ยาคุมที่กินแล้วอ้วน บวมยาคุม เลือกแบบไหนให้หายห่วงเรื่องน้ำหนัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ยาคุมที่กินแล้วอ้วน เป็นยาคุมที่มีปริมาณฮอร์โมนมาก ส่งผลให้เกิดอาการ “บวมยาคุม” ทำให้มีความอยากอาหารตามมา เป็นภาวะชั่วคราว แต่อาจส่งผลต่อพฤติกรรมการทานอาหารในระยะยาว สาเหตุที่แท้จริงจึงมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้ตัว แต่สำหรับผู้ที่ต้องการเลี่ยงอาการบวมยาคุม ก็สามารถเลือกยาคุมที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือยาคุมที่มีฮอร์โมนน้อยได้เช่นกัน

 

ยาคุมกินแล้วมีส่วนทำให้อ้วนจริง

เนื่องจากในยาคุมมี “ฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestins)” และ “ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)” ฮอร์โมนเหล่านี้มีส่วนทำให้ร่างกายกักเก็บเกลือแร่, น้ำ และของเหลวต่าง ๆ ในร่างกายมากขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้ร่างกายมีอาการที่เราเข้าใจว่า “บวมน้ำ” หรือ “บวมยาคุม” และยังทำให้มีความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย แต่จากผลการวิจัยจาก American Journal of Obstetrics and Gynecology โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ฉีดยาคุม มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ โดยอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ร่วมด้วย ดังนี้

 

  • ทานยาคุมช่วงวัยรุ่น : ปกติแล้วยาคุมเป็นหนึ่งในช่องทางหนึ่งที่วัยรุ่นมักใช้กัน ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเติบโตไปตามช่วงอายุ อาจทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่ผลจากยาคุมแต่อย่างใด
  • ผู้ที่ใช้ยาคุมหลังจากแต่งงาน : คุณผู้หญิงหลายคนอาจมีวิธีดูแลรูปร่างในช่วงก่อนแต่งงาน มากกว่าหลังแต่งงาน และมีการใช้ยาคุมต่อเนื่อง จนอาจคิดไปเองว่า รูปร่างที่เปลี่ยนไปมาจากการใช้ยาคุมได้
  • ทานยาคุมหลังจากคลอดลูกแล้ว : ช่วงระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีการทานอาหารมากขึ้น เพื่อให้ได้สารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และลูกน้อย ซึ่งสามารถส่งผลต่อน้ำหนัก มาจนถึงช่วงหลังคลอดได้เช่นกัน

 

แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้ เกิดจากสูตรของยาคุมที่แตกต่างกัน นั่นหมายความว่ามีทั้งสูตรที่มีส่วนทำให้ดูอ้วนขึ้น และยาคุมที่ทานแล้วไม่ได้ส่งผลต่อน้ำหนัก ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ยาคุมของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามการที่น้ำหนักขึ้นอาจมีเหตุผลหลักมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่งผลให้เห็นชัดมากกว่า จึงต้องคอยสังเกตในเรื่องนี้ประกอบด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิดีโอจาก : Nurse Kids

 

ยาคุมกินแล้วอ้วน ควรเลือกอย่างไร ?

ยาคุมที่กินแล้วอ้วน ประกอบไปด้วยฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestins) และฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ตามที่กล่าวไป ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อยาคุม อาจต้องมีหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากการบวมยาคุม ซึ่งมีหลักการเลือก ดังนี้

 

  • เลือกยาคุมที่มีฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestins) และฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในปริมาณที่น้อย หรือยาคุมที่มีปริมาณฮอร์โมนต่ำ
  • เลือกยาคุมที่มีส่วนผสมของ “ดรอสไพรีโนน (Drospirenone)” ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านอาการบวมยาคุม ทำให้ลดความเสี่ยงลงได้
  • เลือกยาคุมที่ใช้ส่วนผสม “ไซโปรเตอโรน อะซิเตท (Cyproterone acetate)” ซึ่งช่วยลดอาการข้างเคียงในเรื่องอื่น ๆ ด้วย เช่น สิวขึ้น หรือหน้ามัน เป็นต้น
  • หากไม่มั่นใจ หรือต้องการตัวเลือกเพิ่มเติม สามารถสอบถามแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเพิ่มได้ เพื่อให้ทราบไปถึงวิธีการทาน หรือข้อจำกัดอื่น ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากการเลือกยาคุมที่ช่วยลดความเสี่ยงอาการบวมยาคุมแล้ว ปัจจัยอื่น ๆ ก็ยังคงอยู่ นั่นคือการใช้ชีวิตประจำวันที่ขาดการออกกำลังกาย หรือการทานอาหารที่เยอะเกินไป จึงต้องปรับพฤติกรรมเหล่านี้ เพื่อให้ได้ผลที่ชัดเจนมากขึ้น และเป็นการลดปัจจัยหลักที่ทำให้น้ำหนักขึ้นด้วย

 

การคุมกำเนิดมีหลายวิธี

การเลี่ยงจากผลข้างเคียงจากการทานยาคุม หรือฉีดยาคุม หรือวิธีใด ๆ ก็ตามที่ทำให้ร่างกายรับยาคุม จนมีความเสี่ยง อาจหันไปใช้วิธีอื่น ๆ ที่สามารถคุมกำเนิดได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การใช้ถุงยางอนามัยในผู้ชาย หรือผู้หญิง และห่วงอนามัยคุมกำเนิด เป็นต้น ซึ่งวิธีเหล่านี้มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันมากนัก ถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 วิธี การคุมกำเนิด แบบชั่วคราว แบบถาวร แบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

มีอาการบวมยาคุม น้ำหนักขึ้น ควรทำอย่างไร

หากเกิดอาการบวมยาคุมขึ้น จะเกิดเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น อาการจะหายไปได้เอง แต่ด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจส่งผลต่อพฤติกรรมของคุณผู้หญิงในระยะยาวได้ เช่น อาการอยากอาหาร ซึ่งทำให้มีพฤติกรรมการทานอาหารที่เปลี่ยนไป ถึงแม้อาการอยากอาหารจะหมดลงไปแล้ว แต่การทานอาหารในปริมาณมาก อาจติดจนเป็นความเคยชินที่แก้ได้ยาก ดังนั้นหากพบว่าตนเองมีน้ำหนักขึ้นระหว่างทานยาคุม ให้ปฏิบัติตัว ดังนี้

 

  • เปลี่ยนยี่ห้อยาคุมโดยเลี่ยงฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเสี่ยงอาการบวมยาคุม
  • คำนวณการทานอาหารในระหว่างวันให้มีความเหมาะสม ต่อช่วงอายุของตนเอง ไม่เกิน 2,000 กิโลแคลอรี่ / วัน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างต่ำ 30 นาที / ครั้ง ให้ได้อย่างน้อย 3 ครั้ง / สัปดาห์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • เคี้ยวอาหารให้ละเอียดมากขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำง่ายได้อย่างสะดวก 7 – 8 ชั่วโมง

 

ร่างกายที่มีน้ำหนักมากขึ้น มีด้วยกันหลายปัจจัย การทานยาคุมที่มีฮอร์โมนเยอะเกินไป เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น หากสำรวจตนเองแล้วว่าเกิดจากสาเหตุใด ให้แก้ไขสาเหตุนั้น ประกอบกับดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

ห่วงอนามัย คุมกำเนิด อีกหนึ่งทางเลือก ของคนไม่ชอบกินยา

ฉีดยาคุมกำเนิด ฉีดยาคุมตอนไหน ราคาเท่าไหร่ ดีหรือไม่ เรามีคำตอบ

ที่มาข้อมูล : 1 2 3

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Sutthilak Keawon