหวตว่าผลงานของใครออกมาดีที่สุด แต่สิ่งสำคัญก็คือทุกคนเป็นผู้ชนะ และรางวัลก็คืออาหารแสนอร่อยที่ร่วมกันทำนั่นเอง

  • บริกรตัวน้อย

การมอบหมายให้เด็ก ๆ ได้เป็นบริกรตัวน้อยจะทำให้พวกเขาได้สนุกกับการได้เรียนรู้ศิลปะของการนำเสนออาหาร ไม่ว่าจะเป็นการจัดจาน หรือการจัดโต๊ะอาหาร การบอกเล่าเรื่องราวเมนูอาหาร หรือการอธิบายส่วนประกอบในจานอาหารนั้น ซึ่งเด็ก ๆ จะได้สนุกไปกับการเลียนแบบบริกร และถือเป็นความท้าทายสำหรับพวกเขาเลยทีเดียว เพราะว่าการเสิร์ฟอาหาร หรือเก็บจานโดยที่ไม่ทำอาหารหก หรือจานตกหล่นนั้นไม่ง่ายเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : แจกสูตร!! ข้าวผัดกระเทียม เด็กกินได้ ผู้ใหญ่กินดี ทำง่าย ๆ ที่บ้าน

 

 

สอนให้ลูกน้อยช่วยในครัว ช่วยเริ่มต้นสร้างทักษะชีวิต

การทำสอนลูกทำอาหาร ช่วยคุณพ่อคุณแม่ในครัวเป็นโอกาสที่ดีในการสอนทักษะชีวิตหลายด้านที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น

  • การให้ลูกเตรียมวัตถุดิบง่าย ๆ เช่น การล้างผัก ล้างวัตถุดิบต่าง ๆ ให้สะอาด การหั่นผักเป็นชิ้น ๆ หรือการปอกเปลือก ต้องมีสมาธิ และให้ลูกเรียนรู้ความผิดพลาดจากการหยิบจับสิ่งต่าง ๆ และช่วยชี้แจงให้ลูกแก้ไข ก็จะเป็นการสอนลูกในเรื่องของการแก้ไข อดทน และพยายาม เพื่อให้อาหารจานนั้นออกมาน่ารับประทานที่สุด
  • สอนเกี่ยวกับเรื่องสุขลักษณะที่ดี และความปลอดภัยด้านอาหาร เช่น การล้างมือ และเตรียมพื้นที่สะอาดสำหรับทำอาหาร 
  • สอดแทรกการสอนเรื่องตัวเลขหรือเศษส่วน ระหว่างการ ชั่ง ตวง วัด ส่วนผสมต่าง ๆ หรือการตัดแบ่งพิซซ่าออกเป็นชิ้น ๆ หรือแบ่งสัดส่วนอาหารอื่น ๆ 
  • คุณพ่อคุณแม่สามารถบอกเล่าเรื่องการกินอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงระหว่างการจัดเตรียมอาหารให้เด็ก ๆ ได้ฟัง 

ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มด้วยบทสนทนาที่น่าสนใจ และช่วยสร้างทักษะกระบวนการคิดให้เป็นประโยชน์กับลูกเพื่อการกระตุ้นการเรียนรู้ของลูก เช่น รู้มั้ยทำไมคนเราต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ ทำไมอาหารถึงจำเป็นต่อร่างกาย หรือหยิบจับวัตถุดิบต่าง ๆ มาถามลูกเกี่ยวกับสารอาหารในอาหาร 5 หมู่ เป็นต้น

 

ที่มา healthylittlefoodies

 

บทความที่คุณอาจจะสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ชวนลูกเข้าครัว ฝึกทักษะ ทำกับข้าว ช่วยให้ลูกของคุณฉลาดขึ้นได้!

รวมสูตรเมนูอาหารเช้าจากข้าวโอ๊ต 7 สูตรข้าวโอ๊ตข้ามคืนที่อร่อยและดีต่อสุขภาพ 

9 สูตรขนมหวานน้อย อร่อยถูกปาก เด็ก ๆ ได้ชิมจะต้องชอบ

บทความโดย

Narinrada Akrapram