โรคขี้เต็มท้อง ภัยร้ายใกล้ตัว อันตรายของคนชอบอั้น

เตือนภัย!!! สำหรับคนชอบอั้น โอกาสสูงที่จะเป็น โรคขี้เต็มท้อง จนส่งผลเสียให้กับสุขภาพในระยะยาว ภัยร้ายใกล้ตัวที่คุณไม่ควรประมาท

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากเรื่องราวร้อนแรงในโซเชียล ที่นักร้องสาว ตุ๊กตา-จมาพร แสงทอง วัย 34 ปี จากเวทีประกวด The Voice ได้ออกมาโพสลงสื่อโซเชียลทั้งเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม เพื่อเตือนภัย ถึงโรคที่คุณหมอให้ชื่อว่า ” โรคขี้เต็มท้อง ”

โรคขี้เต็มท้อง มีอาการอย่างไร?

ซึ่งนักร้องสาว ตุ๊กตา-จมาพร มีการโพสต์ภาพของฟิล์มเอกซเรย์ของเธอ ผ่านทางเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรมส่วนตัว เพื่อเป็นการเตือนภัย คนที่มีพฤติกรรมใกล้เคียงกับเธอ จนทำให้เกิดโรคที่คุณหมอให้ชื่อว่า “ขี้เต็มท้อง” โดยอาการโดยรวมมีดังต่อไปนี้

  • มีอาการท้องผูก
  • เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • หายใจติดขัด แน่นท้อง
  • ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
  • ช่องท้องมีเสียงดังผิดปกติ
  • ปวดท้องบริเวณใต้ซี่โครงหรือสะดือ คล้ายอาการของโรคกระเพาะ
  • ปวดเมื่อยร่างกาย และอ่อนเพลีย
  • มีลม มีแก๊สในท้องเยอะผิดปกติ หรือกดบริเวณท้องแล้วรู้สึกเจ็บ
  • ตดเปรี้ยว เรอเปรี้ยว
  • อุจจาระก้อนเล็ก แข็ง บางครั้งอาจจะมีมูกเลือดปะปนออกมาด้วย
  • เมื่อขับถ่ายแล้ว ยังรู้สึกว่ายังมีอุจจาระคั่งค้างอยู่

 

พฤติกรรมที่เสี่ยงเป็นโรคขี้เต็มท้อง

  • ขับถ่ายไม่เป็นเวลา มักจะอั้นอุจจาระบ่อยครั้ง
  • ดื่มน้ำน้อย
  • ทานอาหารที่มีกากใยน้อย
  • ทานอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกิน
  • มีการออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายน้อย
  • มีโรคประจำตัว ทำให้ขาดการดูแลเรื่องของโภชนาการ
  • ผลข้างเคียงจากการทานยาบางชนิด

 

วิธีการรักษา โรคขี้เต็มท้อง

หากมีการวินิจฉัยจากแพทย์ที่ทำการรักษาพบแล้วว่า คุณมีอาการของโรคขี้เต็มท้อง ตามแบบฉบับของ สาวตุ๊กตา จมาพร สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือ การนำเอาของเสีย หรือเจ้าอุจจาระ ที่เป็นสาเหตุของอาการต่าง ๆ นี้ ออกให้ได้มากที่สุด โดยที่ไม่ให้มีผลกระทบต่อร่างกาย โดยแพทย์จะจ่ายยาระบาย ซึ่งจะเป็นยาระบายที่ไม่ส่งผลอันตรายต่อธรรมชาติของลำไส้ หลังจากนั้นจึงค่อยปรับระบบเผาผลาญให้กลับมาเป็นปกติดังเดิม

ไม่แนะนำให้ซื้อหายาถ่ายมาทานเองเด็ดขาดค่ะ เพราะตัวยาที่คุณหามา อาจจะส่งผลเสียให้กับสุขภาพของลำไส้ของคุณเองในระยะยาว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การแก้ไขระยะยาว เพื่อไม่ให้เป็นโรคขี้เต็มท้อง

  1. ฝึกถ่ายอุจจาระให้สม่ำเสมอ และเป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายเกิดความชินกับการขับถ่าย โดยเชื่อว่าเวลาที่ดีที่สุดคือช่วงเช้า ระหว่าง 05:00 – 07:00 น.
  2. พยายามดื่มน้ำสะอาด อาจจะเป็นน้ำอุ่น หรือน้ำอุณหภูมิห้องในช่วงเช้า หลังตื่นนอน
  3. อย่ากลั้นอุจจาระ เมื่อรู้สึกปวดให้เข้าห้องน้ำขับถ่ายโดยทันที
  4. หมั่นออกกำลังกาย ให้เกิดความเคลื่อนไหว

 

เกร็ดความรู้ โรคขี้เต็มท้อง

ทางเพจ เฟซบุ๊ก หมอเวร ได้กล่าวถึงไวรัลดัง เกี่ยวกับเรื่องโรคขี้เต็มท้องว่า แม้ชื่อโรคจะดูน่าตลก แต่คนที่เป็นจริง ๆ จะมีอาการที่ทรมานมาก โดยโรคนี้ถ้าจะให้เข้าใจง่าย ๆ มันก็คือโรคท้องผูกประเภทหนึ่งนั่นเอง

ปกติแล้วในลำไส้ใหญ่เราเนี่ยมันจะมีหน้าที่ดูดซึมน้ำออกไปด้วย คนไหนที่ท้องผูกบ่อย หรืออั้นขี้ไว้นานๆ 3-4 วันถ่ายรอบนึง ก็ทำให้อุจจาระไปติดค้างอยู่ตามผนังลำไส้ มันถูกดูดน้ำออกไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดจากของเหลวก็กลายเป็นของแข็งแทนได้ พอแข็งมาก ๆ ก็ทำให้เราถ่ายลำบากเป็นคอมโบ้ต่อเนื่องของอาการนี้นั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แน่นอนว่าถึงแม้จะกินข้าวเข้าไปเพิ่ม มีของล็อตใหม่เข้ามาเติม แต่ตรงปลายลำไส้ที่มันแข็งแล้ว และไม่ยอมตุ่ยออก ของใหม่ก็จะไปกองอยู่บนๆ และสะสมกองต่อไปเรื่อยๆ (ยกเว้นกรณีของใหม่ที่มันเป็นของเหลวก็อาจแทรกตัวออกไปลงโถได้ก่อน) ยิ่งปล่อยไว้นานข้างล่างก็จะยิ่งแข็ง แล้วก็จะยิ่งถ่ายยากขึ้นเป็นเงาตามตัว

“ที่สำคัญ อันนี้ขอขีดเส้นใต้เลย หากปล่อยให้มันตกค้างนานๆ ลำไส้ใหญ่ที่นอกจากดูดซึมน้ำแล้ว ก็อาจดูดซึมของเสียของสารพิษที่ตกค้างในอุจจาระกลับเข้าสู่ร่างกายได้ด้วย”

กรณีเบาๆ หน่อยก็อาจแค่รู้สึกไม่สดชื่น ปวดหัว คลื่นไส้ ไม่สบายเนื้อตัว แต่หนักๆหน่อยบางทีไอ้ที่เราอั้นไว้ ก็อาจทำให้ไปกดทับเส้นเลือดต่างๆ ในกระเพาะ รวมถึงกดทับกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดความผิดปกติอื่นๆ กับร่างกายตามมาได้ด้วย เรียกว่าอั้นขี้ทีเดียวสะเทือนถึงดวงดาวก็ว่าได้
ส่วนสาเหตุการเกิดอาการแบบนี้ก็เหมือนที่บอกไปในช่วงแรก ไล่ตั้งแต่การอั้นอุจจาระบ่อยอย่างที่คุณตุ๊กตาเล่า การกินอาหารที่มีกากใยน้อย การดื่มน้ำน้อย เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด หรือกระทั่งคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย กินเสร็จแล้วก็นอน ไม่ค่อยขยับตัวให้ลำไส้ช่วยบีบตัว หรือการกินยาบางชนิดก็อาจส่งผลให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง ซึ่งกลุ่มนี้ก็ถือว่ามีความเสี่ยงให้เกิดอาการแบบนี้ได้ทั้งนั้น
ส่วนวิธีรักษา อันนี้ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน และขึ้นอยู่กับการประเมินของคุณหมอ บางคนก็อาจใช้แค่ยาเหน็บส่วนปลาย บางคนแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือบางคนอาจต้องใช้ยาถ่ายช่วยด้วย ซึ่งแน่นอนว่าแค่หมวดยาถ่ายก็มีมากมายหลายชนิดแล้ว ดังนั้นถ้าเริ่มมีอาการใกล้เคียงที่เล่ามา ก็ไม่แนะนำให้ซื้อยามารักษาเองนะ เพราะบางครั้งนอกจากจะไม่หายแล้ว ยังอาจทำให้อาการหนักขึ้นกว่าเดิมได้ด้วยเด้อ ไปหาหมอเถอะตรงประเด็นแน่นอน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อยากรู้มั้ย? ทำอย่างไรให้จบปัญหาท้องผูก ในแบบแม่แฮปปี้ ลูกก็แฮปปี้

ท้องผูก ขับถ่ายยาก ปรับสุขภาพด้วย ซินไบโอติก

ลําไส้อุดตันในทารก อาการของลำไส้อุดตัน ลูกกินกล้วยแล้วไม่ถ่าย ป้อนกล้วยทารก มากไปไหม?

 

ที่มา : facebookjamapornsaengthong , tnnthailand , facebookMhorwen

บทความโดย

Arunsri Karnmana